ชวนอ่านเกร็ดความรู้ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

by ThaiQuote, 3 มกราคม 2562

[caption id="attachment_60959" align="aligncenter" width="960"]พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9[/caption] เครื่องราชภัณฑ์ที่นำมาตั้งแต่งพระราชพิธี เป็นต้นว่า เครื่องสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ (เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 5 อย่าง) เครื่องราชูปโภค และเครื่องประกอบพระบรมขัตติยราชอิสริยยศในพระราชพิธีต่างมีความหมายถึงความเป็นมงคล เพื่อแสดงออกถึงพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้า การบรมราชภิเษกถือเป็นการสถาปนาพระเจ้าอยู่หัวที่จะทรงเป็นพระประมุขของพสนิกร ด้วยความยินยอมพร้อมใจ ในลักษณะนานาอเนกนิกรสโมสรสมมุติ ตั้งแต่งพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จกษัติยาธิราช เหนือจากสถานะที่พระองค์ทรงเป็นพระประมุข ประหนึ่งบิดาที่ปกครองบุตร และยังทรงได้รับการยกย่องเทิดทูนพระองค์ ในฐานะสมเด็จพระธรรมราชาธิบดี อันหมายถึงประมุขผู้ปกครองโดยธรรม ตามคติในพระพุทธศาสนา และทรงอยู่ในฐานะสมมุติเทวราชอีกด้วย 0รู้จักความรู้การอัญเชิญผู้มีบุญญาธิการขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การพระราชพิธีสถาปนาพระมหากษัตริย์ ขึ้นครองสิริราชสมบัติตามคติอินเดียโบราณ จากตำราปัญจราชาภิเษก กล่าวถึงการสถาปนาว่า มีลักษณะ 5 ประการ คือ 1.มงคลอินทราภิเษก อันหมายถึงพระอินทร์ นำเครื่องปัญจราชกกุธภัณฑ์ มาอภิเษกผู้จะได้เป็นพระมหากษัตริย์ 2.มงคลโภคาภิเษก คือ ผู้มีทรัพย์และรู้จักราชธรรม สามารถเกื้อกูลราษฎร จึงได้รับการยกย่องขึ้นเป็นกษัตริย์ 3.มงคลปราบดาภิเษก คือผู้ที่จะเป็นกษัตริย์นั้น มีความกล้าหาญในการสงคราม มีชัยแก่ศัตรู และได้ราชาไอยสวรรค์มาครอบครอง 4.มงคลราชาภิเษก คือการสืบพระราชสันตติวงศ์ 5.มงคลอภิเษก คือผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ได้ โดยอภิเษกสมรสกับธิดา ผู้ที่มีเชื้อสายกษัตริย์เสมอกัน   [caption id="attachment_60960" align="aligncenter" width="878"]พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9[/caption] Oพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงศรีอยุธยา พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท สมัยที่ยังบ้านดีเมือง อยุธยายังรุ่งเรือง เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จากเอกสารคำให้การชาวกรุงเก่า (เป็นคนละเล่มกับ คำให้การขุนหลวงหาวัด เป็นพงศาวดาที่พม่าสมัยกรุงอังวะทำขึ้น เรียกว่า โยธยา ยาสะเวง หรือแปลว่า "พงศาวดารอยุธยา" ) มีการระบุรายละเอียดการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไว้ และเครื่องประกอบราชพิธีที่สำคัญ เช่น พระที่นั่งพระที่นั่งอัฐทิศ หรือตั่งไม้มะเดื่อทรงแปดเหลี่ยม พระที่นั่งภัทรบิฐ สำหรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย พระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ พัดวาลวิชนี ธารพระกร และฉลองพระบาท พระราชบัลลังก์ปูลาดด้วยหนังของพญาราชสีห์ ต่อมาใช้แผ่นทองคำวาดรูปราชสีห์ด้วยชาดหรคุณ พระสุพรรณบัฏเข้ากรอบล้อมด้วยแก้วมณี ประดิษฐานบนพานทอง ก่อนวันพระราชพิธีจัดให้มีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์บนพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทเป็นเวลา 3 วัน  เข้าวันที่4 จึงเป็นวันประกอบการพระราชพิธี จากนั้นสมเด็จพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค มีการสมโภชพระนคร เมื่อเสร็จการพระราชพิธีแล้ว สมเด็จพระมหากษัตริย์โปรดให้สร้างพระพุทธรูปทองคำน้ำหนักเท่าพระองค์ สร้างและเปลี่ยนตราประทับเงินพดด้วง รวมทั้งพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องโทษ Oพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดฯให้ประชุมผู้รู้แบบแผนราชประเพณีครั้งกรุงเก่า รวบรวมแบบแผนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแต่ก่อน เพื่อใช้เป็นแบบอย่างการพระราชพิธีต่อไปในภายหน้า ในแต่ละรัชกาลต่อมา ถือแบบแผนพระราชพิธีที่ทรงพระกรุณาโปรดฯให้ทรงรวบรวมแต่ครั้งนั้น ตามที่ควรแก่กาลเป็นหลักปฏิบัติในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อมา โดยเพิ่มเติมหรือลดทอนรายละเอียดปลีกย่อยออกไปบ้าง [caption id="attachment_60961" align="aligncenter" width="877"]พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9[/caption] Oลำดับขั้นตอนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พราหมณ์เป็นผู้กระทำการพระราชพิธีอันสำคัญนี้ เริ่มตั้งแต่วันจารึกพระสุพรรณบัฏดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล โดยพระราชครูเป็นผู้เจิมพระสุพรรณบัฏดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ประดิษฐานพักไว้ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ครั้นก่อนวันพระราชพิธี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งไพศาลทักษิณพราหมณ์พิธีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบสมิต ประกอบด้วย ใบมะม่วง ใบทอง ใบตะขบ ทรงปัดมลทิน แล้วพราหมณ์รับไปทำพิธี เป็นการเริ่มต้นพิธีพราหมณ์ไปจนกว่าจะเสร็จพระราชพิธี ในวันแรกการพระราชพิธี ครั้นถึงพระฤกษ์ พระราชครูวามเทพมุนีกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ สู่มณฑปพระกระยาสนาน สรงพระมูรธาภิเษก ต่อมาจึงเสด็จออกพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ประทับเหนือพระที่นั่งอัฏฐทิศ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร ในอดีตทรงรับน้ำอภิเษกจากพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ อัครมหาเสนาบดี [caption id="attachment_60962" align="aligncenter" width="960"]พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9[/caption] พราหมณ์พิธีถวายน้ำจากพระมหาสังข์ แล้วอัญเชิญพระนพปฏลมหาเศวตฉัตร น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ครั้นแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระราชครูกล่าวพระเวทสรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาศ แล้วทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสุพรรณบัฏ ถวายพระมหาสังวาลพราหมณ์ทุรำ พระมหาสังวาลย์นพรัตน์ราชวราภรณ์ พระสังวาลพระนพ สิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้ จากนั้นพระราชครูถวายอนุสดุศิวะเวทวิษณุมนต์ ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่มีพระบรมราชโองการตอบพระราชทานอารักขาประชาชนไทย แล้วทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งสัตยาธิษฐาน สำหรับน้ำที่ใช้ทรงในการมูรธาภิเษกสำหรับองค์พระมหากษัตริย์นั้น จะนำมาจากแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ ซึ่งมีการเพิ่มเติมบ้างตามที่เห็นสำคัญ การนำน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศรวมกันถวายโสตทรงพระมหากษัตริย์ ด้วยความเชื่อว่าเป็นการนำความเป็นสิริมงคลบังเกิดแก่ผู้ปกครองพระราชอาณาจักร ให้มีความเจอรุ่งเรืองสืบไป   ที่มาข้อมูลและรายละเอียดทั้งหมด – กรมประชาสัมพันธ์ สามารถรับชมรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ยูทูปกรมประชาสัมพันธ์ ชื่อ “สารคดีเอกลักษณ์ไทย ชุด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” https://www.youtube.com/watch?v=l1oMbqqTI84&list=PL941IJTcOAO3jbw-T5X8OWNR8mIBV2k_J