ลดปัญหาขอทานเมืองกรุง เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

by ThaiQuote, 7 กันยายน 2561

บายไลน์ วรกร เข็มทองวงศ์ ปัญหาเรื่องขอทาน  เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะแก้ไข แต่ดูเหมือนว่า คนที่ทำการขอทานก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ลดน้อยลงไป พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 มุ่งเน้นการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทําการขอทาน  การควบคุมการขอทาน และแยกผู้แสดงความสามารถออกจากการเป็นผู้ทําการขอทาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสังคมและคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อีกทั้งสมควรกําหนดความผิด ทางอาญาแก่ผู้ซึ่งหาประโยชน์จากความไม่สมประกอบทางร่างกาย ความอ่อนด้อยทางสติปัญญาหรือ สภาพจิตใจของบุคคลอื่น การดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559  กระทรวง พม. ได้ดำเนินงาน ตามนโยบาย 3 p ดังนี้   1.   ด้านการขับเคลื่อนนโยบาย (Policy) โดยผ่านกลไกคณะกรรมการ 3 ระดับ คือ ​- คณะกรรมการ ควบคุมการขอทาน -  คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรการกลไก เพื่อการควบคุม คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทาน - คณะอนุกรรมการควบคุมการขอทานจังหวัด 76 จังหวัด ​2.ด้านการป้องกัน (prevention) ได้แก่ ​ - โครงการสถานีสวัสดิการ (จัดหน่วยเคลื่อนที่เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน) ​ - โครงการตำบลต้นแบบห่วงใยไม่ทอดทิ้งกัน (เสริมพลังทางสังคม เพื่อชี้เป้าเฝ้าระวัง มีส่วนร่วมในการจัดบริการสวัสดิการสังคม) ​ - การจัดทำความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาระบบคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและขอทานในชุมชนกับ เทศบาลนครทั่วประเทศ จานวน 30 แห่ง และเมืองพัทยา รวมเป็น 31 แห่ง ​ - การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ผ่านช่องทางต่างๆ ​ -  การจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน ​ 3. ด้านการคุ้มครอง (Protection) ได้แก่ ​- การจัดบริการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ​- โครงการธัญบุรี model ​- โครงการบ้านน้อยในนิคม ​-  การขึ้นทะเบียน และพัฒนาศักยภาพผู้แสดงความสามารถ ปัจจุบันมีผู้แสดงความสามารถขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 3,466 คน จากการดำเนินงานด้วยความมุ่งมั่น และการบูรณาการร่วมกันจากหลากหลายภาคส่วน ทำให้สถิติ ผู้ทำการขอทานลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย  ปี 2558 มีผู้ทำการขอทาน จำนวน 2,187 ราย แบ่งเป็น ขอทานไทย จำนวน 1,467 ราย และขอทานต่างด้าว จำนวน 719 ราย    ปี 2559 มีผู้ทำการขอทาน จำนวน 1,292 ราย แบ่งเป็น ขอทานไทย จำนวน 710 ราย ขอทานต่างด้าว จำนวน 582 ราย    ปี 2560 มีผู้ทำการขอทาน จำนวน 1,194 ราย แบ่งเป็น ขอทานไทย จำนวน 755  ราย ขอทานต่างด้าว จำนวน 439 ราย  และปี 2561 มีผู้ทำการขอทาน จำนวน 380 ราย แบ่งเป็น ขอทานไทย จำนวน 225 ราย ขอทานต่างด้าว จำนวน 155 ราย ทั้งนี้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ดำเนินการส่งคืนครอบครัว (หลังลงบันทึกจับกุม/ปรับ) จำนวน 1,750 ราย เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต (ตาม ม.16) จำนวน 1,334 รายกรณีขอทานต่างด้าว ได้ประสานตำรวจดำเนินการส่ง ตม. และผลักดันส่งกลับประเทศต้นทาง จำนวน 1,847 ราย การขับเคลื่อนงานด้านการควบคุมขอทาน จำเป็นต้องขับเคลื่อนงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน โดยตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2562 พม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีทิศทางการขับเคลื่อนงานที่มีความชัดเจนมากขึ้น ผ่านแผนการขับเคลื่อนการควบคุมการขอทาน ฉบับที่ 1 พ.ศ.2562-2564 ทั้งด้านป้องกันและบังคับใช้กฎหมาย การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต การผสานพลังภาคีเครือข่าย การสร้างการตระหนักรู้และสื่อสารสังคมเพื่อลดการขอทาน และการเพิ่มประสิทธิภาพและระบบกลไกการทํางาน เพื่อมุ่งสู่ “สังคมลดขอทาน บนพื้นฐานความร่วมมือ” โดยมีหน่วยงานร่วมบูรณาการ ได้แก่ ส่วนราชการสังกัดกระทรวง พม., สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงวัฒนธรรม, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, กรมสุขภาพจิต, กรมควบคุมโรค, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน,กรมจัดหางาน,กรมการแพทย์,กรมการปกครอง,กรมประชาสัมพันธ์,สถาบันการศึกษา,และ NGOs   โดยในวันที่ 24 กันยายน 2561 พม.ได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดรณรงค์ “สังคมลดขอทาน บนพื้นฐานความร่วมมือ”  ตั้งแต่ เวลา 16.00 น.  และมีกิจกรรมปล่อยขบวนเพื่อรณรงค์พร้อมกัน 77 จังหวัด