ผนึกกำลัง! 3 แบงก์รัฐ พร้อมหนุนเอสเอ็มอีภาคเกษตรกร

by ThaiQuote, 13 กุมภาพันธ์ 2561

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวในงานสัมมนาขับเคลื่อนสภาเกษตรกรแห่งชาติ  หัวข้อ สินเชื่อภาคเกษตรกับการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร และองค์กรภาคเกษตร ว่า เตรียมเสนอที่ประชุมบอร์ด ธ.ก.ส.พิจารณาขยายวงเงินสินเชื่อสินเชื่อกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกษตรจากเดิมปล่อยสินเชื่อต่อราย 10 ล้านบาทต่อราย เพิ่มเป็น 20 ล้านบาทต่อราย เพราะหลายรายขยายกิจการต่อไปได้ดี จึงต้องการดูแลกลุ่มที่มีศักยภาพ เนื่องจากโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำยังจำเป็นสำหรับเกษตรกร จึงเสนอบอร์ดขยายโครงการดอกเบี้ยร้อยละ 4 เพิ่มเติมอีกสำหรับสินเชื่อเอสเอ็มอีภาคเกษตร เน้นย้ำห้ามนำไปรีไฟแนนซ์เพื่อลดภาระเงินกู้ หลังจากที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ออกโครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีภาคเกษตร คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ปี เป็นเวลา 7 ปี เมื่อเกินเวลา 7 ปี  สำหรับลูกค้าเกษตรกร ส่วนองค์กร สหกรณ์ทางการเกษตร คิดดอกเบี้ยร้อยละ  5 เกษตรกรคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7  ตามความเสี่ยงของลูกค้าเกษตรกร   

นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ได้เตรียมโครงการสินเชื่อปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ เตรียมวงเงิน 45,000 ล้านบาท เน้นกลุ่มสถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 เพราะรัฐบาลอุดหนุนภาระดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3.5 จึงต้องการให้กลุ่มเกษตรกรรับซื้อผลผลิต ใช้ตลาดเป็นตัวนำการผลิต กำหนดโซนการเพาะปลูก เพื่อต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต จากเดิมที่เน้นปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงประเภทเดียวและรับความเสี่ยงด้านราคาตกต่ำ เพื่อใช้การตลาดเป็นตัวนำการผลิต 

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า  ออมสินมุ่งเน้นช่วยเหลือเอสเอ็มอีภาคเกษตร ผ่านโครงการสินเชื่ออุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อดูแลสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผู้ประกอบการ ที่เกี่ยวเนื่องจากผลผลิตทางการเกษตร เตรียมวงเงินปล่อยสินเชื่อเบื้องต้น 5,000 ล้านบาท และพร้อมขยายเพิ่มไม่จำกัด เพราะต้องการเพิ่มสัดการปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีเพิ่มอีกจำนวนมากในปีนี้  เงื่อนไขคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ในปีแรกจากนั้นคิดร้อยละ 4.99 ในปีที่ 2 เพื่อส่งเสริมกลุ่มที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม นอกจากนี้แบงก์รัฐได้พยายามส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคเกษตร จัดทำบัญชีเดียว เพราะทาง ธปท.กำหนดให้สถาบันการเงินพิจารณาการจัดทำบัญชีมาตรฐานเดียวเพื่อยื่นขอสินเชื่อกับแบงก์รัฐ 

นายพิชิต มิทราวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี ดิเวลล็อบเม้นท์แบงก์) กล่าวว่า เอสเอ็มอีแบงก์ เดินเครื่องปล่อยทีมรถม้าเร็วกระจายลงพื้นที่ให้ครบ 600 หน่วยตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อแนะนำให้ความรู้ทางการเงิน เชื่อมโยงกับเกษตรแปรรูป การท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจการผลิต ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ หากรายใดมีศักยภาพพร้อมปล่อยสินเชื่อหลายโครงการดอกเบี้ยร้อยละ 4 ในช่วง 7 ปีแรก เริ่มให้ยื่นขอกู้ได้ภายใน 1 ปีนี้ .

Tag :