ส่องทิศทางการเมือง หาเสียงแบบไหน หลังคลายล็อก

by ThaiQuote, 12 ธันวาคม 2561

จากคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 22/2561 เรื่อง "การให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง" ลงวันที่ 11 ธ.ค. 2561 สาระสำคัญเป็นการยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 9 ฉบับ ที่ได้เคยกำหนดไว้มาก่อนหน้านี้ ซึ่งการยกเลิกคำสั่งและประกาศดังกล่าวในคราวนี้มีเจตนาเพื่อเอื้อให้ประชาชนและพรรคการเมืองสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย “ในส่วนของ คสช. โดยกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) จะยังคงทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยโดยรวมของประเทศ พร้อมสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเตรียมการเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล  ทั้งนี้ คสช.จะช่วยสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในสาระสำคัญของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ส่วนเรื่องใดที่เป็นกิจกรรมทางการเมือง ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็สามารถดำเนินการได้ตาม กฎ กติกา และกฎหมายการเลือกตั้ง พร้อมกันนี้ ขอความร่วมมือจากพรรคการเมือง และทุกภาคส่วน ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ ตามหลักการประชาธิปไตย ใช้กระบวนการต่างๆ อย่างเหมาะสม ยึดประโยชน์ของประเทศชาติในอนาคตเป็นหลัก ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง” พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคสช.บอกไว้เช่นนั้น วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี การปลดล็อกการเมืองนี้จะส่งผลให้บรรดาพรรคการเมืองสามารถดำเนินกิจกรรมทุกอย่างได้ ทั้งการจัดเวทีปราศรัย การขึ้นป้ายหาเสียง รวมถึงการเรียกประชุมสมาชิกพรรค โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก คสช. ซึ่งทุกอย่างสามารถทำได้ภายใต้กฎหมายที่มี โดยยังไม่นับว่าเป็นการหาเสียง ส่วนการหาเสียงนั้น จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งการจัดกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ หลังจากนี้ จะถูกนับเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงทั้งหมด หากเป็นเช่นนี้ “โรดแม้ป” การเลือกตั้ง ส.ส. จะมีขึ้นในวันที่ 24 ก.พ.2561 คำถามใหญ่ที่ตามมา หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจถึงกฎกติกาใหม่ๆ ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 จะมีสาระสำคัญใดแตกต่างจากการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมาบ้าง พอสรุปได้ดังนี้ 1.จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน ประกอบด้วย ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 350 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 รวมจำนวน 500 คน (จำนวนเท่ากับการเลือกตั้งที่ผ่านมา)

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้ใช้บัตรลงคะแนนเพียงบัตรเดียว แต่ใบลงคะแนนที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนี้ จะสามารถเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายกรัฐมนตรี ไปในคราวเดียวกัน หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ เลือกหนึ่งได้สามกันเลยทีเดียว กล่าวคือเป็นระบบคะแนนแบบแบ่งสรรปันส่วน ทุกคะแนนมีค่า ผิดจากเดิม หากส.ส.เขตที่เราเลือกหรือกาบัตรลงคะแนนพ่ายแพ้ คะแนนเหล่านั้นที่เราเลือกก็ไร้ความหมาย แต่กรณีนี้คะแนนที่เราเลือกจะยังคงมีผลต่อการเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายกรัฐมนตรี ที่พรรคการเมืองจะต้องเสนอชื่อให้ประชาชนรับรู้ก่อนวันกาบัตรลงคะแนนนั่นเอง
  2. รูปแบบบัตรลงคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ ยังคงต้อรอลุ้นกันว่าจะออกมาในทิศทางใด โดยกกต.ได้จัดเตรียมไว้ 2 แบบ กล่าวคือ แบบแรก คือที่บรรดาเหล่านักการเมืองต่างออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน เนื่องจากไม่มีโลโก้พรรค และชื่อพรรคการเมือง จะมีแต่เพียงหมายเลขผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขต ซึ่งแม้ผู้สมัครส.ส.จะอยู่พรรคเดียวกัน ก็จะมีหมายเลขไม่ตรงกันเหมือนเช่นในอดีต เช่น “พรรคการเมืองหนึ่ง” จับสลากได้เบอร์ 5 ผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคก็จะใช้หมายเลข 5 ทุกเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศเลยทีเดียว ซึ่งบัตรลงคะแนนแบบนี้ไม่เป็นที่ปลื้มของพรรคการเมือง และมีการแสดงความคิดเห็นไปต่างๆ นานาว่า อาจจะเปิดช่องให้มีการทุจริตได้โดยง่าย อีกทั้งยังจะสร้างความสับสนให้กับระชาชนในการลงคะแนนอีกด้วย และบัตรลงคะแนนแบบที่สองอาจจะยึดหลักการเช่นเดิม เช่น มีโลโก้ และชื่อพรรค ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ปฏิเสธที่จะใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาบัตรเลือกตั้ง เพียงแต่กล่าวว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของกกต.ที่จะดำเนินจัดการ ไม่ใช้ภารกิจคสช. หรือรัฐบาล

สำหรบพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง หลังจากมีคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 22/2561 เรื่อง "การให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง" ลงวันที่ 11 ธ.ค. 2561 ไปแล้วนี้ มีการประมาณการว่าน่าจะซึ่งกำหนดไว้ว่าน่าจะมีประกาศพระราชกฤษฎีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ม.ค.62  นั่นย่อมหมายความว่าพรรคการเมือง ผู้สมัครส.ส.จะมีเวลาหาเสียงประมาณ 50 วัน ซึ่งก็ถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว ที่นื่ก็คงเป็นห้วงเวลาของนักเลือกตั้งทั้งหลายที่จะนำกลยุทธต่างๆ มาหาเสียงกัน น่าจับตาดูเป็นอย่างยิ่งว่า นักการเมืองเขาจะมีรูปแบบวิธีการหาเสียงกันอย่างไร จะใช้ทะเลโคลนสาดใส่กันเช่นในอดีตเก่าก่อนหรือไม่ และจะมีการนำเสนอแนวนโยบายพรรค เพื่อเรียกคะแนนจากประชาชนอย่างไร ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่ากฎกติกาใหม่ๆ พรรคการเมืองจะต้องเสนอนโยบายที่สามารถจับต้องได้ ไม่ใช่นโยบายตีหัวเข้าบ้าน ล้างผลาญงบประมาณ จนเป็นภาระคลังหลวงเช่นในอดีต เพราะสุดท้ายโครงการก็ไปไม่รอด ทำให้มีข้าราชการและนักการเมืองต้องติดคุกติดตะราง นี่คือบทเรียนที่พรรคการเมืองจะต้องตระหนัก คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศชาติ และประชาชนโดยรวม หาใช่มุ่งแต่หาเสียง เพียงหวังให้พรรคตัวเองชนะการเลือกเท่านั้น คนข้างสภา   ข่าวที่เกี่ยวข้อง ย้อนเกล็ดเสี่ยเต้น โกยคะแนน99ศพ มองแผนทักษิณลุยเลือกตั้ง “แยกกันเดินร่วมกันตี”