รำลึก 28 ปี การจากไป ของนักต้อสู้เพื่อป่า สืบ นาคะเสถียร

by ThaiQuote, 1 กันยายน 2561

เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 มีเสียงปืนดังขึ้นจากบ้านพักของสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งด้วย จนช่วงก่อนเที่ยง ได้มีเจ้าหน้าที่ของกรมฯ เข้าไปดู ซึ่งก่อนหน้าเข้าใจว่าสืบไม่สบาย และเมื่อเข้าไปพบร่างของสืบนอนตะแคงข้างห่มผ้าเรียบร้อย พอเข้าไปใกล้จึงได้เห็นอาวุธปืนตกอยู่ข้างๆ และเห็นบาดแผลที่ศีรษะด้านขวา สืบได้จบชีวิตลงอย่างเตรียมตัวและพร้อมอย่างสงบ สืบมีชื่อเดิมว่า “สืบยศ” มีชื่อเล่นว่า “แดง” เกิดที่ตำบลท่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายสลับ นาคะเสถียร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กับนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมดสามคน ตนเองเป็นคนโต ได้แก่ กอบกิจ นาคะเสถียร เป็นน้องชายคนกลาง และกัลยา รักษาสิริกุล เป็นน้องสาวคนสุดท้อง โดยสืบมีบุตรสาวหนึ่งคน คือ ชินรัตน์ นาคะเสถียร การศึกษา และการงาน สืบศึกษาระดับประถมตอนต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี มีผลการเรียนดี เมื่อว่างเรียนก็ช่วยเหลือครอบครัวทำไร่ไถนา หลังจบ ป.4 ได้เรียนต่อที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้นจบม.5 เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2514 และได้เข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติจนถึงปี พ.ศ. 2517 พร้อมกับได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาวิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อสำเร็จปริญญาโท สืบเข้ารับราชการเป็นพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ขณะนั้นกองอนุรักษ์สัตว์ป่าเพิ่งก่อตั้งขึ้น และสืบเลือกหน่วยงานนี้เพราะต้องการงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า งานแรกของสืบคือการประจำอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ณ ที่นั้น สืบได้ทราบว่ามีผู้ทรงอิทธิพลบุกรุกทำลายป่าเป็นจำนวนมาก ต่อมาปี พ.ศ. 2522 สืบได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิล สาขาอนุรักษวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2524 แล้วกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ ในปี พ.ศ. 2526 สืบขอย้ายไปเป็นนักวิชาการประจำกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว ในระยะนี้ สืบได้ทำงานทางวิชาการอันเป็นที่รักของเขาอย่างเต็มที่ จึงผูกพันกับสัตว์ และป่า สืบยังริเริ่มใช้เครื่องมือสมัยใหม่บันทึกการวิจัย ข้อมูลของสืบกลายเป็นผลงานวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งในภายหลัง เช่น สไลด์ภาพสัตว์ป่าหายาก กับทั้งวีดิทัศน์ความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าและการทำลายป่าในประเทศไทย ทีสืบผลิตขึ้นเองทั้งสิ้น การทำงานที่แก่งเชี่ยวหลาน สืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่มากกว่าหนึ่งแสนไร่ แต่มีงบประมาณเริ่มต้นเพียงแปดแสนบาท แต่สืบมิได้ย่อท้อคงพยายามทำงาน และศึกษาข้อมูลทั้งทางหนังสือและพรานท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2528 สืบได้ติดตามนักวิจัยชาวต่างชาติ พร้อมด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าไปสำรวจกวางผา สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้น ชาวบ้านจุดไฟล่าสัตว์จนเกิดไฟป่า คณะของสืบหนีไฟป่าเป็นโกลาหล และคำนึง ณ สงขลา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ตกหน้าผาถึงแก่ความตาย ปี พ.ศ. 2529 สืบได้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) บริเวณแก่งเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพราะปัญหาการสร้างเขื่อนจนเกิดน้ำท่วม ช่วยเหลือสัตว์ได้ 1,364 ตัว ส่วนที่เหลือถึงแก่ความตาย สืบจึงเข้าใจว่า งานวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยพิทักษ์ป่าซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติได้ ระหว่างนั้น สืบได้เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานีอีกตำแหน่ง และปี พ.ศ. 2530 ได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดงในจังหวัดนราธิวาสด้วย การทำงานที่ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2531 สืบกลับเข้ารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า และพยายามเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลกเพื่อเป็นหลักประกันว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวจะได้รับการพิทักษ์รักษาถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ และได้เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งด้วย และปี พ.ศ. 2533 สืบจึงตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้ง และทุ่งใหญ่นเรศวร และได้ดำเนินกิจกรรมหลายประการเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และอพยพสัตว์ป่าที่ยังตกค้างอยู่ในแก่งเชี่ยวหลาน ผลงานวิชาการของสืบ การวางไข่ของนกบางชนิดที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ. 2524 รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ. 2526 รายงานผลการวิจัย วางแผนขั้นรายละเอียดสำหรับ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้และ การจัดการป่าไม้บริเวณ พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2527 การศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่าในบริเวณโครงการศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพานตามพระราชดำริ พ.ศ. 2528 นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง พ.ศ. 2529 รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาษ พ.ศ. 2529 เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ พ.ศ. 2529 สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และ จังหวัดตาก กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 โดย สืบ นาค เสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์, ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส การอพยพสัตว์ป่า ในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า พ.ศ. 2532 วิเคราะห์ความเหมาะสมจากรายงาน และแผนการแก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในโกาสครอบรอบ 28 ปี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ได้จัดรำลึก 28 ปี สืบ นาคะเสถียร วันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2561 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยมีรายละเอียด คือ วันที่ 1 กัยยายย เวลา 08.00-12.00 น. – แขกผู้มีเกียรติลงทะเบียนร่วมงาน และลงทะเบียนร่วมกิจกรรมศึกษาธรรมชาติ – ชมนิทรรศการ รำลึก 28 ปี สืบ นาคะเสถียร และเชิญร่วมกิจกรรม “สำรวจธรรมชาติ ตมรอยนักอนุรักษ์” ผ่านการเรียนรู้กิจกรรมธรรมชาติ และพื้นที่จัดการเพื่อสัตว์ป่า ได้แก่ กิจกรรมเดินศึกษาธรรมชาติเส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหินแดง กิจกรรมเดินศึกษาธรรมชาติเส้นทางศึกษาธรรมชาติบ้านของเสือและเขาภักดี กิจกรรมเดินศึกษาธรรมชาติเส้นทางศึกษาธรรมชาติอาณาจักรนกหัวขวาน เวลา 07.00-08.00 น. – ทำบุญเลี้ยงพระ ถวายสังฆทาน ณ อาคารอนุสรณ์สถานสืบนาคะเสถียร เวลา 08.00-09.00 น. – พิธีมอบทุนการศึกษา “ทุนสืบเจตนาอนุรักษ์ป่าห้วยขาแข้ง” แก่บุตรเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายอนุรักษ์เสือโคร่ง เวลา 09.00-10.00 น. – พิธีวางพวงหรีด รำลึก สืบ นาคะเสถียร ณ บริเวณรูปปั้นสืบ นาคะเสถียร ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมงานรำลึกระหว่างวันที่ 31 สิงหาคมถึง 1 กันยายน โดยมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้ – ฟรีค่าธรรมเนียมเช้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (ในวันที่ระบุ) – ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม – สามารถกางเต้นท์ในบริเวณลานกางเต้นท์ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจัดไว้ให้ – ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งไม่มีเต้นท์ให้เช่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องการค้างแรมในเขตฯ จะต้องเตรียมเต้นท์หรือเปลมาเอง – สามารถประกอบอาหารได้ (เตรียมอุปกรณ์มาเอง) และขอความร่วมมืองดนำกล่องโฟม หรือพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เข้ามาภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง – ห้ามนำสิ่งของมึนเมาเข้ามายังพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า – ไม่ส่งเสียงดัง อันจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า – ขยายเวลาเข้า-ออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 22.00 น. (ปกติ 08.00 – 17.00 น.) เพื่อให้ผู้ร่วมงานที่ไม่ได้พักในเขตฯ สามารถอยู่ร่วมกิจกรรมจุดเทียนรำลึก และเดินทางออกไปยังที่พักได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หมายเลขโทรศัพท์ 087-840-0316