มาตามนัด “ภัยแล้ง”รุกหนัก 11 จว.

by ThaiQuote, 17 กุมภาพันธ์ 2559

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับการประกาศฯในภาคเหนือ 4 จังหวัดได้แก่ 1. จ.เชียงใหม่ 3 อำเภอ (ดอยเต่า , สันกำแพง,แม่ริม) 2. จ.อุตรดิตถ์ 1 อำเภอ ( เมืองอุตรดิตถ์) 3. จ.พะเยา 6 อำเภอ (เมืองพะเยา ,ดอกคำใต้ ,แม่ใจ ,จุน ,ภูกามยาว, เชียงคำ) 4. จ.สุโขทัย 8 อำเภอ (สวรรคโลก, ศรีนคร, ศรีสำโรง ,ศรีสัชนาลัย ,เมือง ,คีรีมาศ, ทุ่งเสลี่ยม, บ้านด่านลานหอย

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 จังหวัดได้แก่  1. จ.นครราชสีมา  10 อำเภอ ( ขามสะแกแสง, คง , บัวลาย ,แก้งสนามนาง , โนนไทย , ด่านขุนทด , โนนสูง , เทพารักษ์ , พระทองคำ , บัวใหญ่) 2. จ.นครพนม 2 อำเภอ (นาหว้า , โพนสวรรค์) 3.จ.มหาสารคาม 4 อำเภอ (กันทรวิชัย, โกสุมพิสัย , ชื่นชม , เชียงยืน) 4. จ.บุรีรัมย์  2 อำเภอ (เมือง , พลับพลาชัย)

              และภาคกลางมี 2 จังหวัด คือ 1.กาญจนบุรี 1 อำเภอ (ห้วยกระเจา) 2. จ.เพชรบุรี  2 อำเภอ (ชะอำ ,แก่งกระจาน) และภาคตะวันออก มี 1 จังหวัด คือ จ.สระแก้ว 4 อำเภอ ( โคกสูง ,วัฒนานคร ,ตาพระยา ,อรัญประเทศ)

              ทางด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลืผู้ประสบภัยแล้ง โดยสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบส่งเข้าพื้นที่การเกษตร รวม 1,602,572 ลูกบาศก์เมตร สูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อส่งน้ำเข้าแหล่งน้ำดิบสนับสนุนการผลิตน้ำประปา จำนวน 6,037,747,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค รวม 113,686,000 ลิตรและผลิตน้ำดื่มสะอาดแจกจ่ายแก่ประชาชน รวม 1,104,000 ลิตร

อีกทั้งได้ประสานจังหวัดในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจจัดทำบัญชีแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ ความต้องการใช้น้ำของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการจัดสรรน้ำให้เกิดความสมดุลและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในแต่ละพื้นที่ รวมถึงขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยใช้กลไก"ประชารัฐ"ในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง จัดทำประชาคมหมู่บ้าน เพื่อกำหนดกติกาการใช้น้ำให้เท่าเทียมและเป็นธรรม รวมถึงเร่งจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติม