เที่ยวเยอะแค่ไหน ก็เก็บเงินอยู่

by ThaiQuote, 12 มกราคม 2561

1. หาข้อมูลให้พร้อม

บางคนอาจชอบท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ ตามใจอยากหิวก็กินร้านใกล้ๆ อยากไปไหนก็ตีตั๋วรถไปทันที ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ค่าใช้จ่ายบานปลายทางที่ดีลองเปลี่ยนมาใช้วิธีวางแผนให้แม่นก่อนเที่ยวดีไหมคะ เช่น สำรวจก่อนว่าหากสถานที่ที่จะไปเที่ยวอยู่ในเมืองเดียวกัน ก็ควรซื้อตั๋วแบบ One day trip อาจคุ้มค่ากว่า หรือหากต้องเดินทางโดยเครื่องบินหรือรถไฟ การซื้อตั๋วล่วงหน้าจะช่วยประหยัดเงินได้มากค่ะลองวางแผนเที่ยวแบบสบายๆ สามารถยืดหยุ่นได้จะช่วยประหยัดทั้งเงินทั้งเวลาเลยนะคะ นอกจากนั้นยังมีเคล็ดลับย่อยๆ เช่น - แบ่งค่าใช้จ่ายต่อวัน และกำหนดไม่ให้เกินไปจากที่ตั้งเป้าไว้ - ศึกษาภาษา คำที่ควรรู้ เช่น ทางไปห้องน้ำ ซื้อตั๋วรถไฟ หรือถ้าจำคำที่แปลว่า “ถูก” “โปรโมชั่น” ได้ก็ยิ่งดีค่ะ - เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตามนะคะ อย่าลืมศึกษาว่า ที่ประเทศนั้น ๆ มี Do & Don’t อะไรบ้าง - เช็คให้ดีว่า ช่วงไหนมีเทศกาลพิเศษ หรือมีช่วงลดราคาสินค้าที่เราหมายตาไว้ 02-(1).jpg

2. ออมเงินก่อนไป

นอกจากวางแผนการเดินทางแล้ว ก่อนการเดินทาง ลองตั้งเป้าหมายว่า ทริปนี้ เราจะใช้เงินสักเท่าไหร่ แล้วออมเงินสำหรับไว้ใช้ในการเที่ยวโดยเฉพาะ ซึ่งเทคนิคการเก็บเงินนั้นมีหลายแบบ ถ้าเน้นความสนุก ให้ตั้งขวดโหลใส แล้วหยอดเหรียญหรือธนบัตรดู พอครบแต่ละเดือนก็ลองนับว่า ได้เท่าไหร่ แล้วนำไปฝากธนาคารไว้ หรือจะใช้เทคนิคเก็บธนบัตร 50 บาททุกใบก็ได้ หากใครไม่มีภาระที่ต้องใช้จ่ายเยอะ ก็หักเก็บ 10% ของเงินเดือนทุกเดือนดู 03.jpg

3. เตรียมของให้ครบ

ของใช้ส่วนตัว เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ แชมพู ครีมนวด ทิชชู่ หรือกระทั่งยาสามัญประจำตัวเป็นอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถประหยัดเงินให้เราได้เยอะเลยค่ะ บางคนอาจมัวตื่นเต้นกับการได้ไปเที่ยว จนลืมของพวกนี้ สุดท้ายเลยต้องไปซื้อที่จุดหมายปลายทาง กลายเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองที่จู่ๆ ก็งอกเงยออกมา ถ้าจะให้ดีลองทำลิสต์ดูว่า ต้องเตรียมอะไรไปบ้างจะได้ไม่พลาดเมื่อถึงเวลาเก็บของ 04.jpg

4. ประหยัดงบที่ไม่จำเป็น

บางประเทศแค่จะดื่มน้ำที นี่ต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะน้ำดื่มในบางแห่งราคาแพงมากเท่าอาหารมื้อย่อย ๆ ของเราได้เลย แต่ในหลาย ๆ ประเทศก็มีบริการน้ำดื่มฟรี เทคนิคประหยัดค่าใช้จ่ายในจุดนี้ คือ การพกขวดน้ำเล็ก ๆ ไปเอง และเช็คว่า ตรงไหนมีจุดบริการน้ำดื่มบ้าง เราจะได้กรอกน้ำพกติดตัวเวลาไปเดินเที่ยวค่ะ หรือบางประเทศอย่างประเทศญี่ปุ่น หลาย ๆ รายมักจะบริการน้ำชาฟรีค่ะ ลองเปลี่ยนจากน้ำขวด มาเป็นน้ำชาบ้างก็ดีนะคะ 05.jpg

5. ประเมินค่าใช้จ่ายก่อนไป

เลิกคิดไปได้เลยกับการแลกเงินต่างประเทศ เพราะอัตราที่ต่างแดนนั้นอาจจะแพงจนเราตกใจ ดีไม่ดีแจ็กพ็อต ทางที่แลกเปลี่ยนเงิน เงินหมดขึ้นมาอีก หรือบัตรเครดิตวงเงินเต็ม ทางที่ดี เราควรคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ หักค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายแน่ ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าตั๋ว แล้วไปคุมงบรายวันที่เป็นพวกค่ากิน ค่าเที่ยวแทนค่ะ 06.jpg

6. สร้างรายได้หลังกลับมา

หากการท่องเที่ยว คือ ชีวิตจิตใจ และรักที่จะออกเดินทางบ่อยๆ ลองแบ่งปันช่วงเวลาดีๆเหล่านั้น ด้วยการเล่าเรื่องราวผ่านบล็อกหรือเฟสบุ๊คเพจ หรือบรรดาตากล้องมือสมัครเล่นไปจนถึงมืออาชีพก็สามารถเก็บภาพมาขายในเว็บไซต์ Stock Photo ได้ หรือใครที่มีหัวทางด้านธุรกิจ อาจจะไปเจอสินค้าต่างแดนที่เห็นว่ามีโอกาสเป็นสินค้าขายดี ก็สามารถนำมาต่อยอดทางธุรกิจได้ เห็นไหมว่า ในการท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตาหรือพักผ่อนหย่อนใจ ก็อาจจะมีโอกาสในการสร้างรายได้หลาย ๆ รูปแบบ เรียกได้ว่า ได้กำไรสองต่อเลยทีเดียวค่ะ        เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเทคนิคเที่ยวเยอะแค่ไหนก็เก็บเงินอยู่ หวังว่าจะเป็นแนวทางให้กับคนที่ชอบเที่ยวบ่อย ๆ ในการออมและสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ว่าแล้วจะรอช้าอยู่ทำไมออมเงินไปเที่ยวครั้งต่อไปกันเลยดีกว่า

-------------------------------------------------

Tag :