คมนาคมจับ 11 หน่วยงานลงนามเผชิญเหตุฉุกเฉินระบบขนส่งทางราง

by ThaiQuote, 30 มิถุนายน 2559

รมว.คมนาคมกล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กับผู้ให้บริการเดินรถหรือโอเปอเรเตอร์ใน 6 ประเด็นหลักคือ 1. การให้บริการความสะดวกปลอดภัย  2.เมื่อเกิดเหตุต้องสื่อสารข้อมูลให้ประชาชนได้รู้ข้อเท็จจริงทันเวลา และให้พยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าพร้อมแจ้งประชาชนทันที เพื่อสามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้า และลดการเสียเวลาของผู้โดยสาร เช่นมีรถไฟฟ้าตรงจุดไหนบ้าง  3.การถ่ายโอนผู้โดยสารระหว่างโอเปอเรเตอร์จะต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ชม. แม้ว่าบีทีเอสซีและรฟม.จะแจ้งว่าตามหลักการจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน 6 นาที  และถ่ายโอนผู้โดยสารภายใน 10 นาที 4 .ระบบปฏิบัติการและการบำรุงรักษา (โอแอนด์เอ็ม) ของโอเปอร์เรเตอร์แต่ละราย ต้องเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการซ่อมบำรุงไม่ต้องรออะไหล่เสียหรือหมดอายุพร้อมกันแล้วถึงมาซ่อม  ซึ่งถ้าตรงจุดไหนมีปัญหาก็ซ่อมแซมไปก่อน 5. ฝึกซ้อมแผนการเผชิญเหตุร่วมกันประสานกับระบบขนส่งอื่น ๆ เช่น แท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) มอเตอร์ไซด์รับจ้าง เพื่อระบายผู้โดยสารตกค้างในระบบ  6. มอบหมายให้นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี  ปลัดกระทรวงคมนาคมตั้งศูนย์ประสานงานแผนเผชิญเหตุระบบขนส่งสาธารณะจะได้แก้ปัญหาได้ทันเหตุการณ์

             นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่าหากได้รับแจ้งเหตุจากศูนย์อำนวยการประสานงานและแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจว่าระบบขนส่งสาธารณะใดขัดข้อง จะส่งสายตรวจและเจ้าหน้าที่ลงไปประสานงานแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที โดยจะควบคุมระบบรถสาธารณะที่ให้บริการเพื่อช่วยระบายผู้โดยสาร ทั้งรถเมล์ ขององค์การขนส่งมลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถแท็กซี่ และรถมอไซด์รับจ้าง โดยจะควบคุมไม่ให้มีการเก็บค่าโดยสารเกินราคา ซึ่งปกติจะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ตามจุดต่างๆ อาทิ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สถานีขนส่งหมอชิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ที่มา : thaiquote