อาหารฤทธิ์ร้อน กินอย่างไรให้สุขภาพดี

by ThaiQuote, 5 พฤษภาคม 2561

หลักการสังเกตอาหารและพืชผักที่มีฤทธิ์ร้อนก็คือ เมื่อทดลองให้ผู้ที่มีภาวะร้อนเกินรับประทาน อาการจะกำเริบรุนแรงมากขึ้น และเมื่อทดลองให้ผู้ที่มีภาวะเย็นเกินรับประทาน อาการจะทุเลาลง สำหรับอาหารและพืชผักที่มีฤทธิ์เย็น เมื่อทดลองให้ผู้ที่มีภาวะเย็นเกินรับประทาน อาการจะกำเริบรุนแรงมากขึ้น และเมื่อทดลองให้ผู้ที่มีภาวะร้อนเกินรับประทาน อาการจะทุเลาลง ดังตัวอย่างต่อไปนี้   กลุ่มของอาหารฤทธิ์ร้อน * กลุ่มคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง เป็นต้น * กลุมโปรตีนฤทธิ์ร้อน เช่น เนื้อ นม ไข่ เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดหอม เห็ดหลินจือ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอด เต้าเจี้ยว มิโสะ ซีอิ๊ว โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เป็นต้น   * กลุ่มไขมัน เช่น ลูกก่อ งา เนื้อมะพร้าว กะทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์   * กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ผักที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กระชาย กระเพรา ยี่หร่า โหระพา พริก แมงลัก กุ้ยช่าย ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง กระเทียม ผักชี พริกไทย ขิง ข่า ขมิ้น ไพล ใบมะกรูด ตะไคร้ เครื่องเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดร้อน แต่มีฤทธิ์ร้อน เช่น คะน้า แครอท บีทรูท กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง กระเฉด ลูกตำลึง ฟักทองแก่ โสมจีน โสมเกาหลี แปะตำปึง ผักกาดเขียวปลี ใบยอ ผักโขม ใบปอ ผักแขยง ยอดเสาวรส หน่อไม้ เม็ดบัว ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด (เทา) ไหลบัว รากบัว แพงพวยแดง เป็นต้น   * กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน เช่น ฝรั่ง ขนุนสุก ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า สละ ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ กล้วยปิ้ง (สำหรับกล้วยหอมทองและหอมเขียว มีรสหวานจัด มักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน) มะตูม ละมุด ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเขียว ลูกยางเหลือง ลองกอง กะทกรก (เสาวรส) มะเฟือง มะปราง มะขามหวานสุก สมอพิเภก มะไฟ มะแงว (ลิ้นจี่ป่า) ทับทิมแดง มะม่วงสุก ลูกยอ กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น ลักษณะของอาหารฤทธิ์ร้อน * อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัด หรือขมจัด * อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนานๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง หรือใช้ไฟแรง * อาหารใส่สารสังเคราะห์ * อาหารใส่สารเคมี * อาหารใส่ผงชูรส * สมุนไพรหรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด * อาหารหมักดอง น้ำหมัก ข้าวหมาก * วิตามินทุกตัว ยกเว้น เอ ดี อี เค เบต้าแคโรทีน ที่ได้จากอาหารกลุ่มเย็น * แคลเซียม โซเดียม ธาตุเหล็ก สังกะสี เบต้าแคโรทีน ที่ได้จากอาหารกลุ่มร้อน * เหล้า เบียร์ ไวน์ บุหรี่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมอม ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง บะหมี่ซอง * น้ำร้อนจัด น้ำเย็นจัด และน้ำแข็ง   การทำอาหารให้มีฤทธิ์เย็นเพื่อแก้ภาวะร้อนเกิน มีเทคนิคที่สำคัญก็คือ ใช้เมนูอาหารที่เราเคยรับประทานปกติทั่วไป แต่ลดปริมาณของสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนลงหรือลดความเข้มข้นของรสชาติอาหารลงมาให้เหลือ 10-30% ของที่เคยปรุงปกติทั่วไป
Tag :