โพลยันศก.ไทยฟื้นไข้สัญญาณชี้ชัด

by ThaiQuote, 3 กุมภาพันธ์ 2559

อย่างไรก็ตาม การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมากสะท้อนให้เห็นถึงสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่ยังอ่อนแอเป็นอย่างมาก เมื่อวิเคราะห์ลงไปในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนพบว่าปัจจัยที่ทำให้ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมาก ได้แก่ การส่งออกสินค้า (ดัชนีเท่ากับ 5.74) การลงทุนภาคเอกชน (ดัชนีเท่ากับ 9.84) และการบริโภคภาคเอกชน (ดัชนีเท่ากับ 12.30) ขณะที่ปัจจัยด้านการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้า ทำให้ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 60.66 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับจากเริ่มมีการจัดทำดัชนีเมื่อปี 2553 เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงสุดนับจากมีการจัดทำดัชนีเช่นเดียวกัน โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ81.15
                เมื่อมองออกไปในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีอยู่ที่ 58.17 ลดลงจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา (ค่าดัชนีเท่ากับ 67.39) และเมื่อมองออกไปในระยะ 6 เดือนข้างหน้าที่ค่าดัชนีอยู่ที่ 67.69 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน(ค่าดัชนีเท่ากับ79.69)
               เมื่อพิจารณาจากดัชนีองค์ประกอบพบว่าในระยะ 3 เดือนข้างหน้าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญคือการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ รองลงมาเป็นปัจจัยด้านการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ส่วนปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะ 6 เดือนข้างหน้าคือการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน การท่องเที่ยวจากต่างประเทศและการบริโภคภาคเอกชนตามลำดับ
              ขณะที่ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นวัฏจักรเศรษฐกิจว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงใดของวัฏจักร พบว่า ร้อยละ 54.8 เห็นว่าอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว รองลงมาร้อยละ 25.8 เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงถดถอย ร้อยละ 11.3 เห็นว่าอยู่ที่จุดต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ ขณะที่ร้อยละ 6.5 เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดและอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว