สะท้อนความเห็นกรณี ‘ช่อง3’ นักวิชาการดังชี้ ‘เดินนโยบายผิดแต่แรก’

by ThaiQuote, 3 ธันวาคม 2561

ยังมีอีกหลายช่องเตรียมปลดคนแบบช่อง 3 !! อ.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์  คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แสดงความเห็นกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ว่า  จากข่าวสารที่ทราบในตอนนี้ มีหลายสำนักข่าวที่มีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายที่ใกล้เคียงกับช่อง 3 ทั้งการให้ออกพร้อมจ่ายเงินชดเชยแบบที่เกิดขึ้น หรือบางช่องอาจจะใช้วิธีการสมัครใจออก โดยให้เงินค่าตอบแทนในการสมัครใจลาออกต่างๆ เพราะต้นทุนบุคลากร เป็นต้นทุนที่มีมูลค่าสูง รองลงมาจากต้นทุนการประมูลช่องดิจิตอล ‘ ตอนนี้ สภาพของสื่อฯ โดยเฉพาะสื่อทีวีดิจิตอลนั้น ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคนั้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จากการติดตามในแพลทฟอร์มเดิมๆอย่างทีวี มาดูผ่านออนไลน์ โดยเฉพาะในส่วนของ OTT ( (Over-the-top ) คือ บริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเองถือเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน)   ยูทูปหรือกรุ๊ปไลน์ จะมีบทบาทมากขึ้น รวมทั้งรายได้โฆษณาที่เข้ามาสู่ทีวีดิจิตอล ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์กันไว้ ปริมาณเม็ดเงินลดลงเรื่อยๆ และกระจายไปสู่สื่ออื่นๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิตอลมากขึ้น ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการนั้นแบกรับมาก การลดต้นทุนที่จะนำมาใช้จึงมักจะเป็นเรื่องของบุคลากร ชี้ผลจากการเดินนโยบายผิด! อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงทิศทางการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดนั้น อ.มานะ สะท้อนว่า ก็สามารถมองได้เป็นส่วนหนึ่ง รวมทั้งประกอบไปกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ในการที่ประมูลช่องทีวีดิจิตอลในตอนนั้น มีจำนวนมากและเงินในการประมูลที่สูงอย่างมาก  ซึ่งเป็นการมองบริบทของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น แต่พอหลายปีที่ผ่านมามันเปลี่ยนไปเยอะ เลยทำให้เกิดปัญหา แม้รัฐบาลจะช่วยเหลือด้วยการให้ชะลอการจ่ายค่าสัมปทาน แต่ด้วยต้นทุนที่สูงทำให้ผู้ประกอบการที่มีหลายช่องแบกรับไม่ไหว       ขอปฏิบัติกับพนักงานตามกฏหมาย นายเทพชัย หย่อง ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน  กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องมองเป็น 2 ประเด็น  ส่วนแรกคือธุรกิจ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับตัวเองลงอย่างมาก และต้องมั่นใจว่า การปฏิบัติต่อพนักงานนั้นต้องเป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน ตอนนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรสื่อ รูปแบบการทำธุรกิจก็ถูกสั่นสะเทือนด้วยอินเตอร์เนต  สุดท้ายแล้วทุกองค์กรต้องปรับตัว และหันไปทำสื่อที่ตอบสนองที่ใช้เครื่องมือสื่อสารกันมากขึ้น  นี่เป็นความจริงชีวิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่เชื่อว่าคงมีองค์กรสื่อหลายองค์กรที่อยู่รอดได้  เพราะหลายๆองค์กรปรับตัวก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนไหนที่ช้าหน่อยก็จะโดนผลกระทบ ในความเป็นจริงก็ไม่เป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน  เป็นห่วงมากที่สุดก็คือ นักข่าว ช่างตัดต่อ โปรดิวเซอร์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อโลกการสื่อสารเปลี่ยนไปมากด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ผมยังมีความเชื่อว่าคนที่ทำข่าวมานาน ทำอย่างมีหลักการและเป็นมืออาชีพ ยังเป็นที่ต้องการของวงการสื่ออยู่ และเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้นในยุคที่โซเชี่ยลมีเดียครองโลกอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคนที่มีประสบการณ์ มีความเข้าใจในหลักการ ในการทำหน้าที่รายงานข่าว ที่ถูกต้องและรอบด้าน รวมทั้งข้อมูลที่มีความหมาย ทำให้คนเข้าใจข้อเท็จจริงมากขึ้น   ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ข่าว  คมชัดลึก