เห็ดพิษ!! ภัยที่มากับหน้าฝน

by ThaiQuote, 3 มิถุนายน 2560

ปีนี้คนไทยต้องเจออากาศที่แปรปรวนเพราะต้องเจอกับมรสุมหลายลูกจากอากาศที่ร้อนมาก และร้อนนาน  เมื่อฤดูเปลี่ยนเราต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหาสุขภาพที่อาจตามมา  ปัญหาหนึ่งที่มักพบได้บ่อยในหน้าฝนโดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานเห็ดคือภัยจากเห็ดพิษ                 วิธีการสังเกตเห็ดพิษ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ได้จำแนกเห็ดพิษออกเป็น  7 กลุ่มดังนี้ 1. เห็ดระโงกหิน มีสารพิษที่สามารถทำลายเซลล์ของตับ ไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบหายใจ และระบบสมอง  ทำให้ถึงแก่ชีวิตภายใน 4-10 ชั่วโมง เป็นสารพิษที่ร้ายแรงที่สุด 2. เห็ดสมองวัว เป็นกลุ่มสารพิษ Monomethylhydrazin ที่ทำให้คนถึงแก่ความตาย หากรับ ประทานเห็ดดิบ และน้ำต้มเห็ด พิษจะทำลายระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และเซลล์ตับ 3. เห็ดหิ่งห้อย มีสารพิษ Coprine ที่กระทบต่อระบบประสาท ซึ่งเมื่อรับประทานกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 4. เห็ดเกล็ดดาว มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการเพ้อคลั่ง เคลิบเคลิ้มและหมดสติเป็นเวลานาน  แต่ไม่ถึงแก่ชีวิต ยกเว้น มีโรคอื่นแทรกซ้อนอยู่ หรือเป็นเด็ก 5. เห็ดขอนเกล็ดสีแดง และเห็ดขี้ควาย สารพิษ Psilocybin และ Psilocin กลุ่มนี้  จะทำให้มีอาการประสาทหลอน มึนเมา ถึงขั้นวิกลจริต  เห็นอะไรเป็นสีเขียว ต่อมาอาการจะเป็นปกติ และถ้ารับประทานเป็นจำนวนมากอาจถึงตายได้  สารพิษตัวนี้ ยัง มีฤทธิ์เหมือนกัญชา จึงเป็นที่ต้องการของตลาด และมีการซื้อขายกันอย่างลับๆ ในประเทศไทย ตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อ จัดได้ว่าเป็นเห็ดที่ใช้แทนยาเสพติดชนิดหนึ่ง 6. เห็ดหัวกรวดครีบเขียว เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดไข่หงษ์ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง หากรับประทานในจำนวนมากอาจถึงตายได้ ดังนั้น การรับประทานเห็ดชนิดเดียวกันบางคนแสดงอาการ  บางคนก็ไม่แสดงอาการ                 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากพบผู้ป่วยจากการรับประทานเห็ดพิษ  ให้ดื่มน้ำผสมเกลือ  แล้วล้วงคอทำให้อาเจียน  เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ หลังจากนั้นให้รับประทานผงถ่าน (activated charcoal) ผสมกับน้ำให้ข้นเหลวคล้ายโจ๊ก (slurry) โดยผู้ใหญ่ใช้ 30–100 กรัม เด็กใช้ 15–30 กรัม เพื่อดูดสารพิษของเห็ดในทางเดินอาหาร  แต่ถ้าไม่มี  ให้ใช้ไข่ขาวแทน  ก่อนนำส่งโรงพยาบาล พร้อมกับนำตัวอย่างเห็ดไปด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบ และวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง                 ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคเห็ด ควรเลือกรับประทานเห็ดที่คุ้นเคย และมั่นใจว่าเป็นเห็ดที่รับประทานได้เท่านั้น ต้องปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง ห้ามบริโภคเห็ดสดๆ หรือเห็ดดองโดยเด็ดขาด  เลือกเห็ดที่มีลักษณะสดใหม่ ไม่เน่าเสีย ไม่มีเมือก  ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการรับประทานเห็ด และไม่รับประทานคราวละมากๆ เพราะย่อยยาก ไม่ควรเก็บเห็ดที่ขึ้นตามบริเวณที่อาจมีการใช้สารเคมี เช่น สนามหญ้า ข้างถนน เป็นต้น ขอบคุณแหล่งข้อมูล/ภาพ : anyapedia, pharmacy.mahidol.ac.th

Tag :