วีระเพ็งทอง : ผมไม่เคยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวแต่ผมนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมหลัก

by ThaiQuote, 18 พฤษภาคม 2560

“วีระเพ็งทอง” ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี “เดินตามรุ่นพี่เพื่อส่งต่อจิตวิญญาณที่ดีสู่รุ่นน้อง” ผมไม่เคยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวผมพูดเสมอว่ขอให้น้องๆทุกคนทำงนโดยมองผลประโยชน์ส่วนรวมและองค์กรเป็นหลักคำกล่วจกนยวีระเพ็งทองผู้อำนวยกรโครงกรชลประทนสุรษฎร์ธนีบุคคลชลประทนที่ทำงนในรั้วกรมชลประทนกว่ 30 ปี เรียนตามเพื่อน เรื่องมีอยู่ว่าวีระเพ็งทองเดิมเป็นคนจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาศัยอยู่ที่เกาะสมุยคุณพ่อคุณแม่มีอาชีพทำสวนส่วนด้านการศึกษานั้นเขาจบระดับชั้นม.ศ.3 จากโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา ต.แม่น้ำ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานีหลังจากนั้นก็เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเศก จ.กรุงเทพมหานคร เรียกว่าชีวิตราบเรียบจนแทบไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าในภายภาคหน้านั้น เขาจะได้เป็นข้าราชการสังกัดกรมชลประทานเลยแม้แต่น้อยกระทั่งวันหนึ่ง… วันที่ถึงทางแยกต้องก้าวเข้าสู่โลกของการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยทางหนึ่งคือเลือกที่จะสอบเอ็นทรานซ์เหมือนเช่นนักเรียนคนอื่นทั่วไปอีกทางคือเสียงกระซิบจากรุ่นพี่ให้เลือกสอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยการชลประทานแต่สำหรับวัยรุ่นอย่างวีระแล้ว…เพื่อนนั้นสำคัญเสมอแรงจูงใจดูเหมือนจะเอนเอียงไปทางเสียงกระซิบเสียมากกว่า รุ่นพี่สอนให้อดทน “สำหรับวิทยาลัยการชลประทานผมเข้าศึกษาในรุ่นที่ 38 มีชื่อฉายาที่รุ่นพี่ชลประทานตั้งให้ว่า ‘เป็ง’ ผมเป็นคนพูดไม่เก่งแต่สิ่งที่ผมจำได้ดีและอยากจะถ่ายทอดในครั้งนี้คือเรื่องการรับน้องเพราะรุ่นของผมถือว่ามีการรับน้องที่ยาวนานที่สุดร่วม 3 เดือนใครหลายคนอาจคิดว่าการรับน้องจะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากใจอยู่บ้างแต่มองในมุมของผมนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นพี่ชลประทานนั้นแม้จะดูก้าวร้าวไปบ้างตามสไตล์ผู้ชายแต่ก็ไม่ได้เกินขอบเขตแต่สิ่งที่แฝงมาต่างหากที่สำคัญนั่นคือรุ่นพี่ได้ทำให้ผมเป็นคนที่มีความอดทนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำคุณสมบัติข้อนี้ติดตัวผมมาจนถึงทุกวันนี้” มุมคิดของวีระนั้นทำให้เห็นว่าเมื่อวันหนึ่งสถานภาพของเขาเปลี่ยนจากรุ่นน้องมาเป็นรุ่นพี่จึงไม่แปลกที่เขาจะสามารถถ่ายทอดความรู้สึกจากรุ่นพี่ไปสู่รุ่นน้องของตนออกมาได้เป็นอย่างดี “ถ้าอยากรู้ว่าผมสอนรุ่นน้องอย่างไรต้องลองถามรุ่นน้องผมเอาเอง” วีระเปรยด้วยอารมณ์ขบขัน รับใช้เบื้องพระยุคลบาท ภายหลังจากจบสถานภาพการเป็นนักศึกษาวีระได้เข้ารับตำแหน่งเป็นนายช่างชลประทานระดับ 2 สังกัด จ.นครศรีธรรมราชสำนักงานชลประทานที่ 15 ทำงานในฝ่ายวิศวกรรมมีหน้าที่หลักในการตรวจประมาณการแต่อยู่ได้ 1 ปีก็ย้ายมาประจำที่โครงการชลประทานนครศรีธรรมราชมาทำด้านงานก่อสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำและแล้วบททดสอบฝีมือความอดทนของวีระก็มาถึง… ประมาณปี 2531 เกิดน้ำท่วมที่น้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชเกษตรกรเดือดร้อนประสบปัญหาพืชผลล้มตายจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นจำนวนมากวีระซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 บอกกับทีมงานวารสารว่าเขารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้มีส่วนในการช่วยเยียวยาผู้ประสบภัยและหลังจากเหตุการณ์ร้ายนี้ผ่านพ้นไปเขายังได้ทำงานสนองใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีพระราชดำริให้ใช้พื้นที่บริเวณซึ่งได้รับความเสียหายมาสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองกระทูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำตาปีตอนล่างใน อ.พิปูนและอ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช “การได้ทำงานใต้เบื้องพระยุคลบาทถือเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งของผมแต่กระนั้นก็จะเห็นว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำให้แล้วเสร็จนั้นก็ไม่ใช่ว่างานของเราจะจบเพราะสำหรับงานชลประทานนั้นเราจะต้องจัดทำระบบส่งน้ำวางแนวระบบส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือในภาคการเกษตรจัดการให้น้ำเข้าถึงให้เกษตรกรได้มีผลผลิตอีกทั้งยังจัดสรรที่ให้เกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ในอีกหนึ่งช่องทาง” วีระให้สัมภาษณ์ถึงภาระหน้าที่และความภาคภูมิใจของตน จะว่าด้วยโชคก็ไม่ใช่จะว่าด้วยดวงก็ไม่ถูกเพราะจากผลงานต่างๆที่วีระได้ทำออกมาให้เห็นนั้นล้วนมาจากความตั้งใจจริงที่ส่งไปถึงสายตาผู้บริหารกรมชลประทานทุกสมัยการงานของเขาเกิดการเติบโตและก้าวเดินอยู่ตลอดจนวันนี้ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี “รุ่นพี่ผมท่านหนึ่งสอนผมไว้ว่า ‘การทำงานที่ดีเราต้องเดินเข้าไปหาเกษตรกรเราต้องเข้าไปหาเข้าไปดูแลพวกเขาทำให้เขาเข้มแข็งเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้พวกเขาก้าวเดินไปพร้อมกับพวกเราซึ่งก็ไม่ใช่เพื่อใครเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเราทุกคนนั่นเอง’” วีระเปรยถึงคำกล่าวจากรุ่นพี่ที่ตนเคารพ สุดท้ายจากใจพี่สู่น้อง “ผมจะบอกน้องๆ ทุกคนเสมอว่าการทำงานต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมทุกการทำงานต้องมีตัวชี้วัดให้เห็นถึงความพัฒนาและที่สำคัญเราเป็นข้าราชการของในหลวงจงทำงานให้สมเกียรติยึดถือเสมอว่าลูกค้าของเราคือเกษตรกรประชาชนคือผู้บริโภคจงตั้งมั่นที่จะทำงานเพื่อพวกเขาเหล่านั้นให้สมกับเงินเดือนที่เราได้รับมาขอให้เชื่อว่าการทำดีย่อมส่งผลดีกับเราแน่นอน” ผอ.เป็งทิ้งท้ายในฐานะพี่สอนน้อง