ดร.สมฤดี ย้ำ เทคนิคทำตลาด การสัมผัสสินค้าคือความรู้สึกที่วิเศษ

by ThaiQuote, 18 มกราคม 2561

ดร.สมฤดีกล่าวว่าการได้สัมผัสสินค้าคือความรู้สึกวิเศษสุด การได้เห็นสินค้าจากโฆษณาไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์หรือได้ยินจากวิทยุย่อมได้แค่จินตนาการเกี่ยวกับสินค้ายังไม่ได้ประสบการณ์จริง เช่นเห็นภาพยนตร์ที่สวยหรูในนิตยสารจนอดใจไม่ไหว ต้องแวะไปขอดูตัวจริงที่โชว์รูมให้ได้เข้าไปลูบคลำให้ได้ เข้าไปนั่งทดลองขยับพวงมาลัยสักนิดหน่อย ได้เปิดฝากระโปรงดูเครื่อง เปิดประตูหน้าหลังดูความกว้างขวาง นี่คือการสัมผัสสินค้าที่ได้ผลที่สุด เพราะได้ทั้งภาพได้ทั้งเสียงการบรรยายของพนักงานขาย ได้ทั้งกลิ่นหอมของเบาะ เพราะเป็นรถใหม่ได้สัมผัสรถตัวจริงแถมยังมีกาแฟหรือเครื่องดื่มให้ชิมเป็นของแถม ก็ถือว่าครบสมบูรณ์แบบ ส่วนจะซื้อหรือไม่ก็แล้วแต่คุณภาพตัวสินค้า คุณค่าของแบรนด์ การสร้างบรรยากาศการขาย การปิดการขาย ซึ่งเป็นกระบวนการทั้งหมดที่ขึ้นอยู่กับทุกสิ่งที่วางอารมณ์มาทำให้เกิดการตัดสินใจได้หรือไม่ สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคอาจจะทำได้เพียงครึ่งทางคือ วางตลาดตามซูเปอร์มาร์เก็ตอาศัยการตั้งกองโชว์บ้าง จัดหัว Shelf บ้าง หรือไม่ก็ยืนเรียงใน Shelf ตั้งโชว์ให้มากที่สุดให้น่าซื้อ ถ้าลูกค้าสนใจก็หยิบมาสัมผัส อาจจะหยิบอ่านรายละเอียดแล้วก็วางหรือถ้าถูกใจก็หยิบใส่ตะกร้า ดร.สมฤดี ยังกล่าวต่อว่าหลายองค์กรจึงต้องตั้งหน่วยพิเศษจะเรียกว่าหน่วยส่งเสริมการขาย หน่วยพิเศษ หน่วยรถเคลื่อนที่หรือหน่วยบริการลูกค้าที่สามารถไปร่วมงานแสดงสินค้า งานมหกรรมหรือการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสทดลองของจริงในราคาพิเศษ บางบริษัทถึงกับจ้างพนักงานเดินตามบ้าน Door to Door เพื่อแจกตัวอย่างสินค้าตามหมู่บ้าน หรือตั้งบูธโชว์ตามห้างบ้างตามถนนใหญ่ ๆบ้างเช่น สีลม สยามสแควร์ ทั้งหมดก็เพื่อพยายามให้ลูกค้าได้สัมผัส ได้ชิมสินค้าจริง ส่วนสินค้าบริการเช่น ร้านอาหาร โรงเเรม โรงพยาบาล ธนาคาร ร้านหนังสือ ร้านกาแฟ การสัมผัสสินค้าคือตัวร้านเองเป็นทั้งตัวสินค้า เป็นทั้งการบริการ เป็นทั้งบรรยากาศ การตกแต่ง การจัดเรียงสินค้า การมีมุมพักผ่อน มุมสบาย มีบริการอื่นๆเช่น ธนาคารสมัยใหม่จะมีร้านกาแฟดังเข้าไปอยู่ในมุมหนึ่ง ร้านขายมือถือ คอมพิวเตอร์ เช่นทรูก็จะมีทรูคอฟฟี่ สถานีบริการน้ำมัน เช่นปตท. ก็กลายเป็น Food Center กลายเป็น Rest Area แนวคิดการตลาดปัจจุบันจึงเป็นการพยายามใช้สื่อผสมผสาน เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสทุกประสาทสัมผัส กลายเป็นบทสร้างเติมทฤษฎีที่แห่งเดียวจะมีหลายอย่างเพื่อบริการลูกค้าให้จุใจ ครบวงจร อย่างไรก็ตามไอเดีย Marc Gobe ยังสะท้อนให้ระวังคือ ภาพลักษณ์รวมของการนำเสนอทั้งหมดจะต้องกลมกลืนไปในทิศทางเดียวกัน เช่นกรณีการพลิกโฉมเสรีเซ็นเตอร์ซึ่งเดิมพยายามแก้ไขด้วยวิธีต่าง ๆ เปลี่ยนห้างสรรพสินค้า เปลี่ยนผู้บริหารก็ไม่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งกลุ่มสยามเซ็นเตอร์เข้ามาปฏิวัติโฉมใหม่หมด ออกแบบใหม่ เปลี่ยนร้านค้าใหม่ ไม่มีความเป็นเสรีเซ็นเตอร์เก่าเหลือเลย เลือกแต่ร้านค้าดังแบรนด์ดังตกแต่งร้านสวย สร้างบรรยากาศใหม่ใช้คอนเซ็ปต์ว่า “Paradise Park” ทั้งที่รูปลักษณ์โครงสร้างเดิม แต่ภาพลักษณ์ใหม่กลายเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ สมัยใหม่ขนาดใหญ่ สวยงามเหมาะกับวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ยุคใหม่ที่ชอบความทันสมัย และที่ไม่ลืม คือ ศูนย์อาหารด้านล่าง ซึ่งกลายเป็นไฮไลท์ของศูนย์การค้ายุคใหม่ แสดงถึงความชำนาญในธุรกิจนี้ ที่อ่านกลุมลูกค้าและผู้บริโภคเฉียบขาดจึงกล้าลงทุน และนี่คือเรื่องราวสาระสำคัญส่งท้ายของบทที่ 4 ในหัวเรื่องการสร้างแบรนด์ตรึงอารมณ์ ใครที่ได้ติดตามบทความที่ถูกถ่ายทอดโดย ดร.สมฤดี ศรีจรรยา กูรูด้านเศรษฐศาสตร์ การตลาด คงได้สาระดี ๆไปไม่น้อย แล้วพบกันใหม่ในบทที่ 5 รับประกันว่าสาระยังคงเข้มข้นเช่นเดิม
Tag :