ยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เป็นรัฐบาลต่อไปอีกสมัย

by ThaiQuote, 1 กรกฎาคม 2561

พรรคการเมืองที่พร้อมจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล  จึงต้องแสดงความสามารถที่ระดมผู้สมัครที่มีฐานเสียงและคะแนนเสียงของประชาชนไปลงสมัครในทุกเขตการเลือกตั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะชนะในทุกเขตเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียงมากพอสำหรับจำนวนสส.จากบัญชีรายชื่อ   ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้นโยบายจะไม่ได้เป็นตัวแปรหลัก แต่ถ้าพรรคยืนหยัดว่าจะสานต่อและผลักดันให้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แปรสู่การปฏิบัติที่ป็นจริงโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน หากได้เป็นรัฐบาลต่ออีกหนึ่งสมัย  ก็จะมีส่วนทำให้ประชาชนกล้าตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองนี้หรือไม่? โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากรัฐบาลปัจจุบัน และมองเห็นอนาคตสดใสอย่างแน่นอนจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พรรคการเมืองที่หวังจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมียุทธศาสตร์การเลือกตั้งที่ถูกต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  แล้วจะวางยุทธศาสตร์อย่างไรจึงจะชนะการเลือกตั้งในปี 2562  ปัจจัยที่เป็นคุณและเป็นความเสี่ยงต่อคะแนนเสียงของพรรค เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวางยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรค 1. พรรคการเมืองต้องนำเสนอให้พลเอกประยุทธ์ เป็น นายกรัฐมนตรีคนใน ” คือ การได้เป็นสส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง และพรรคจะต้องได้สส.ทั้งหมดไม่น้อยกว่า 25 เสียง เพื่อจะได้มีสิทธิเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จึงต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการแสวงหา ส.ส.จากพรรคอื่นๆให้ได้มากกว่า 250 เสียง รวมทั้งเสียงจากสว.อีก 250 เสียง เพื่อรวมให้ได้เกิน 500 เสียง ในการสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เข้าสู่ตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” อย่างมีเสถียรภาพ 2. รัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีปัจจัยที่ทำให้ไม่มีพรรคใดคุมเสียงข้างมากในสภาดังเช่นในอดีต พรรคที่ต้องการเป็นแกนนำจึงต้องพยายามทำให้ได้ตามกติกาใหม่ คือ      1.ต้องมีไพรมารี่โหวต การประชุมสาขาพรรคครบ 100 คน หรือ มีตัวแทนพรรคการเมืองมีครบ 50 คน หากมีไม่ครบหรือมีคนประท้วงขึ้นมาก็สามารถถูกตัด      สิทธิ์ได้       2.ต้องยอมรับว่ากกต. มีอำนาจให้ใบส้มซึ่งจะอยู่ทั้งปี ดังนั้นต่อให้ผู้สมัครคนหนึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามา หากมีคนประท้วงว่าไม่ทำไพรมารี่ก็ออกได้      3.ในฐานะกรรมการบริหารพรรค ในตัวกฎหมายลูกบอกว่า ถ้าทำผิด พ.ร.บ. หรือกฎหมาย กรรมการบริหารพรรคก็มีสิทธิออกทั้งชุด      4. นักการเมืองถ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ก็ปรับออกได้      5.ในการเสนอนโยบายพรรคในการหาเสียงจะต้องระบุจำนวนเงิน ที่มา หลักการและเหตุผลของนโยบาย และจะต้องเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3. มีปัจจัยที่ขวางทางเดินของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อพลเอกประยุทธ์ คือ ภายใต้กติกาการเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองที่ต้องการเป็นแกนนำต้องฝ่าข้ามไปให้ได้ คือ      1.พ.ร.บ.พรรคการเมืองที่กำหนดเรื่องการจัดตั้งพรรคไว้สูงและยาก เช่น ต้องมีเงินต้นทุนพรรคหนึ่งล้านบาท มีนายทุนพรรคคนเดียวไม่ได้จะต้องมีการ    ร่วมบริจาคจากสมาชิกพรรค และ ต้องมีการเลือกตั้งขั้นต้น (primary vote) ในทุกเขตที่ต้องการส่ง ถือว่าเป็นด่านที่สำคัญที่พรรคต้องทำให้ได้ แม้ว่ามันมี          ต้นทุนสูง พรรคจึงต้องสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการเป็นเจ้าของพรรค รณรงค์ให้สมาชิกพรรคต้องจ่ายค่าสมาชิกปีละ 100 บาท หรือตลอดชีวิต 2,000 บาท แม้ว่าจะขัดแย้งกับวัฒนธรรมเดิมที่การเป็นสมาชิกมีแต่ได้ ไม่มีเสีย นับว่าเป็นการวางรากฐานใหม่ทางการเมืองภาคประชาชน เมื่อประชาชนตัดสินใจยอมลงขันเพียงแค่ 100 บาท มันมีค่ามหาศาล เพราะหมายถึงการได้คะแนนเสียงอย่างน้อย 1 เสียง หากเขารักพรรคพร้อมทุ่มเทกายและใจให้อีก ย่อมเป็นไปได้ว่าจะได้เสียงเพิ่มจากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และ คนที่เคารพศรัทธาทั้งในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองเก่าทั้งหลายมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญ ไปมุ่งเน้นแต่การหาเสียงด้วยการซื้อเสียงเป็นสำคัญ      2.พรรคการเมืองกับระบบเลือกตั้งบัตรใบเดียว คะแนน ส.ส. บัญชีรายชื่อจะได้มาจากบัตรเลือกตั้ง ส.ส. ระบบแบ่งเขต ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งในรอบหลายครั้งที่ผ่านมา สองพรรคใหญ่ครอบงำเสียงคนส่วนใหญ่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลือกประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทย แม้ว่าในบางเขตอาจจะเป็น ชาติไทยพัฒนา หรือภูมิใจไทย ดังนั้นพรรคใหม่จึงต้องมีผู้สมัคร ส.ส.เขต ที่มีฐานคะแนนเสียงขั้นต่ำอย่างน้อย 65,000 คะแนน พรรคจึงจะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน พรรคการเมืองจึงต้องมีต้นทุนทางบารมี ความเชื่อมั่นศรัทธา อำนาจ อิทธิพล และการเงินมากพอที่จะหาตัวผู้สมัครส.ส.ที่ดีและเหมาะสม ครบทุกเขต หรือ ให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสได้ ส.ส. เขต และ ส.ส. จากบัญชีรายชื่อของพรรคในปริมาณเพิ่มมากขึ้น      3.พรรคเดียวกัน แต่คนละเบอร์ การเลือกตั้ง ส.ส. แต่ละเขตที่มาจากพรรคเดียวกันจะมีเลขผู้สมัครไม่เหมือนกัน พรรคจะหาเสียงโดยใช้เลขเดียวกันทั้งประเทศไม่ได้แล้ว ยุทธศาสตร์ในการหาเสียงในนามพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ เป็นเรื่องที่ต้องหากลยุทธที่เหมาะสมในการทำให้ประชาชนจดจำพรรคและผู้สมัครเพื่อการกาบัตรให้ตามที่ต้องการของพรรคการเมือง โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่การเปิดตัวพรรค รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ ทุกเชื้อชาติ ทุกชนเผ่า และทุกชนชั้น ได้มีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและแผนงาน รวมทั้งร่วมกันผลักดันและติดตามผลในการแปรนโยบายพรรคสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงในทุกขั้นตอน หมายถึง พรรคต้องมีกลไกและหน่วยประสานงานอย่างต่อเนื่องให้กับแนวร่วมทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย อย่างสร้างสรรค์ และ เท่าเทียม พรรคการเมืองที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีที่สุด ก็คือ พรรคการเมืองที่ยังมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ต้องแยกบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนระหว่างความเป็นรัฐมนตรี กับ การเป็นหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค กรรมการบริหารพรรค และหรือ ตำแหน่งอื่นๆในพรรคที่ซ้อนทับกับตำแหน่งต่างๆในรัฐบาลปัจจุบัน เพราะอาจถูกร้องเรียนด้านการใช้งบประมาณรัฐหาเสียงให้พรรคได้ 4. ยุทธศาสตร์สร้างความหวัง ด้วยการใช้ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล คือ การลงคะแนนเสียงเชิงยุทธศาสตร์ กิจกรรมของมนุษย์ล้วนเกิดขึ้นจากการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเชิงยุทธศาสตร์ได้ คือ เมื่อผู้ลงคะแนนต้องการให้พรรคที่ตนเองเลือกได้รับชัยชนะ หรือ การตัดสินใจเลือกพรรคที่ตนเองไม่ได้สนับสนุน แต่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งมากกว่า จึงถือเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล เพราะผู้ลงคะแนนจะได้รับความพึงพอใจสูงสุดเมื่อพรรคที่ตนเองเลือกได้รับชัยชนะสามารถจัดตั้ง หรือร่วมในรัฐบาล การเลือกตั้งปี 2562 โอกาสที่จะมีผู้ลงคะแนนเชิงยุทธศาสตร์จำนวนมากนั้นความเป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้น ยุทธศาสตร์สร้างความหวัง “ เลือกเพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตที่ดีกว่า เพื่อสานต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ” อาจทำให้คนต้องตัดสินใจว่า จะเลือกพรรคเดิมที่ชอบ หรือ เลือกพรรคใหม่ที่ใช่ เลือกแบบไหนถึงจะได้นายกรัฐมนตรี ที่ ชื่อพลเอกประยุทธ์ โดย ผศ.ดร.เธียรธรรม เธียรสิริไชย