เปิดกลโกงเฟ้นส.ว. ท้า“รธน.ปี60” คสช.จะต้องเลือกผลไม้พิษ

by ThaiQuote, 22 ธันวาคม 2561

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2560 มีที่มาอย่างไร และมีบทบาทหน้าที่มากกว่าส.ว.ในอดีต โดยเฉพาะการให้อำนาจส.ว.มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี หากกรณีไม่มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดชนะการเลือกตั้งมีเสียงเพียงพอใจตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว ที่สำคัญการได้มาซึ่งส.ว.ครั้งนี้ ก็มีวิธีการที่แตกต่างออกไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ กล่าวคือที่มาของสมาชิกวุฒิสภารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด จำนวน 200 คน ดำรงตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี เป็นได้วาระเดียว มาจากการเลือกกันเองของประชาชนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วม หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆที่หลากหลายของสังคม ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในวาระเริ่มแรกในวาระเริ่มแรก ตามบทเฉพาะกาลของแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคำแนะนำ โดยมาจาก 3 ส่วน ดังนี้ กกต. ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. จำนวน 200 คน แล้ว นำรายชื่อเสนอต่อ คสช. คัดเลือกจำนวน 50 คนคณะกรรมการสรรหา ส.ว. คัดเลือกบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในอันจะเป็นประโยชน์แก่ การปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศมีจำนวนไม่เกิน 400 คน แล้ว นำรายชื่อเสนอต่อ คสช. คัดเลือก จำนวน 194 คน และอีก 6 คนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 6 คน สำหรับโครงสร้างบริหารจัดการการเลือกสมาชิกวุฒิสภานั้น มี 2 ประเภท คือได้มีการเปิดรับสมัครจากกลุ่มสายวิชาชีพที่องค์กรต่างๆ ส่งเป็นตัวแทน และมาจากการสมัครรับเลือกส.ว.โดยอิสระด้วยตนเอง ซึ่งได้มีการเลือกกันเองในระดับอำเภอไปแล้วเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมาร และ ระดับจังหวัดได้ดำเนินการเลือกในวันที่ 22 ธันวาคม จากนั้นจะมีการเลือกในระดับประเทศตามลำดับ มีการบริหารงานโดยศูนย์อำนวยการและประสานงานการเลือก ส.ว. ซึ่งจะกำกับดูแลการดำเนินการในภาพรวม และศูนย์ปฏิบัติการและประสานงานการเลือก ส.ว. ในแต่ละระดับ ซึ่งทั้ง 3 ระดับจะมีคณะกรรมการและบุคลากรผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก ประกอบด้วย คณะกรรมการ 7 คน โดยมีนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นประธานกรรมการระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ กรรมการทุกระดับ จะประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับละ 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิระดับละ 2 คน มีปลัดอำเภอ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และเลขาธิการ กกต. ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการและผู้อำนวยการการเลือกของแต่ละระดับ โดยคณะกรรมการจะมีอำนาจหน้าที่ ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน แนะนำ อำนวยความสะดวก และรายงานปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการเลือก ส.ว. ต่อ กกต. รวมทั้งแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการการเลือกในแต่ละระดับ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านธุรการของศูนย์ฯ และการดำเนินการเลือก ประกอบด้วยผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานระดับอำเภอ 15 คน ระดับจังหวัด 3-7 คน และระดับประเทศ 20 คน มีหน้าที่ ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการการเลือกในแต่ละระดับ คณะกรรมการประจำสถานที่เลือก ระดับอำเภอและระดับจังหวัด มีจำนวนแห่งละ 20 คนต่อสถานที่เลือก ส่วนระดับประเทศ จะมีจำนวน 100 คน มีหน้าที่ ดำเนินการลงคะแนนและนับคะแนนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ระดับอำเภอและระดับจังหวัด มีจำนวนแห่งละ 4 คนต่อสถานที่เลือก ส่วนระดับประเทศจะมีจำนวน 20 คน มีหน้าที่ รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณสถานที่เลือกเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยระดับอำเภอ 5 คน ระดับจังหวัด 10 คน และระดับประเทศ 20 คน มีหน้าที่ รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยบริเวณโดยรอบสถานที่เลือก จะเห็นได้ว่าโครงสร้างบริหารจัดการการเลือกส.ว.นั้น อลังการงานสร้างจริงๆ โดยจัดให้มีการเลือกส.ว. 200 คน และะสุดท้ายคสช.จะคัดเหลือแค่ 50 คน ซึ่ง กกต.ตั้งงบประมาณในการจัดการเลือกส.ว.สูงถึง 1.3 พันล้านบาทกันทีเดียว สำหรับกระบวนการจัดการเลือกกันเองภายในกลุ่มอาชีพเดียวกัน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 2 วิธีการสมัคร คือ (1) สมัครโดยอิสระ (2) สมัครโดยคำแนะนำขององค์กร เริ่มตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ตามลำดับ โดยผู้สมัครที่มีสิทธิเลือกต้องมาถึงสถานที่เลือกภายในเวลาที่กำหนด ผู้ใดไม่มาหรือมาไม่ทันให้หมดสิทธิที่จะเลือกและได้รับเลือก กลุ่มใดและวิธีการใดไม่มีผู้สมัครหรือมีผู้มารายงานตัวไม่เกิน 3 คน (ในระดับอำเภอ) หรือไม่เกิน 4 คน (ในระดับจังหวัด) ไม่ต้องดำเนินการเลือก แต่ถ้าเกิน 3 คน (ในระดับอำเภอ) หรือเกิน 4 คน (ในระดับจังหวัด) ให้ดำเนินการเลือกระดับอำเภอ และระดับจังหวัด รวมถึงการเลือกในระดับประเทศ ดังนี้ การลงคะแนน เมื่อผู้สมัครมาครบหรือทันเวลาที่กำหนดแล้ว ให้รวมอยู่ในกลุ่มและวิธีการสมัครเดียวกัน เพื่อทำการลงคะแนน โดยการแสดงตนพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนและลงลายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ลงลายมือชื่อที่ต้นขั้วบัตรลงคะแนน แล้วรับบัตรลงคะแนน เพื่อนำไปลงคะแนนในคูหาโดยการ "เขียนหมายเลข” ผู้สมัครด้วยตัวเลขอารบิคในช่องเขียนหมายเลข ซึ่งผู้สมัครทุกคนมีสิทธิเลือกได้ไม่เกิน 2 หมายเลข โดยจะลงคะแนนเลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนมิได้ เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้ว ให้พับบัตรแล้วนำไปใส่ลงในหีบบัตรลงคะแนนด้วยตนเอง แล้วให้รอจนกว่าการลงคะแนนและการนับคะแนนของแต่ละวิธีการสมัครจะแล้วเสร็จ เพื่อรับทราบผลการลงคะแนน การนับคะแนน เมื่อการลงคะแนนของแต่ละวิธีการสมัครเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการประจำสถานที่เลือกจะทำหน้าที่ในการนับคะแนนโดยเปิดเผยและต้องให้เสร็จในรวดเดียว จะไม่เลื่อนหรือประวิงเวลา โดยในการนับคะแนนจะมีกรรมการ 3 คน ทำหน้าที่ วินิจฉัยและอ่านหมายเลขผู้สมัคร ขานทวนหมายเลขและขีดคะแนน และเจาะบัตรที่วินิจฉัยแล้วแยกใส่ภาชนะบัตรดีและบัตรเสีย กรณีกลุ่มใดและวิธีการสมัครใด มีผู้ได้คะแนนเท่ากันเกิน 3 คนในระดับอำเภอ หรือเกิน 4 คนในระดับจังหวัด หรือเกิน 10 คนในระดับประเทศ ให้ดำเนินการจับสลากทันทีเพื่อเลือกว่าผู้ใดจะได้รับเลือก กรณีมีผู้ไม่ได้รับคะแนนเลย มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้สมัครในกลุ่มนั้นและวิธีการสมัครนั้น (แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน) ให้สันนิษฐานว่ามีการสมยอมกันในการเลือก ให้จัดการเลือกกันเองใหม่ โดยให้ผู้ที่ไม่ได้รับคะแนนนั้นหมดสิทธิที่จะเลือกและได้รับเลือกและต้องออกจากสถานที่เลือก สำหรับการจัดการเลือก ส.ว. ระดับอำเภอ ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน นับแต่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร การเลือก ส.ว. ระดับจังหวัด ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันเลือกในระดับอำเภอ และ การเลือก ส.ว. ระดับประเทศ ต้องไม่เกิน 10 วัน นับแต่วันเลือกในระดับจังหวัด ส่วนการรายงานผลการนับคะแนน เมื่อการเลือกระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ เสร็จสิ้นแล้ว ผอ. การเลือกระดับประเทศ (เลขาธิการ กกต.) จะรายงานผลการนับคะแนนของแต่ละกลุ่มและแต่ละวิธีการสมัครให้ กกต. ทราบ เมื่อ กกต. ได้รับรายงานดังกล่าวแล้ว ให้รอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน ถ้า กกต. เห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุด 10 ลำดับแรกของแต่ละกลุ่มและแต่ละวิธีการสมัคร แล้วแจ้งรายชื่อให้ คสช. พิจารณาคัดเลือก จำนวน 50 คน เป็น ส.ว. และคัดเลือกอีก 50 คน เป็นบัญชีรายชื่อสำรอง 22 ธันวาคมที่ผ่านมา บรรยากาศการลงคะแนนเลือกส.ว.ระดับจังหวัดดำเนินไปด้วยความคึกคัก มีผู้สมัครส.ว.ที่ผ่านการคัดเลือกระดับอันเภอทยอยเดินทางมารายงานตัว และลงทะเบียนตั้งแต่แปดโมงเช้า จนสิ้นสุดเวลารายงานตัวตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ได้ปิดห้อมประชุมเพื่อเข้าสู่กระบวนการลงคะแนน โดยที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ดินแดง  นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. และนางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เดินทางมาตรวจเยี่ยมการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด ของกรุงเทพมหานคร หลังการลงคะแนนในวันนี้ ก็จะได้ผู้สมัครในระดับจังหวัดไปลงคะแนนเลือกในระดับประเทศในวันที่ 27 ธ.ค. ที่อิมแพคเมืองทองธานี อาคาร2 เพื่อให้ได้ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกในระดับประเทศจำนวน 200 รายชื่อ จากนั้นกกต.จะส่งรายชื่อให้คสช.เป็นผู้คัดเลือกให้เหลือ 50 รายชื่อในขั้นตอนสุดท้าย น่าสนใจตรงที่หลายจังหวัด โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคอีสาน มีการว่าจ้างบุคคลให้ลงรับสมัครเลือกส.ว. โดยออกค่าสมัครส.ว.จำนวน 2,500 บาทให้ และมีค่าเหนื่อค่ารถให้อีกต่างหาก สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในการเลือกส.ว.แล้ว คำถามที่ตามมาก็คือใครคือ “คนจ้าง” และมีเป้าประสงค์อะไรในดีลเลือกส.ว.แปดเปื้อนครั้งนี้ “ผมไม่ได้เสียใจอะไร และก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับการเลือกส.ว.ครั้งนี้ เราควักเงินมในกระเป๋าจ่ายเป็นค่าสมัครส.ว. 2,500 บาทแต่เพียงผู้เดียว ส่วนคนอื่นๆ เขามีคนออกเงินให้ทุกบาททุกสตางค์ แถมยังมีค่าเหนื่อให้อีกก้อน แต่ผมต้องการเรียนรู้ระบบการเลือกส.ว.ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่ง ส.ว.จะมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีในอนาคตอันใกล้นี้ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการปิดประตูตีแมว ไม่มีประชาชนมาลงคะแนน คนที่เขาจ้างกันมาไม่ได้เสียเงินค่าสมัครก็พากันล็อบบี้เลือกคนที่วางตัวไว้ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะมีคุณสมบัติเหมาะสม มีคุณภาพที่จะทำหน้าที่ส.ว.เพื่อบ้านเมืองและประชาชนหรือไม่ และหากมองเจาะลึกลงไปก็ยิ่งเข้าทางพวกขี้โกง ที่ตีตั๋วชั้นประหยัด ไม่ต้องจ่ายเงินเหมือนการเลือกตั้งที่มีประชาชนมาลงคะแนน เข้าทางนักซื้อเสียง แล้วอนาคตบ้านเมืองจะเดินไปในทิศทางใด สิ่งเหล่านี้ผมไม่แน่ใจว่า กกต.จะตามกลเกมโกงของพรรคการเมืองบางพรรคที่ต้องการทวงอำนาจคืนหรือไม่ ที่สำคัญนายกรัฐมนตรี และคสช.จะเลือกผลไม้พิษที่ผ่านกระบวนการแปดเปื้อนด้วยมือของท่านเอง ตรงนี้ต้องคิดกันให้หนักหน่วงเลยทีเดียว” อดีตสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าอย่างสิ้นหวัง.   “คนข้างสภา”