พันธกิจที่ไม่มีจบ “ปั้นนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศ” รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี (ตอน 4)

by ThaiQuote, 16 สิงหาคม 2559

ตอนสุดท้ายของการสัมภาษณ์ เราไปฟังกันต่อว่าจากพันธกิจที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศกับพันธกิจสำคัญที่มีต่อมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกับนักศึกษาที่จะเป็นบุคคลากรที่สำคัญของประเทศในอนาคต “วันนี้เราให้ทุกคณะตั้งศูนย์ความเป็นเลิศอย่างน้อย 1 ศูนย์ โดยคณะบริหารธุรกิจตั้ง “ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเอสเอ็มอี” แล้วก็มาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเอสเอ็มอีทั้งกลุ่ม Start up  และ Turn around   ขณะนี้เขาอบรมนักศึกษาก่อนจบทางด้านการทำธุรกิจ แล้วผมให้โจทย์ไปว่าคนซึ่งมาเรียนบริหารธุรกิจนั้น ส่วนหนึ่งที่บ้านของเขาทำธุรกิจอยู่แล้ว เราจะทำยังไงให้เขาออกไปเป็นผู้ประกอบการไปต่อยอดการค้าของคุณพ่อคุณแม่ หรือไปช่วยการค้าของญาติพี่น้องเขา”

 เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษาไม่ใช่ได้แค่ความรู้อย่างเดียว เขามีประสบการณ์ต้นทุนจากครอบครัวมาแล้วมาหาความรู้ในมหาวิทยาลัย กลับไปเป็นผู้ประกอบการภายใต้พื้นฐานธุรกิจของครอบครัว แล้ววันหนึ่งเขาแยกตัวออกจากธุรกิจครอบครัวไปทำธุรกิจใหม่หรือต่อยอดที่ใหญ่ขึ้น ฉะนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องบ่มเพาะนักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจใหม่ควบคู่กับการซึ่งพัฒนากำลังคน

นั่นคือพันธกิจแรกที่ดร.ประเสริฐ บอกกับสำนักข่าว Thai quote ถึงสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการ แต่ยังไม่จบแค่นั้นเพราะยังมีพันธกิจที่สองที่น่าสนใจ ประการที่สอง เรามีศูนย์ของมหาวิทยาลัยคือ Center of silent อยู่กระจายไปทุกคณะ เราส่งเสริมให้นักศึกษาต่างคณะสามารถไปอบรมหาความรู้แต่ละศูนย์ฟรี เช่นคณะคหกรรมหรือคณะวิศวคหกรรมอยากจะมีความรู้เรื่องเอสเอ็มอี หรืออยากมีความรู้เรื่องการเงินก็ไปอบรมที่คณะบริหารฯ ขณะเดียวกันคณะบริหารฯอยากจะทำอาหารก็มาอบรมศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านอาหารที่คณะเทคโนโลยีคหกรรม หรืออยากมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับอุตฯการผลิตก็มาอบรมที่คณะวิศวะ

“ฉะนั้นศูนย์บ่มเพาะที่เกิดขึ้นจะเป็นการบ่มเพาะองค์ความรู้ และประสบการณ์ให้นักศึกษาเพิ่มเติมจากที่เขาเรียน ต้องยอมรับนักศึกษาที่จะมาเรียนในสาขาใดสาขาหนึ่งเวลาออกไปทำงานแล้วมันต้องมีประสบการณ์ ความรู้ที่หลากหลาย ฉะนั้นถ้าเราสามารถจะบ่มเพาะองค์ความรู้ บ่มเพาะทัศนคติความเป็นผู้ประกอบการ การเป็นผู้ประกอบการนั้นไม่ใช่จบการศึกษาแล้วเป็นได้ เขาต้องมีจิตใจเป็นผู้ประกอบการก่อน แล้วผมเชื่อว่าลูกที่มีพื้นฐานครอบครัวทำธุรกิจนี่เขามีนะครับ แต่ว่าครูนั้นให้ความรู้จุดประกาย แล้วก็มีวิธีการดำเนินการ”

 วันนี้คณะบริหารธุรกิจโชคดี เด็กที่ออกไปเป็นที่ปรึกษาด้วยในกลุ่ม Start up และ Turn around เด็กเห็นโจทย์ทั้งความสำเร็จและล้มเหลว ผมว่านี่แหละเป็นการเรียนรู้ที่มากกว่าในหลักสูตร สองเด็กไปพบเป็นการจุดประกายให้เขาอยากจะทำธุรกิจ ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ให้ความรู้ทั้งครูและเด็ก เป็นจุดที่ตั้งโจทย์ให้มหาวิทยาลัยกลับมาทำงานวิจัยแล้วต่อยอด แล้วอันที่สามเป็นการจุดประกายนักศึกษาที่อยากจะทำธุรกิจ บางทีนักศึกษาวิศวะกลับเข้าไปทำในโรงงานเมื่อเขาไปแก้ปัญหาสำเร็จ ผมเชื่อว่าบางทีเขามีจุดประกายทำให้เขาอยากทำธุรกิจ ประเทศที่มีเศรษฐกิจโตขึ้นนั้นก็คือ ผลิตกำลังคนส่วนหนึ่งไว้ใช้ กับ ผลิตนักธุรกิจเป็นผู้ประกอบการ นั่นก็คือความยั่งยืนของเศรษฐกิจที่จะหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง ธุรกิจที่โตขึ้นเป็นพี่เลี้ยงน้อง ธุรกิจที่ใหญ่ขนาดเท่า ๆกันจับมือกันไปค้าขายต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าโตไปเป็นคน ๆ แท่ง ๆ ไม่ใช่โตแค่ 20 บริษัทในประเทศยักษ์ใหญ่อยู่ในไทยแล้วโตอยู่ 20 บริษัท มันต้องโตเป็น 2 พัน  2 หมื่น 2 แสน  2 ล้านในอนาคต ผมอยากให้มันเกิดขึ้น

                ส่วนประเด็นเรื่องของงานวิจัย ในแนวนโยบายของรัฐบาลมุ่งที่จะส่งเสริมและต่อยอดในเชิงธุรกิจนั้น สำหรับมทร.ธัญบุรีแล้วอธิการบดีบอกว่า วันนี้ต้องขอบคุณกระทรวงวิทยาศาสตร์ภายใต้ของสวทน.ที่ให้มทร.ธัญบุรีทำ 2 โปรเจ็คใหญ่ ๆ ซึ่งขณะนี้ทำแล้วก็คือโครงการ Talent mobility ก็คือเอาอาจารย์เป็นนักวิจัยไปฝังตัวที่ภาคเอกชน 1 ปี ขณะนี้เราไปแล้ว 5 คนแล้วกำลังจะไปอีก 9 คน รวมเป็น 14 คน เมื่อไปแล้วอาจารย์ก็ไปช่วยทำวิจัยให้กับเอกชน เอกชนจะจ่ายส่วนหนึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจ่ายส่วนหนึ่งให้เป็นค่าจ้างอาจารย์ใหม่ที่มาสอนแทน อาจารย์ไปก็จะนำนักศึกษาไปช่วยด้วย นักศึกษาก็ได้เรียนรู้ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นก็คือว่าอาจารย์ได้ประสบการณ์การเรียนรู้กลับมาทำงานวิจัยต่อยอด อาจารย์เอางานวิจัยตัวเองไปต่อยอดให้บริษัทนั้นพัฒนาสินค้าในการค้าการขายที่โตขึ้น ก็คือโครงการฝังตัวของอาจารย์ หรือโครงการ Talent  mobility 1 โครงการซึ่งเราทำอยู่ แล้วแนวโน้มปรากฏว่า มทร.ธัญบุรีส่งอาจารย์ไปจำนวนมาก ซึ่งเห็นจำนวนอาจารย์มาก ๆก็จะมีพระจอมเกล้าธนบุรี ,มทร.ธัญบุรีที่ส่งไปมาก แล้วแนวโน้มของเราจะเพิ่มขึ้น

                ส่วนโครงการที่ 2 เป็นโครงการความร่วมมือเรียกว่า I tab ก็คือส่วนหนึ่งทางสวทน.จะให้เงินมา แล้วร่วมกับเอกชนโครงการละ 400,000 บาท ก็คือกระทรวงวิทย์ให้ 400,000 บาท เอกชนก็ให้ 400,000 บาท ขณะนี้ขยายไปมากขึ้นกว่า 400,000 บาทแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นคนทำเพื่อตอบโจทย์ให้เอกชนนั้นสามารถเอางานวิจัยไปต่อยอดทำเชิงพาณิชย์ได้ เราทำทั้งหมด 50 โครงการ ขณะนี้เรามีแมทชิ่งแล้วจับคู่ประมาณ 30 โครงการ กำลังจะจับคู่อีก 20 ก็จะเป็นอีกโครงการหนึ่งซึ่งโดยตรงเลย งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้งแน่นอนแล้ว งานวิจัยต้องสู่ออกพาณิชย์ทั้งหมดเลย ถ้าปีนี้ทำไป 50 โครงการแสดงว่ามทร.ธัญบุรีสามารถจะส่งเสริมงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีช่วยภาคเอกชน 50 บริษัท Talent อีก 14  บริษัท ก็จะเห็นว่าวันนี้ความเป็นมืออาชีพของอาจารย์ การเป็นนักธุรกิจซึ่งมาเสียบปลั๊กความรู้ พัฒนาร่วมกันนี่มากขึ้น

“เดิมเรามีแค่ความร่วมมือส่งเด็กไปสหกิจ ดูก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งแต่มันเบาก็คือเอาเด็กไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรืออาจารย์ไปฝังตัว วันนี้ 2 โครงการใหญ่ ๆที่นโยบายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเนี่ยได้ให้อาจารย์ของทุกมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะของมทร.ธัญบุรีนี่เข้าไป ก็จะเห็นว่าวันนี้เราได้ทำอะไรในสิ่งซึ่งเอาวิชาการและวิจัยไปส่งเสริมภาคเอกชน ถ้าเสร็จสิ้นปีนี้ก็คิดว่าอย่างน้อยที่สุดก็ 64 โครงการ”

                อย่างไรก็ตามอธิการบดีประเสริฐยังได้กล่าวถึงมุมมองที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของความต่อเนื่องที่ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยอาจารย์กล่าวว่า “ผมมองว่านี่คือหลุมใหญ่ซึ่งรัฐบาลแต่ละรัฐบาลมาก็จะมีนโยบายที่ดี แต่ว่าสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้เราไปได้ไม่ถึงไหนก็คือความต่อเนื่อง ในลักษณะของรูปแบบ ผมอยากเห็นว่าการต่อเนื่องในที่นี้มี 2 ภาคส่วน ภาคแรกในเชิงนโยบายของรัฐก็อยากให้ต่อเนื่องในสิ่งเหล่านี้คือ 1.การศึกษา จะเป็นการศึกษาซึ่งจะมุ่งทางด้านอาชีวะ 2. พัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ถือว่าเป็นรากเหง้าธุรกิจของคนทั้งประเทศ เรื่องที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

                “ในเมื่อรัฐบาลอาจจะไม่ต่อเนื่องแต่มหาวิทยาลัยต่อเนื่องได้ ก็คือทำยังไงให้อาจารย์นั้นมีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการและวิจัยไปส่งเสริมภาคเอกชน ผมเชื่อว่าอย่างนี้ต่อเนื่องแน่ เพราะวันนี้เมื่อไปแล้วอาจารย์เริ่มชอบ เริ่มสนุกนะครับ แล้วก็นักศึกษาที่ไปก็เริ่มชอบ เริ่มสนุก แล้วก็วันนี้ต้องยอมรับนอกจากมีประสบการณ์ อาจารย์และมหาวิทยาลัยก็มีรายได้ด้วย รายได้ส่วนหนึ่งก็มาจากบริการวิชาการ ในส่วนของมทร.ธัญบุรีภายใต้ตัวผมนี่นะครับผมเชื่อว่าผมจะทำอย่างต่อเนื่อง แล้วก็จะทำให้ไปเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งคนรุ่นหลัง นักบริหารหรืออธิการบดีคนต่อไปก็จะต้องทำในลักษณะของความเชื่อมโยงความรู้งานวิจัยให้ภาคเอสเอ็มอี แล้วก็จะเกิดรายได้แล้วเกิดชื่อเสียง คิดว่าในมหาวิทยาลัยผมทำในรูปแบบของการขับเคลื่อนการดำเนินการช่วยเหลือเอสเอ็มอีเนี่ยต่อเนื่อง โดยที่ให้ทุกคณะต้องทำ เป็นตัวชี้วัดของคณบดีด้วย เป็นตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยด้วย ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งว่าอยากให้ต่อเนื่องแต่ว่าในรั้วมหาวิทยาลัยผมเชื่อว่าขณะนี้เราขับเคลื่อนแบบต่อเนื่อง”

                ตอนท้ายของการสัมภาษณ์ อธิการบดีประเสริฐยังได้กล่าวแสดงความคิดเห็นถึงรัฐบาลว่า ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และได้เห็นความสำคัญซึ่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นสามารถมีศักยภาพที่จะส่งเสริม วันนี้ต้องยอมรับว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะมทร.ธัญบุรีได้ทำงานสนองนโยบายกับรัฐบาลหลายเรื่อง จะเรื่องของ Start up Turn around ในกลุ่มของการพัฒนาครูอาชีวะ แล้วก็ในกลุ่มของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเนี่ย โครงการ Talent mobility โครงการ I tab ก็จะมีหลายส่วนซึ่งเราได้ตอบสนองงาน ก็เชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยที่เป็นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หรือสายสังคมราชภัฎ เป็นข้อต่อในความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทุกมหาวิทยาลัย แล้วก็เป็นข้อต่อในการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศได้ทุกมหาวิทยาลัย อยากให้กำลังใจรัฐบาลในการดำเนินการ ซึ่งในระยะต่อไปผมเชื่อว่าทำยังไงให้มหาวิทยาลัยนั้นเป็นที่พึ่งทั้งการแก้ปัญหาและความสำเร็จให้กับภาคเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

ที่มา : thaiquote