“ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ”เพื่อความอยู่ดีของคนไทย

by ThaiQuote, 12 สิงหาคม 2561

พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๒   พระราชดำริในการก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ นั้น มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งตามเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงเห็นชาวบ้านนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่กันเป็นส่วนใหญ่ จึงทรงเล็งเห็นว่าชาวบ้านมีฝีมือในงานหัตถกรรมอยู่แล้ว จึงมีพระราชดำริส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวบ้าน เพื่อได้มีรายได้ทดแทนกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรต้องเสียหาย ไม่ได้ผล อันเนื่องจากภัยธรรมชาติ ในช่วงแรกสมเด็จพระบรมราชินีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านทอผ้าไหมมัดหมี่ แล้วทรงรับซื้อเอาไว้ เป็นการสนับสนุน ฟื้นฟู และพัฒนาฝีมือการทอในเบื้องต้น   ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ”ขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๙ เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ราษฎร ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยไว้เป็นมรดกของปวงชนชาวไทยสืบไป ผู้ถวายนามคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก โดย ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ รองราชเลขาธิการ ได้คิดชื่อภาษาอังกฤษถวายว่า "The Foundation For the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques under the Royal Patronage of Her Majesty the Queen" มีชื่อย่อว่า SUPPORT และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับเป็นประธานกรรมการบริหารของมูลนิธิโดยมีสำนักงานของมูลนิธิที่สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานทุนเริ่มแรกจำนวนหนึ่งล้านบาทถ้วน ศูนย์กลางงานศิลปาชีพนั้นได้ดำเนินการจัดตั้ง “โรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา” ขึ้น เมื่อปี ๒๕๒๒ และได้พัฒนาการดำเนินการอย่างก้าวหน้า ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นล้วนเป็นงานประณีตศิลป์ขั้นสูง มีความงดงามถึงระดับ “ฝีมือช่างหลวง” หรือ “ช่างแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ได้แก่ ช่างถมทอง ช่างเครื่องเงินเครื่องทอง ช่างคร่า ช่างลงยาสี ช่างปักฝ้า ช่างแกะสลักไม้ ช่างเขียนลาย และช่างทอผ้า นับเป็น “งานศิลป์ของแผ่นดิน” อย่างแท้จริง โดยในปี ๒๕๕๓ โรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ได้ยกสถานะขึ้นเป็น “สถาบันสิริกิติ์”เมื่องานศิลปาชีพ มีผลิตภัณฑ์และผลงานเป็นที่ประจักษ์ จึงได้ทรงพระกรุณาฯ จัดตั้ง “ร้านจิตรลดา” เพื่อจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เป็นการถาวร ปัจจุบันร้านจิตรลดามีจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ สาขา   สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงขยายงานศิลปาชีพไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบันมีศูนย์ศิลปาชีพ จำนวน ๑๔๑ แห่ง ตัวอย่างเช่น   “โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด” ตำบลเกาะเกิด อำเภอปางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมในทุกภาค   “ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร” อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้มีการประกอบอาชีพอย่างผสมผสานทั้งอาชีพทางการเกษตร และการผลิตสินค้าประเภทศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การแกะสลัก จักสาน การทำตุ๊กตา การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำเครื่องเรือน การทอผ้า การเชื่อม และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น   “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม” อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร มีการเรียนการสอนหลายแผนกเช่น ผลิตศิลปหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม มีห้องแสดงการปั้นเขียนสี แสดงผลิตภัณฑ์ ฝีมือในการผลิต ออกแบบสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านบ้านทรายทอง” ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม งานผ้าปัก งานจักสาน งานทำผลิตภัณฑ์จากปีกแมลงทับ   “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม” อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร มีการเรียนการสอนหลายแผนก เช่น ผลิตศิลปหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม มีห้องแสดงการปั้นเขียนสี แสดงผลิตภัณฑ์ ฝีมือในการผลิต ออกแบบสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว   “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านบ้านทรายทอง” ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ส่งเสริมอาชีพ ทอผ้าไหม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม งานผ้าปัก งานจักสาน งานท าผลิตภัณฑ์จากปีกแมลงทับ   “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ตำ” ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง มีการเรียนการสอนหลายแผนก เช่น งานแกะสลัก งานจักสาน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการจักสานไม้ไผ่ เป็นต้น   “ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ” อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการฝึกสอนอาชีพ เช่น จักสานหวาย จักสานไม้ไผ่ ทอผ้าไหม ตัดเย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาชาวเขา ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องหนัง และของชำร่วย   “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ” อำเภอเชียรใหญ่จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด ๕๓๙ คน และมีการแบ่งงานออกเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มทอผ้า กลุ่มแปรรูปกระจูด กลุ่มปักผ้าด้วยมือ กลุ่มถักโคเชร์   “ศูนย์ศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผา พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์” ขึ้นที่บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส วิชาที่สอน เช่น เครื่องปั้นดินเผา แกะสลัก ย่านลิเภา ปักผ้า เป็นต้น ประโยชน์ของโครงการ ๑.            ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีทางเลือกในการประกอบอาชีพหัตถกรรมแขนงต่าง ๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น ๒.            ฟื้นฟู ธำรงรักษา ส่งเสริม และสร้างช่างฝีมือในงานด้านหัตถกรรมไทยให้พัฒนาและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพให้มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ๓.            ทำให้ราษฎรมีความรู้ในการประกอบอาชีพภาคเกษตรโดยเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เกิดความรู้ ความเข้าใจสามารถนำ ไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔.            ทำให้ป่าไม้และสัตว์ป่าเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลในการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและทรัพยากรธรรมชาติ   ปัจจุบันนี้โครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชการที่ ๙ ได้เติบโตแผ่ไพศาล พัฒนาจากจุดเริ่มต้นมาอย่างยาวไกล รายได้จากชนบทส่วนหนึ่งกลายเป็นสินค้าชั้นดีส่งออกไปต่างประเทศ จากข้อมูลของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ด้านศิลปาชีพของไทยมียอดการส่งออกเมื่อปี ๒๕๖๐ ถึง ๕๘,๒๑๙ ล้านบาท ส่วนในปีนี้ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามียอด ๒๐,๓๘๖ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๒๑   นอกเหนือการเติบโตจนกลายเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศแล้ว ที่สำคัญไปกว่านั้นยอดการบริโภคภายในประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ งานศิลปหัตถกรรมของชาวบ้านได้เป็นทั้งรายได้หลัก และรายได้เสริมให้กับชาวบ้านสมดังพระประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ตั้งแต่ทรงเริ่มทรงตั้งปณิธาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเพื่อปวงชนชาวไทยมีความกินดีอยู่ดีทั้งสิ้น   ขอขอบคุณภาพจาก :ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ บางไทร