จอดรถแล้วหาย ใครต้องรับผิดชอบ

by ThaiQuote, 29 พฤษภาคม 2560

แหล่งช้อปปิ้ง ที่แอร์เย็นๆ  มีสินค้ามากมาย  ทั้งของกินของใช้ คงหนีไม่พ้นสิ่งที่เรียกว่า "ห้างสรรพสินค้า"  เพราะมีทั้งความสะดวกสบาย  มีที่จอดรถไว้รองรับ แม้กระทั่งคนพิการก็มีที่จอดรถไว้เฉพาะ บางห้างต้องรับบัตรจอดรถ และเสียค่าที่จอด  บางห้างแจกบัตรเข้าออกอย่างเดียว บางห้างใช้กล้องวงจรปิด จะเป็นอย่างไร หากวันดีคืนดับ ขณะที่คุณกำลังสนุกอยู่  โจรแอบย่องเบามาขโมยรถที่คุณจอดไว้  แล้วใครจะรับผิดชอบกันล่ะทีนี้?!! มีข้อแนะนำ ถ้าขับรถเข้าจอดในห้างใด  เมื่อเข้าพักในโรงแรม  รีสอร์ท  ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เราควรจะถ่ายภาพรถให้เห็นป้ายทะเบียนและให้เห็นสภาพสถานที่จอดให้ชัดเจนว่าเป็นที่ใดด้วยโทรศัพท์มือถือ กรณี รถหายในห้างทั่วไป หรือห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ  อย่าเพิ่งโวยวาย ตั้งสติก่อน!!!  แล้วรีบแจ้งทางห้างฯ  ว่ารถหาย  พร้อมโชว์ใบเสร็จ เพื่อให้รู้ว่าเราได้เข้ามาใช้บริการซื้อสินค้าในห้างจริง จากนั้นแจ้งความตำรวจ  ถ่ายสำเนาใบเสร็จให้ไป  ส่วนเราเก็บตัวจริงไว้  ถ้าห้างฯ ไม่รับผิดชอบใดๆ ให้ใช้ใบเสร็จกับภาพถ่ายรถในโทรศัพท์มือถือเป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องทางศาล  ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1  ปีนับแต่วันที่รถหาย ถ้าเกินจะถือว่าคดีขาดอายุความ สำหรับทุกท่านที่เอารถมาจอดในสถานที่บริการลูกค้าใดๆ ก็ตาม
  • เก็บบัตรที่จอดรถให้ดี (กรณีที่มีบัตรผ่านเข้า-ออก)
  • ต้องมีใบเสร็จการซื้อสิ้นค้าหรือบริการทุกครั้ง และเก็บไว้ให้ดี
  • กรณีเข้าที่พัก โรงแรม รีสอร์ท จ่ายเงินแล้วขอใบเสร็จทุกครั้ง ส่วนมากจะขอใบเสร็จเมื่อออกจากที่พัก  ถ้าเกิดรถท่านหายช่วงเวลาพักอยู่  ทางที่พักของท่านจะออกใบเสร็จให้ยากมาก                                                         (ในแง่กฎหมาย : ใบเข้าพัก : จะไม่มีการรับผิดชอบเมื่อเกิดเหตุ ถือว่าเป็นการฝากรถธรรมดา)  ดังนั้น เอาใบเสร็จมาเก็บไว้กับตัวท่านทุกครั้งเมื่อเข้าพัก
  • ถ่ายรูปรถให้เห็นทะเบียนรถ รูปที่จอด และ สถานที่ให้ชัดเจน (ถ้ามีเด็กบริการให้จอดรถให้ถ่ายรูปประกอบมาด้วยก็ดี เผื่อไว้เป็นพยานสำคัญที่สุด)
  • เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ (ในกรณีที่สถานที่ไม่ใครรับผิดชอบ) สามารถฟ้องฯ ด้วยตัวเองไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าตำรวจ
  ขอบคุณแหล่งข้อมูล/อ้างถึง : กฎหมายและคำพิพากษาฎีกาเปรียบเทียบ  : ป.พ.พ. ม.151, 373, 420, 657, 659, พ.ร.บ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ม.8, 10, 11  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ข้อ 83, 84 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2517, 749/2518, 1747/2520, 331/2524, 2529/2526  และ บริษัทสำนักงานกฎหมาย ลาสลอว์ จำกัด : พัฒนศักดิ์ ปิ่นศิริ
Tag :