“Snapchat” ภัยเงียบใหม่ ร้ายลึกกว่า Facebook

by ThaiQuote, 20 ตุลาคม 2560

แต่สิ่งหนึ่งของการเชื่อมต่อสื่อสารซึ่งรวดเร็วและไร้พรมแดน ที่เป็นข้อเสียคือ การไม่รู้เท่าทันภัยเงียบที่แฝงมาด้วย เช่นการหลอกลวง กลโกงต่าง ๆหรือแม้กระทั่งการโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท และไม่เหมาะสมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นเดียวกับการเป็นช่องทางเผยแพร่สิ่งลามกอนาจาร การกระทำผิดศีลธรรม การเล่นพนันต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นกับเยาวชนไทย ผ่านสื่อออนไลน์ยอดนิยมอย่าง  Fackbook และ Line แม้จะมีการกวดขันจับกุมหรือป้องกันอย่างไร จากผู้ดูแลโดยตรงอย่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็ยังคงพบว่าสิ่งที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้แพร่ระบาดและพบเห็นได้ง่ายอยู่เช่นเดิม ขณะเดียวกันในประเทศสหรัฐอเมริกา แอพพลิเคชั่นใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2554 และปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมฮอตฮิตในหมู่วัยรุ่นอเมริกัน แอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีชื่อว่า “Snapchat” จากรายงานการศึกษาชื่อว่า “Taking Stock with Teens” ระบุว่ากลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุเฉลี่ยประมาณ 16 ปี ใน 44 รัฐของสหรัฐฯ ระบุว่านิยมใช้ “Snapchat” มากที่สุดถึง47%  เพิ่มจากระดับ 24% ในการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว ส่วนFacebook กลับได้รับการหันหลังให้ โดยมีเพียง 9% ที่ยังใช้อยู่ ทั้งนี้จุดเด่นพิเศษของแอพฯดังกล่าว คือสามารถถ่ายรูป ส่งข้อความภาพ หรือคลิปวีดีโอ และกำหนดระยะเวลาให้โชว์รูปดังกล่าวได้ระหว่าง 1 ถึง 10 วินาที ก่อนที่รูปนั้นจะทำลายตัวเองไป ซึ่งวัยรุ่นอเมริกันมักจะโพสต์ภาพวาบหวิวของตนเองลงบน Snapchat เพื่อแลกเปลี่ยนกัน นี่คือสิ่งที่กำลังนิยมอยู่ในบ้านเมืองของเขา ผลที่ตามมาของการใช้ “Snapchat” คือการบัญญัติศัพท์ใหม่ในคำว่า “Sexting” หรือการส่งสื่อลามกผ่านทางข้อความ รูปถ่าย รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีครบอยู่ใน “Snapchat” ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นในบางคน“Sexting” จนกลายเป็นการเสพติดเซ็กซ์เลยทีเดียว ย้อนกลับมามองที่บ้านเมืองเรา ขณะนี้ “Snapchat” นิยมแพร่หลาย เพราะเรื่องของการใช้งานที่ยังอยู่ในวงจำกัด และไม่เป็นสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่เช่น Facebook แต่อีกไม่นานเมื่อกระแสความนิยมดังกล่าวถาโถมเข้าสู่สังคมออนไลน์ของวัยรุ่นเมืองไทย เชื่อแน่ว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสังคม ที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นต้องส่ายหน้า เพราะแค่สื่อโซเชียลออนไลน์ที่มีอยู่ขณะนี้ บางคนยังตามรับมือไม่ทันขณะที่หน่วยงานซึ่งต้องรับหน้าที่เป็นด่านหน้าป้องกันเฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหวคงหนีไม่พ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ควรจะต้องเตรียมการรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ  

Tag :