เชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงกับ 3 สนามบินหลักรองรับ EEC

by ThaiQuote, 23 พฤศจิกายน 2560

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสหากรรม หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กนศ.) กล่าวว่า ที่ประชุม กนศ. รับทราบความคืบหน้าแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมเชิญเอกชนร่วมลงทุนในเดือนกุมภาพันธ์ปี 61 และคัดเลือก เจรจาต่อรองให้เสร็จเดือนกรกฎาคม เปิดให้บริการในปี 2566  การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก ประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนในเดือนพฤษภาคม 61 คัดเลือก ต่อรองให้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม เปิดให้บริการปี 2566  โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ บริษัทการบินไทย และแอร์บัส เตรียมจัดทำรายละเอียดร่วมทุนกับเอกชน (TOR)ในเดือนมีนาคม 2561 เร่ิมดำเนินงานในปี 2564  ส่วนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เช่น รันเวย์ที่ 2 สร้างทางขัน Taxiway เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มเติม นอกจากนี้ได้รายงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เตรียมเชิญเอกชนร่วมลงทุนในเดือนมิถุนายน 61 คัดเลือกเจรจาต่อรองให้แล้วเสร็จตุลาคม และเปิดให้บริการในปี 2568 ท่าเรือมาบตาพุดอยู่ระหว่างศึกษา EIA เชิญเอกชนร่วมลงทุนได้ในเดือนมิถันายน61 และคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายน เปิดให้บริการในปี 2567 การสร้างรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ จัดทำ EIA แล้วเสร็จในปี 2562 เปิดให้บริการได้ในปี 2566 โดยทุกโครงสร้างพื้นฐานกำหนดให้เขียน TOR เร่ิมเติมเพื่อให้นำยางพารามาใช้เป็นองค์ประกอบในการก่อสร้าง เพื่อช่วยเหลือยางพาราในประเทศอีกด้านหนึ่ง ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้เห็นชอบแผนพัฒนาบุคคลากร การศึกษา การวิจัย (ปี 60-64) เพื่อการพัฒนาบุคคลากรด้านอาชีวะให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มาตั้งในเขต EEC ผ่านความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ  จึงอนุมัติงบกลางปี 61 วงเงิน 861 ล้านบาท ผลิตครูต้นแบบในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 150 คน หวังให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ สาระสนเทศ ด้านอาชีวะ จำนวน 40,000 คน และร่วมมือกับบริษัทเอกชนชั้นนำของโลก เช่น โบอิ้งร่วมพัฒนาช่างด้านการบิน กับตัน บุคคลากรด้านการบิน  และรายื่นช่วยพัฒนาด้านการแพทย์ ที่ประชุมต้องการให้คนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเขต EEC ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ นายคณิศ  แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีบริษัทเอกชนรายใหญ่หลายราย พร้อมร่วมจัดทำหลักสูตรการเรียนร่วมกับสถาบันการศึกษา นำนักเรียนเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.5  เข้าอบรมหลักสูตร พร้อมจ่ายเบี้ยเลี้ยงระหว่างการเรียน 5,000-10,000 บาท จ่ายค่าเทอม 4  ภาคเรียนและสวัสดิการ หากเรียนจบพร้อมรับเข้าทำงานรายได้ 25,000-28,000 บาทต่อเดือน ในปีแรกต้องการผลิตนักเรียนอาชีวะให้ได้ 5,000 คน โดยนำนักเรียนมาเข้าค่ายเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์ ช่างชั้นฝีมือ ส่วนระดับประถมศึกษา เตรียมจัดทำรถโมบายออกให้ความรู้กับนักเรียนทั่วประเทศ EEC ไม่ได้พัฒนาเฉพาะเรื่องอุตสาหกรรม แต่ต้องพัฒนาแรงงาน การท่องเที่ยวในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกด้าน

Tag :