วางแผนออมเงินก่อนเกษียณอายุ พึ่งพาตนเองไม่เบียดเบียนใคร

by ThaiQuote, 22 ตุลาคม 2561

ดังนั้น บทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับวิธีการออมเงิน ว่ามีประโยชน์อย่างไรกับตัวเราเองบ้าง ทำไมถึงต้องออมเงิน? แม้เงินที่เราได้รับมาในแต่ละเดือน จะต้องเสียไปกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าทีพัก, ค่าโทรศัพท์ ,ค่าอาหาร ฯลฯ แล้ว แต่ควรเจียดเงินไว้สำหรับการออม เพราะหากมองกันในระยะยาวเงินที่ออมเหล่านี้จะสามารถช่วยให้คุณใช้ชีวิตในยามแก่ชราอย่างไม่ต้องเป็นภาระใครเลย ยกตัวอย่างเช่น หากคนๆ นึงออมเงินในแต่ละเดือนจำนวน 5,000 บาท ตั้งแต่อายุ 25 ปี เมื่อถึงอายุ 60 เขาจะมีเงินเก็บถึง 300,000 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ยของธนาคาร) จะออมเงินเท่าไรดี? การออมเงินถือว่าทำได้ง่ายมาก ถึงแม้จะมีความซับซ้อน แต่ก็สามารถเริ่มต้นทำได้ เริ่มจากออมเงิน 15% จากรายได้ในแต่ละเดือนของคุณ ซึ่งในที่นี้ไม่รวมทรัพย์สินอื่นๆ ที่จะได้หลังเกษียณอายุจากนายจ้าง เช่น เงินบำเหน็จ บำนาญ ประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งหากคุณมีวินัยออมเงินอยู่เป็นประจำ ในทุกๆ เดือน คุณก็บรรลุเป้าหมายมีเงินใช้สำหรับหลังเกษียณอายุแล้ว อีกทั้ง เรายังสามารถทำให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยการนำเงินส่วนหนึ่งลงทุนในกองทุนรวมของสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นทางเลือกการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเป็นธรรมดา ดังนั้น ก็ควรศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะหาแหล่งเงินหลังเกษียณได้ที่ไหน? อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่านอกจากเงินออม เรายังมีรายได้จากแหล่งอื่นๆ อีก ที่สามารถให้เงินในแต่ละเดือน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • กองทุนประกันสังคม หากเรามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนเป็นระยะเวลา 15 ปี เมื่อถึงอายุ 55 ปี ก็จะได้เงินบำนาญชราภาพ เดือนละประมาณ 3,000 บาท โดยคิดจากเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ตามข้อกำหนดของ กองทุน นอกจากนี้ หากเราจ่ายเงินเข้ากองทุนเป็นเงินเกิน 15 ปี จะได้โบนัสอีกปีละ 5%
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กรณีเป็นข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับเงินบำนาญ (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณกับอายุราชการ หารกับ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หากเป็นเงินบำเหน็จ (เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณกับอายุราชการ ตามเงื่อนไขทางราชการ
  • กองทุนสำรองชีพ สำหรับลูกจ้าง และนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน หากเริ่มทำงาน และสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

จะเห็นได้ว่า การออมเงินถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น และมีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อถึงวันที่เราต้องเกษียณอายุ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราไม่สามารถบังคับใครได้ นอกจากการมองภาพวันข้างหน้าว่าเราอยากมีชีวิตในบั้นปลายแบบไหน