มีปัญหาเยอะ! อย.ขอถอนร่าง พ.ร.บ.ยาออกจากครม.

by ThaiQuote, 25 ตุลาคม 2561

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกล สัตยาทร มีการทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอถอนร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....ฉบับเสนอ ครม.ออกมาก่อนว่า ร่าง พ.ร.บ.ยาดังกล่าวยังมีความที่ไม่ตรงกันอีกมาก อย.ได้มีการทบทวนแล้ว จึงได้มีการ พิจารณาขอถอนออกมาจาก ครม.ทั้งฉบับ เลื่อนออกมาก่อนเพื่อนำมาทบทวนอีกครั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี และจะมีการทำความเข้าใจกับภาคส่วนต่างๆ ซึ่งก็จะได้มีการนัดหมายกับภาคส่วนเพื่อมาคุยกัน โดยคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทุกคนทำงานเพื่อประเทศก็น่าจะมีการ มาคุยกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของความมั่นคงทางยาของประเทศต่อไป

          

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....ของกระทรวงสาธารณสุข โดย อย.สืบเนื่องจากร่างฉบับแรกมีการระบุจะเพิ่มให้วิชาชีพพยาบาลสามารถจ่ายยาได้ จากเดิมมีการกำหนดไว้ใน 3 วิชาชีพ คือ แพทย์ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ ซึ่งปรากฏว่าได้รับการคัดค้านจากกลุ่ม เภสัช ที่ต้องการคงไว้เพียง 3 วิชาชีพ นอกจากนี้ ในเรื่องประเภทยา กลุ่มเภสัชยังได้เสนอให้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และยาสามัญประจำบ้าน ตามหลักสากลซึ่งหลังจากมีการหารือร่วมกับวิชาชีพเภสัชกรและพยาบาล ก็ได้มีข้อสรุปให้คงวิชาชีพจ่ายยา 3 วิชาชีพไว้ตามเดิม ตามข้อเสนอของกลุ่มเภสัชกร และแบ่งประเภทยาเป็น 3 ประเภท

          

นอกจากนี้ยังมีกระแสคัดค้านในประเด็นเรื่องร้านขายยา ซึ่งในร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ได้มีการ กำหนดว่าไม่ต้องมีเภสัชกรประจำร้านยา ทำให้กลุ่มเภสัชกรเกิดข้อกังวลว่าจะเป็นการเอื้อให้ร้านสะดวกซื้อขายยาได้ โดยไม่ต้องมีเภสัชกรประจำร้าน ขณะที่ใน พ.ร.บ.เดิมยังกำหนดให้ร้านประ เภท ขย.2 ที่ไม่ต้องมีเภสัชกรประจำ ก็ได้มีกำหนดว่า สามารถดำเนินการไปต่อได้ จนกว่าผู้จดแจ้งจะเสียชีวิต เพื่อค่อยๆ ลดจำนวนร้านขายยา ขย.2 ดังกล่าวลง

          

ทั้งนี้ ภายหลังจากมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ....ฉบับเสนอ ครม.ก็เกิดข้อกังวลจากวิชา ชีพเภสัชกร ในมาตรา 24 (3) ที่ ระบุว่า ผู้ที่ผ่านการอบรมโดย อย. สามารถขายปลีกยาแผนปัจจุบันที่ ไม่ใช่ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร หรือยา ตามใบสั่งยาได้ ว่าผู้ผ่านการอบรม คือใคร จะเป็นการเอื้อให้เกิดร้าน ขย.2 ขึ้นอีกหรือไม่ ต้องการให้ตัดข้อความดังกล่าวออกไป พร้อมทั้งขอให้ตัดมาตรา 117 ที่อาจเป็น การเปิดกว้าง และซ้ำซ้อนให้วิชาชีพอื่นนอกเหนือจาก 3 วิชาชีพที่มีคลินิกเอกชนสามารถจ่ายยาอันตรายได้ออกไปด้วย ซึ่งภายหลังจากทำความเข้าใจ อย.ได้ออกมา แถลงข่าวว่าเป็นการตีความกฎหมายต่างกัน แต่มีเจตนาเดียวกันเพื่อประโยชน์ของประชาชน ซึ่งหลังจากนั้นทาง รมว.สธ.ได้มีการทำหนังสือขอการถอนร่างฉบับเสนอ ครม.ออกมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปอีกครั้ง

          

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมายังมีกระแสคัดค้านในประเด็นอื่นๆ จากกลุ่มเภสัชกร ในภูมิภาคทั้งภาคใต้และเภสัชในขอนแก่น ที่แสดงความไม่เห็นด้วยในร่าง พ.ร.บ.ยาดังกล่าว และมองว่าร่างกฎหมายยาฉบับนี้ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาหลายครั้ง.