“ณริช ผลานุรักษา” ชูแก้ปัญหายกเครื่องระบบการศึกษา-สร้างคลังความรู้กลางลดเหลื่อมล้ำ

by ThaiQuote, 5 มกราคม 2562

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ พปชร. จะวางแผนพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วยการวางทีมสายเลือดใหม่ปูพรมลงสนามเลือกตั้งแบบเต็มทีม เป้าหมายเพื่อตอบโจทย์กระแสความต้องการ “นักการเมืองรุ่นใหม่” ที่กำลังมาแรง และหวังดึงแต้มจากคนในเมืองหลวง วันนี้จึงเห็นคนรุ่นใหม่ของพรรคพลังประชารัฐ ลงสนามในกรุงเทพฯ เพื่อตระเวนเก็บข้อมูลเเละสิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้เมืองไทยเดินหน้าไปในทิศทางใด ท่ามกลางการเเข่งขันอย่างหนักหน่วง เพื่อโชว์วิสัยทัศน์ของเเต่ละพรรคที่ต้องการนำเสนอแนวคิดให้กับสังคม   ซึ่ง ณริช ผลานุรักษา” หรือ อาจารย์บอน ก็เป็นอีกหนึ่งเลือดใหม่จากสังกัดพรรคพลังประชารัฐ วัย 38 ปี ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล และ ฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นทั้ง อาจารย์จากรั้วจุฬาฯมากว่า11ปีและยังเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่ยอมสลัดธุรกิจส่วนตัว อาสามาร่วมพัฒนาประเทศในครั้งนี้อย่างไม่มีเงื่อนไข ถือแป็นนักการเมืองเลือดใหม่ที่น่าจับตามอง และเป็นนักการเมือใหม่ที่มีของ เพราะ ณริช ผลานุรักษา พกพาความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน อาทิ ความเชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ การผังเมือง การศึกษา มัณฑนศิลป์ สื่อสารมวลชน และการตลาด   โดยทุกวันนี้ “ณริช ” ก็ได้ใช้เวลาเกือบทั้งหมดของทุกวัน กับการลงพื้นที่ในสนามกรุงเทพฯ เพื่อเก็บและรวบรวมข้อมูลสิ่งที่คนในชุมชน หรือประชาชน อยากเห็นประเทศไทยจากนี้ไปจะเดินไปในทิศทางไหน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับ เปลี่ยน เสริม สร้าง ให้ตรงกับความต้องการของคนในเมืองหลวง และคนไทยทั้งประเทศ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเกิดประโยชน์สูงสุด     Oพปชร.เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ทำงานการเมือง   ณริช บอกด้วยว่า เขามีความสนใจงานด้านการเมือง เริ่มต้นจากช่วงที่เขาเป็นอาจารย์ และพลังบวกที่ได้จากการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากว่า 11ปี และในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2562 หรือปีหมูทอง เขารู้สึกดีใจที่พรรคพลังประชารัฐ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการเมือง และไม่มีนามสกุลใหญ่พ่วงท้ายได้เข้าร่วมการทำกิจกรรม Think-Tank Workshop ร่วมกันระดมสมอง นำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ ที่ดีให้แก่พรรค เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาขึ้นมาเป็นนโยบายพรรคพลังประชารัฐ   นับเป็นแรงขับเคลื่อนเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ในความรู้สึกผม จึงทำให้ผมตัดสินใจเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกร่วมก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา”   ณริช เน้นย้ำด้วยว่า ในฐานะที่เขาเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ได้สั่งสมความรู้ความสามารถ และโตมากับเทคโนโลยี เขาเชื่อว่าสามารถ contribute ให้กับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งหมายถึงการขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยการต่อยอดนโยบายนี้ ในการสร้างประโยชน์ต่อเนื่องให้แก่ประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายรองที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอันฉับไวของโลกในปัจจุบัน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับประเทศไทยในอนาคต   ผมขออาสาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงประชากรสอง Generations ทั้งประชากรรุ่นเด็ก ที่เกิดมาพร้อมความสามารถในการเข้าถึง และใช้งานเทคโนโลยีและประชากรผู้สูงวัย ที่อาจรู้สึกอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุค Disruptive Technology” Oสนใจลงมือแก้ไขปัญหาการศึกษาเริ่มตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ณริช  บอกด้วยว่า จากประสบการณ์การเป็นอาจารย์และผู้บริหารหลักสูตรจากรั้วจุฬาฯ เขาเห็นทั้งปัญหา และความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย ปัญหาหนึ่งที่ทาง สสค หรือ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน เคยระบุไว้เกี่ยวกับการศึกษาของไทย คือ เด็กนักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรือสนใจด้านอะไร และมักเรียนตามเพื่อน ตามกระแส หรือตามผู้ปกครองสั่ง ทำให้เกิดปัญหาการเลือกเรียนผิด และขาดความสนใจในเนื้อหาวิชา   ผมมองว่า นี่คือ ภาพสะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดทักษะการวางแผน และการตัดสินใจ ดังนั้น ผมและทีมงานมองว่า เราต้องแก้ตั้งแต่การศึกษาขั้นปฐมวัย มีผู้เชี่ยวชาญได้ทำงานงานวิจัยระยะยาวในสหรัฐฯ และค้นพบว่าการลงทุนในการศึกษาและเลี้ยงดูของเด็กขั้นปฐมวัย (0-5 ขวบ) ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับขั้นอื่น เพราะขั้นปฐมวัยคือช่วงที่หล่อหลอมตัวตน ความคิด จิตใจ IQ และ EQ ของเด็กที่สำคัญที่สุด จึงมีความจำเป็นที่เราต้องแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กไทยให้ถูกจุดตั้งแต่ขั้นปฐมวัยเรื่อยไปจนถึงระดับประถมศึกษา”   ณริช ย้ำด้วยว่า การปฏิรูปการศึกษาในเด็กปฐมวัยและเด็กเล็ก ต้องเริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการมีส่วนร่วมของเด็ก (Social Interaction) ด้วยการปลูกฝังให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุกในตัวเด็ก (Active Learner) โดยที่ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และตัวตนออกมาอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันครูควรลดการแสดงอำนาจ และหันมาเพิ่มบทบาทของครูในการเป็นผู้แนะแนว และรับฟัง Curriculum ทางการศึกษา เช่น Highscope สำหรับขั้นปฐมวัยและ Design Thinking สำหรับขั้นประถมศึกษา ที่มีความสอดคล้องต่อการเรียนการสอนของกลุ่มวิชาอย่าง STEM หรือ Science Technology Engineering and Mathematics Education   หากทำได้ผมเชื่อว่า เราจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชากรในอนาคตของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน” Oสร้างคลังความรู้กลางของชาติลดความเหลื่อมล้ำ  ณริช ผลานุรักษา บอกต่อว่า อีกหนึ่งความคิด ที่เขาต้องการนำเสนอ คือการนำเอาแนวคิด Sharing Economy ของโลกปัจจุบันที่เกิดขึ้น จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อสร้าง Equal Opportunity in Learning แนวคิดประเทศไทยห้องเรียนเดียว คือระบบการเชื่อมโยงและแบ่งปันฐานข้อมูลให้แก่เด็กไทย โดยให้เกิดการเข้าถึงแหล่งข้อมูลแบบเท่าเทียม กัน และทลายกำแพงที่ปิดกั้นโอกาสการเรียนรู้ระบบนี้   “เปรียบเสมือนคลังความรู้กลางของประเทศ ที่บรรจุข้อมูลมากมายมหาศาลที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ลดความเสี่ยงจากปัญหาการเข้าถึงข้อมูลที่สุ่มเสี่ยง และไม่ถูกต้องสำหรับเด็ก ด้วยหลักการนี้ผมและทีมต้องการผลักดันให้เกิด Borderless Education เพราะไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหน ไม่ว่าคุณมีฐานะอย่างไร หรืออายุเท่าไหร่ คุณก็สามารถเข้าถึงคลังความรู้กลางที่ถูกต้องและดีที่สุดได้" Oอยากให้ประเทศไทยเดินหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ ณริช ยังต้องการเห็นประเทศไทย“เดินหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน” โดยไม่ติดกับดักทางการเมืองอีกต่อไป ไม่เพียงแค่นั้น เขายังต้องการเห็นประเทศไทยก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อสู้กับต่างชาติให้ได้ และไม่ต้องการให้เสียเวลาไปกับการสู้ศึกในบ้าน   นอกจากนี้ ณริช ยังต้องการเห็นความโปร่งใสในระบบราชการ ควรมีคุณภาพทัดเทียมภาคเอกชน และตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันประเทศไทยควรขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องเกษตรกรรม และสาธารณสุข รวมถึงต้องการเห็นการเชื่อมต่อทางคมนาคมตามแผนที่ได้วางไว้ การปรับเปลี่ยนหัวเมืองให้เปลี่ยนเป็น Smart Cities ต้องการเห็นคนไทยมีศัยภาพเพิ่มมากขึ้นโดยการเสริมความรู้ และสร้างทักษะคนไทยให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม   อย่างไรก็ตาม อาจารย์บอน กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ไม่ว่าเขาจะได้ หรือไม่ได้รับโอกาสในการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ หรือ สส. แต่สิ่งที่เขาเริ่มทำมาแล้ว และต้องการทำต่อไป คือการลงพื้นที่พูดคุยกับประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษา รวมถึงการพูดคุยกับโรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา เพราะเมื่อเขาได้อาสาลงสนามการเมืองแล้ว เขาต้องการสานต่อในช่วงที่เขาเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากบริบทในเมืองและนอกเมือง เพื่อนำมาประเมินความเป็นไปได้ในสิ่งที่ตั้งใจทำ นั่นคือการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปวิธีการสอนของครู และกระบวนการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นรูปธรรม อย่างที่ ณริช ผลานุรักษา มุ่งมั่นต้องการเห็นการปรับ เปลี่ยน สร้าง เสริม ให้การศึกษาไทยแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ
Tag :