นักวิจัย มทร.ธัญบุรี ยกระดับผลิตภัณฑ์โอทอปภาคอีสาน

by ThaiQuote, 13 พฤศจิกายน 2560

น.ส.จีรวัฒน์ เหรียญอารีย์ คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่าทางสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความประสงค์ในการหาที่ปรึกษาและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายและของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึกด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มการผลิตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรีเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาชีพด้านคหกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์สร้างสรรค์ ประเภทของตกแต่ง และของที่ระลึก ดังนั้นทางคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี จึงได้รับเป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้มีศักยภาพทางตลาดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายตลอดจนของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี พ.ศ.2559 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น สร้างการแข่งขันที่ยั่งยืนและเป็นการผลักดันงานวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในกลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชน และสามารถเผยแพร่และขยายผล ไปสู่กลุ่มอื่นๆ อันจะนำไปสู้เชิงพาณิชย์ต่อไป ทางด้าน ผศ.ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ กล่าวว่า ในการคัดเลือกพิจารณาผลิตภัณฑ์ตามที่สป.วท.กำหนด โดยได้พิจารณาเข้าร่วม 14 กลุ่ม ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย อ.ชนบท จ.แขนแก่น , วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ,วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อม  อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมทอผ้าฝ้ายบ้านเหล่าใหญ่ อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ,วิสาหกิจชุมชนทอผ้าครองวิถี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร,  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีครามธรรมชาติ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ,วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ,วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชน หมู่ 13 อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี,   วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ากาบบัวคำขวาง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าปล้อง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และหมอนขิดบ้านด่านเหนือ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ,กลุ่มทอผ้าบ้านคำโพนทอง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้านโนนสามัคคี อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ กลุ่มสตรีบ้านแกใหญ่ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ทั้ง 14 กลุ่ม ได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางของการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด และสามารถดำเนินการได้จริงของแต่ละผลิตภัณฑ์ กำหนดแผนในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์โอทอป (Concept idea) เน้นการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งผลงานวิจัย ที่ดำเนินการโดยนักวิจัยของสาขาวิชาด้านคหกรรมศาสตร์ โดยรวมกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปสู่กระบวนการผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง จากนั้นจัดทำร่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่จะดำเนินการพัฒนาและยกระดับ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 ผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปถ่ายทอด ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการทำผลิตภัณฑ์ตามผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยให้คำปรึกษาเชิงลึก จัดกิจกรรมถอดบทเรียน ด้วยการติดตามผลเพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ตามต้นแบบ จากนั้นทำการทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มหมาย ณ ตลาดในประเทศหรือต่างประเทศ อย่างน้อย 1 ครั้ง ยกระดับผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายทั้งหมด ออกแบบเป็นชุด Dress สุภาพสตรี เสื้อกางเกงและกระโปรงสตรี สำหรับใช้สวมใส่ลำลองหรือชุดทำงาน ทั้งหมด 9 กลุ่มได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีครามธรรมชาติ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ากาบบัวคำขวาง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมทอผ้าฝ้ายบ้านเหล่าใหญ่ ยกระดับผลิตภัณฑ์ของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึก 5 กลุ่มได้แก่ วิสาหกิจชุมชนทอผ้าครองวิถี ผลิตภัณฑ์หมวกจากผ้าย้อมคราม ประเภทหมวก Cap  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าปล้อง ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเป้ หมวกปีกและหมวก Cap วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และหมอนขิดบ้านด่านเหนือ ผลิตภัณฑ์กระเป๋า จำนวน 3 รูปแบบ กระเป๋ารูปหัว กระเป๋าจิ๋วแต่แจ๋ว และกระเป๋าเอนกประสงค์ เน้นรูปแบบที่ทันสมัยเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย กลุ่มทอผ้าบ้านคำโพนทอง พัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าเป็นจำนวน 3 รูปแบบ กระเป๋าสี่เหลี่ยมคางหมู กระเป๋ากลีบบัว และกระเป๋าพกพา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้านโนนสามัคคี พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าจำนวน 2 รูปแบบ กระเป๋าเครื่องเขียน และกระเป๋าสะพาย กลุ่มสตรีบ้านแกใหญ่ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์

Tag :