พาณิชย์-จีนยกระดับส่วนร่วมยุทธศาสตร์สู่การค้ายุคใหม่

by ThaiQuote, 22 เมษายน 2561

พาณิชย์ร่วมหารือกับจีนเพื่อแสวงหาความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ ตั้งแต่แนวคิด Belt and Road โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ผลักดันความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ตลอดจนลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษ แม่โขง - ล้านช้าง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561 เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (นายหลู่ย์ เจี้ยน) ได้เข้าพบและทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า แนวคิด Belt and Road (B&R) ของท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของไทย โดยเฉพาะการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) นายสนธิรัตน์ฯ กล่าวว่า ฝ่ายจีนยินดีกับความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างรัฐบาลไทยและจีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา)โดยเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยขยายการค้าการลงทุน และนำไปสู่การพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาคที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โอกาสนี้ ไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้าการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับไทย (Joint Committee of Trade, Investment and Economic Cooperation between Thailand and China: JC) ครั้งที่ 6 ระดับรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกลไกการหารือทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยเวทีหารือดังกล่าวจะเป็นโอกาสดีที่ผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสหารือแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงด้านการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคเพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงทางกายภาพต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการผลักดันความร่วมมือในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมณฑลในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้าจูเจียง อาทิ เมืองกว่างโจว และเมืองเซินเจิ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก และผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งฝ่ายจีนพร้อมสนับสนุนไทยในเรื่องดังกล่าว และแจ้งว่าจีนมีกาหนดจัดงาน China International Import Expo ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะได้เจรจาธุรกิจโดยตรงกับผู้นาเข้าจีน และนาเสนอสินค้าและบริการของไทย ให้ผู้บริโภคชาวจีนได้รู้จักมากยิ่งขึ้นด้วย หลังจากนั้น สองฝ่ายได้ลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษ แม่โขง - ล้านช้าง เพื่อรับมอบเงินงบประมาณ 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 60 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นาโขง (กัมพูชา จีน ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรมแดน โดยนาแนวคิดการทาโมเดลเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) อาทิ เขตการค้าเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Pilot Trade Zone) ของจีนเป็นต้นแบบ โครงการพัฒนาการอำนวยความสะดวก ตามแนวชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสอดคล้องของระบบการบริหารจัดการตามแนวชายแดน อาทิ พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจะช่วยให้การปล่อยสินค้ามีความคล่องตัว และการบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง โครงการจัดกิจกรรมเวทีภาคธุรกิจ แม่โขง – ล้านช้าง เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการแม่โขง - ล้านช้าง อาทิ การจัดงานแสดงสินค้า การจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ การนำคณะนักธุรกิจเยือนประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และโครงการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตชนบท ซึ่งจะช่วยให้ SMEs ในชนบทมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและบริการได้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยจีนเป็นตลาดส่งออกและนำเข้าอันดับ 1 ในขณะที่ไทยเป็นตลาดส่งออกลาดับที่ 15 และเป็นตลาดนาเข้าลาดับที่ 10 ของจีน ในปี 2560 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 73.67 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 11.9 และในปี 2561 (ม.ค.-ก.พ.) การค้าระหว่างไทยกับจีนมีมูลค่า 12.90 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 19.6 สาหรับสินค้าส่งออกสาคัญ ของไทย ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ในขณะที่ไทยนาเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์ และส่วนประกอบ/อุปกรณ์ยานยนต์ เป็นต้น
Tag :