รมว.พาณิชย์ให้นโนบาย 61 แก้รากหญ้า รักษาค่าครองชีพ

by ThaiQuote, 12 มกราคม 2561

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวถึงทิศทางการทำงานในปี 2561 ว่าประเด็นแรกเน้นเศรษฐกิจฐานราก ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจฐานรากของไทยคือสินค้าเกษตร ครอบคลุมพี่น้องเกษตรกรปริมาณร่วม 30 ล้านคน  ดังนั้นจึงต้องบูรณาการการทำร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนกระทรวงอุตสาหกรรมในการเพิ่มมูลค่า กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายที่จะทำให้สินค้าเกษตรมีราคาที่เป็นธรรม พี่น้องเกษตรกรอยู่ได้ นำไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งในปีนี้ราคาสินค้าเกษตรหลายตัวเข้าอยู่ในทิศทางที่ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า แม้ว่าราคาน้ำมันปาล์มจะมีปัญหา  แต่ก็เชื่อว่าทิศทางจะดีขึ้น  ราคาตอนนี้เริ่มทรงตัวและดีขึ้น การแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันในระยะสั้นจะเป็นการดูดซับซัพพลายออกจากระบบก่อน ในระยะกลางสร้างสมดุลระหว่างดีมานต์และซัพพลายต่อไป ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวจะประสานกับมาเลเซียเพื่อบูรณาการเรื่องน้ำมันปาล์มไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างความยั่งยืนในเรื่องดังกล่าว “นโยบายที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์คือจะไม่สร้างสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าคอมมูนิตี้ แต่จะสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ไม่เน้นขายปริมาณมากที่สุด แต่จะเน้นยกมูลค่าเพิ่มของสินค้า  ซึ่งเป็นความเข้มแข็งของเรา โดยเราจะมีนโยบายสร้างเป็นเดอะพรีเมี่ยมเกรด สร้างเป็นสินค้า Specialty สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูป การสร้างแบรนด์ของสินค้าเกษตร เราจะสร้างทุเรียนแบรนด์เกิดขึ้น ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าเกษตรของตน” นายสนธิรัตน์กล่าว ส่วนการแก้ไขสินค้าเกษตรที่ต่ำกว่าเกรด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก แต่คุณภาพได้ ก็จะเสริมสร้างด้วยการสร้างบรรจุภัณฑ์ การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าให้มากขึ้น ปัญหาสำคัญของการแก้ไขสินค้าเกษตรคือต้องมี Big Data เพราะจะทำให้เห็นภาพรวมของปัญหา แก้ได้ตรงจุด เราจะให้ร่วมความร่วมมือกับกระทรวงเกษตร นายสนธิรัตน์กล่าวต่อว่า “ในสินค้าโคนม ได้มีการทำเอฟทีเอกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์มาแล้ว 12 ปีแล้ว เหลืออีก 3 ปี เป็นภาษี 0 % มีเวลาจำกัดที่ต้องเร่งแก้ปัญหา เราทำ Big Data  เพื่อศึกษาแนวทางการกระจายสินค้าออกไปอย่างมีทิศทาง มีการแบ่งกันระหว่างการผลิตนมสดและนมแปรรูป เป็นการยกระดับภาพลักษณ์ของนมแปรรูปที่มีมูลค่าสูงกว่ามาก หรือการทำงานเชิงรุกที่จะเป็นพาร์ตเนอร์กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และบูรณาการให้ไทยเป็นศูนย์ผลิตนมในภูมิภาค CLMV” เรื่องที่ 2 การดูแลเรื่องค่าครองชีพ เป็นหนึ่งในเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญ โดยสามารถดำเนินการได้ภายใน 2 มิติ คือ มิติด้านกฎหมาย แต่เราก็จะดูความเป็นธรรมด้านการค้า ซึ่งเป็นเรื่องของกลไกการตลาดด้วย  สิ่งที่จะช่วยสร้างสมดุลด้านค่าครองชีพได้คือการสร้างกลไกการแข่งขันทางการตลาดให้เกิดขึ้น สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำและซ่อนอยู่ไว้คือโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เรามีจะมีร้านประชารัฐราว 40,000 แห่ง ในเร็วๆ นี้ ร้านค้าที่มีอยู่ 20,000 แห่งในขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์กำลังทำการเชื่อมโยงให้ร้านค้าเหล่านี้ แล้วเป็นช่องทางเพื่อให้สินค้าชุมชนได้มีแหล่งกระจายขาย  กลไกนี้จะเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้เพื่อกระจายสินค้าชุมชน และดึงราคาหมวดสินค้าต่างๆ ให้ลงมาอย่างยุติธรรม นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้มีสินค้าธงฟ้าประชารัฐ เป็นการร่วมมือกับผู้ผลิตที่จะนำสินค้าเข้าสู่ร้านค้าเหล่านี้ซึ่งราคาจะต่ำกว่าท้องตลาดประมาณ 15-20 % สินค้าเหล่านี้ไม่ได้ทำให้กลไกตลาดเสีย แต่เป็นทางเลือกที่ผลิตจากชุมชน เรื่องที่ 3 โครงการสวัสดิการแห่งรัฐเฟส 2 มีหน้าที่หลักคือทำให้ประชาชนที่มาขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้นหลุดจากความยากจน เป็นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ไม่ได้มีการแจกเงิน เป็นการนำคนเข้าสู่ระบบและพัฒนาเขาให้หลุดจากเส้นความยากจนเป้าหมาย 30,000 รายต่อปี ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เน้นเรื่องการสร้างอาชีพ มีทั้งการสร้างผู้ลงทะเบียนเพื่อให้มีอาชีพอิสระ ไม่ใช่แต่เพียงการซื้อแฟรนไชส์อย่างเดียว มีการสร้างอาชีพแม่บ้านมืออาชีพ ร่วมมือกับธ.ก.ส.ในการสร้างเกษตรกร 10,000 รายมีอาชีพเสริม โดยให้สินเชื่อไป สร้างอาชีพเสริม เรื่องที่ 4 การขับเคลื่อน SMEs โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดคือกลุ่ม SMEsขนาดกลาง เติมพลังให้การสนับสนุนเพียงเล็กน้อย เขาจะก้าวไปได้ไกล ไปสู่ตลาดต่างประเทศไทย ซึ่งในปีนี้เราจะเน้นเรื่องการค้าและบริการ กลุ่มต่อมาคือ Startup จะใช้ศูนย์ที่รัชดาภิเษกเป็นศูนย์ Startup ไปสู่ CLMV เรื่องที่ 5 อี-คอมเมิร์ช จะดูแลทั้งระบบมีการบูรณาการทุกกรมของกระทรวงพาณิชย์ให้เข้ามาสนับสนุนอี-คอมเมิร์ช  มีการสร้างแพลทฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถเชื่อมโยงกับระดับโลก มีการเชื่อมโยงเน็ตประชารัฐเข้าสู่ร้านค้าประชารัฐเพื่อทำอี-คอมเมิร์ชต่อไป ขายสินค้าชุมชน มีการทำความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและไปรษณีย์ไทยสร้างร้านค้า 10,000 รายอย่างเป็นรูปธรรม เรื่องที่ 6 เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ดีใจที่ไทยหลุดจากการเฝ้าระวังของต่างชาติ นำไปสู่การยกสภาพประเทศให้เท่ากับประเทศชั้นนำ รวมถึงการจดทรัพย์สินปัญญาต่างๆ ในปีนี้จะเน้นการส่งเสริมสินค้า GI ต่างๆ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เรื่องที่ 7 เน้นธุรกิจบริการ ปีนี้เน้นทำดัชนีบริการ ทั้งที่นับวัน จีดีพีส่วนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ และสอดรับกับประเทศในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์เศรษฐกิจของประเทศไปสู่หมวดของการท่องเที่ยว ปีนี้เน้นไปสู่เมืองรอง ก็ต้องการการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ เช่นที่พัก ร้านอาหาร ที่ช็อป นวด สปา ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวกับดิจิทัล คอนเท้นต์ที่จะเข้ามาสนับสนุน เรื่องที่ 8 การส่งออก ในปีนี้ละจะทำงานเชิงรุกใน 2 นโยบายหลัก ๆ คือ หนึ่งการทำหุ้นส่วนทางการค้า สองการเจาะในกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพเช่น จีน อินเดีย ซึ่งอินเดียเป็นตลาดใหญ่ที่มีอุปสรรคมากต้องเริ่มปูทางตั้งแต่ตอนนี้ รวมถึงการมองตลาดที่มีความคลี่คลายตัวเช่น อียู เรื่องที่ 9 สร้างสภาพความแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ทำระบบศูนย์บริการจุดเดียว และต้องทำให้ง่ายและสะดวกด้วย มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ มีศูนย์ข้อมูลในการสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกระดับทั้งในเรื่องการอบรม การให้ความรู้ การช่วยเหลือ

Tag :