คนทำงานเป็นเบาหวานมากขึ้น ออกกำลังกายช่วยได้

by ThaiQuote, 4 พฤษภาคม 2561

ข้อมูลล่าสุดจากทั่วโลกปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 415  ล้านคน หรือทุก 11 คนจะมี 1 คน นพ. มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดก.สาธารณสุข เผยมีผู้ป่วยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 แสนคน/ปี เสียชีวิตปีละ8,000 คน ปัจจัยหลักเกิดจากการกิน-ออกกำลังกาย และคนรุ่นใหม่เป็นสูงขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป   ข้อมูลสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์  กรมการแพทย์ระบุไทยต้องใช้ค่ารักษาสูงถึง 47,596 ล้านบาท/ปี และน่าห่วงคือที่เสี่ยงเป็นอีก7.7 ล้านคน ศ. เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ระบุ ยังพบว่าคนที่เป็นอยู่แล้วเกินครึ่งยังคุมเบาหวานไม่ได้ตามเป้าหมาย   การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะให้ผลดีคือลดระดับน้ำตาลและไขมัน ลดระดับความดันโลหิต และลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการออกกำลังกายจะต้องระวังโรคแทรกซ้อนเช่นน้ำตาลต่ำ การเลือกวิธีออกกำลังจะขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคน หลักการออกกำลังกายอย่างง่าย โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกาย ไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานาน จนเกิดภาวะแทรกซ้อน การรักษาที่สำคัญของโรคเบาหวานประกอบไปด้วย การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การใช้ยาลดน้ำตาล การดูแลตัวเอง   ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น และทำให้น้ำหนักลด คนที่ไม่เคยออกกำลังกายให้เริ่มทีละน้อย โดยเริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินไปทำงาน การใช้บันไดแทนบันไดเลื่อน หรือการทำสวน เมื่อท่านแข็งแรงขึ้น ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง ข้อแนะนำการออกกำลังกายกับเบาหวาน
  • ไม่ควรออกกำลังกายถ้าน้ำตาลตอนเช้ามากกว่า 250มก.%
  • ให้กินน้ำตาลถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า100มก.%
  • ตรวจน้ำตาลก่อนและหลังออกกำลังกาย
  • เตรียมน้ำตาลไว้ขณะออกกำลังกาย
  • ปรับการฉีด insulin และอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
  • ปรึกษาแพทย์และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด
  • ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ
  • ควบคุมน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป คือไม่เกิน 250 มก.%ในเบาหวานชนิดที่1 ไม่เกิน 300 มก.%ในเบาหวานชนิดที่2
  • เรียนรู้อาการ และวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ตรวจดูเท้าว่ามีแผล ตาปลา หรือการอักเสบใดๆ
  • ใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีด insulin แนะนำให้เลี่ยงการออกกำลังกายช่วงขณะที่ยาออกฤทธิ์สูงสุด และไม่ฉีด insulin บริเวณที่ออกกำลังกายให้ฉีดบริเวณหน้าท้องแทน
  • ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ให้ลดขนาดยาลง 30-35%
  • ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ร่วมกับออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting ให้ลดหรืองด short-acting insulin และลด intermediate-acting intermediate-acting ลง1/3
  • ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting insulin ให้ลดยาฉีดก่อนออกกำลังกาย
  • ต้องสามารถทราบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีน้ำตาลติดตัว
  • ดื่มน้ำให้พอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
Tag :