“ดร.ชาญกฤช เดชวิทักษ์” เมื่อ maiA พร้อมโดดอุ้ม SME

by ThaiQuote, 25 พฤศจิกายน 2561

 

maiA กับแนวคิดการช่วยเหลือ SME สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (maiA)   เราเป็น SME Role Model หรือเป็นธุรกิจต้นแบบในกับ SMEs อื่นๆ ซึ่งเราเคยผ่านร้อนผ่านหนาวล้มลุกคลุกคลาน และสามารถนำพาธุรกิจเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ maiA ได้สำเร็จ กว่า 155 บริษัท บริษัทเหล่านี้กว่าจะเข้าสู่ maiA จะต้องผ่านหลักเกณฑ์  1.การมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้าน 2. อย่างน้อยต้องมีผลประกอบการ 2 ปี ที่เป็นบวกต่อเนื่อง โดยปีแรกต้องมีผลกำไรไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน โดยใน 155 บริษัทจะแบ่งเป็น 8 ประเภทธุรกิจด้วยกัน ซึ่งเหล่านี้คือผู้ประกอบการตัวจริง มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากมีเคมีตรงกัน

วิสัยทัศน์ตรงกันต่อสามารถตั้งบริษัทร่วมกันเป็นบริษัทลูก เป็นพันธมิตรร่วมสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นได้ แหล่งเงินทุนคือปัญหาหลักของ SME ที่ผ่านมานี่คือ ปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการ ขณะที่กระแสของการใช้ “บัญชีเดียว” กำลังจะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่นาน คือ 1 ม.ค.62 ซึ่งการที่สมาคมฯได้คลุกคลี กับกลุ่ม SME , Startup หรือกลุ่ม Social Enterprise (SE) จึงรู้ว่าแหล่งเงินทุนคือปัญหาสำคัญ เราจึงต้องการจัดกิจกรรม CSR ขึ้นมานามของสมาคมฯ โดยมีพันธมิตรอย่าง SME Development Bank (ธพว.), ธ.ไทยพาณิชย์ , สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และ บสย. ซึ่งพันธมิตรเหล่านี้จะมีจุดแข็งในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับ SME เข้ามาช่วยให้ความรู้

เพื่อให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ กิจกรรมนี้จะช่วยตอบโจทย์ SME อย่างไร ปัจจุบันอัตราจากอยู่รอด SME อยู่ในภาวะที่ต่ำ แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบหน้าใหม่จะอยู่รอดได้ ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีที่ปรึกษา กิจกรรมที่จะตอบโจทย์ความยั่งยืนของธุรกิจ เพื่อเข้ามาเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ประกอบด้วยปัจจัย อย่างมุมมองทางการตลาด Connection ทางการตลาด เราจะช่วยส่งเสริมให้เขาตอบโจทย์ความยั่งยืน และทาง maiA พร้อมที่จะจัดกิจกรรมเหล่านี้ต่อเนื่อง โดยมีเป้าประสงค์ให้เป็นโครงการสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ในบทบาทของการเป็น Bigbrother เข้าไปช่วยฟูมฟักองค์กรให้เกิดความแข็งแกร่ง สามารถจะทำให้เดินเข้าสู่การเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ maiA ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่ผมอยากให้เกิดขึ้น โดยอาจมีการจัดตั้งเป็นสถาบันสำหรับผู้ประกอบการใหม่ในอนาคต ซึ่งรูปแบบจะต้องเป็น “มหาลัย’ชีวิต”

โดยผู้ประกอบการตัวจริงมาสอนทักษะแบบพี่สอนน้อง หรือการโค้ชชิ่ง สอนจุดแข็งที่หลายคนเคยผ่านมาแล้วให้ได้เรียนรู้ และเรียนลัด ก้าวแรกของ SME ในการอยู่รอด จากประสบการณ์ของผมที่คลุกคลีอยู่กับผู้ประกอบการ SME พบว่าส่วนใหญ่จะมองธุรกิจของตัวเองในมิติเดียว มีความเชื่อมั่นว่าสินค้าหรือบริหารของตนเองดีที่สุด แต่ความจริงเมื่อคนภายนอกมองเข้ามา เราจะเปรียบเสมือนกระจกที่จะสะท้อนให้เขาเห็นจุดอ่อนที่แท้จริงของเขา ทุกแผนทุกกลยุทธ์จำเป็นต้องมีแผนสำรอง โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่เป็นเชิงลบทำให้ธุรกิจเดินต่อไปไม่ได้

แต่หากเขามีที่ปรึกษา พี่เลี้ยงที่ดี จะสามารถเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อให้เกิดการพัฒนา และสร้างความยั่งยืนได้ บริษัทใหญ่จะเข้าใจปัญหาของ คนตัวเล็กได้อย่างไร เราคือพวกคุณมาก่อน แต่เราเรียนรู้ เราเคยล้มเหลว แต่เราปรับตัวทัน และสามารถสร้างโอกาสขึ้นมาประสบความสำเร็จ ตัดสินใจที่จะไม่อยู่ใต้ดิน เรามีวิธีคิดว่าหากจะเติบโตมากขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่นั้นจำเป็นต้องเข้าระบบเศรษฐกิจของประเทศ ต้องเข้ามาใช้เครื่องมือทางการเงินในการระดมทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ maiA คือสิ่งที่ตอบโจทย์ โดยก่อนที่เราจะเข้าตลาดเราคือบริษัทเล็กๆ เช่นเดียวกัน ต้องอย่าไปกลัวกับการเข้าสู่ระบบ

เพราะการเข้าสู่ระบบนั่นหมายถึงการเปิดประตูโอกาสให้กับธุรกิจของเราเอง นี่คือส่วนหนึ่งของการพูดคุยกับนายกสมาคม maiA โดยหากผู้ประบกอบการ คนตัวเล็ก สนใจสามารถร่วมรับฟังแนวคิดของวิทยากรแต่ละท่านได้ในการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “เครื่องมือทางการเงินสำหรับ SME เสริมศักยภาพและโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ในวันที่ 30 พ.ย.61 เวลา 09.00-16.00 น. ณ หอประชุม ศ.สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย