ทำไม? นอนดึก นอนน้อย ทำให้ปวดหัว

by ThaiQuote, 19 พฤษภาคม 2561

ยิ่งถ้าเรานอนน้อยจากเราเครียด หรือใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ใช้สายตามากๆ สิ่งเหล่านี้ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เราปวดศีรษะได้ คนที่เป็นไมเกรนอยู่แล้ว การนอนน้อยจะยิ่งกระตุ้นให้ไมเกรนเป็นเยอะขึ้น คนที่เป็นไมเกรนจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกและก็ไม่เครียด นอกจากนี้ร่างกายจะอ่อนเพลีย อาจทำให้เป็นโรคอ้วน และถ้าเป็นในช่วงวัยรุ่นอาจทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเต็มที่ได้นะครับ   การนอนของแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หมอแนะนำว่าควรเข้านอนให้เป็นเวลา ปิดไฟ งดเล่นสมาร์ทโฟนก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น นอนเฉลี่ยให้ได้วันละ 6-8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย โดยนอนให้เร็วไม่ดึกมาก เพราะบางทีการนอนดึกไปถึงจะนอนเยอะก็อาจช่วยอะไรไม่ได้มาก   ช่วงไหนควรนอนเท่าไหร่   วัยทารก ทารกมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ต้องการ 17 ชั่วโมงของการนอนหลับแต่ละวันเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ และช่วยให้พวกเขามีเวลาในการเรียนรู้สิ่งใหม่  ๆ   วัยเด็กหัดเดิน เด็กวัยหัดเดิน อยู่ไม่ค่อยนิ่ง ดังนั้นต้องการการพักผ่อนมาก เด็กอายุหนึ่งถึงสองปี ต้องการนอนหลับระหว่าง 10 และ 13 ชั่วโมงต่อวัน   วัยเด็กโต เด็กโต ก็อยู่ไม่ค่อยนิ่ง  มีการเรียนรู้ และการพัฒนา ในอัตราที่สูงมาก  ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการการพักผ่อนมากมาย สำหรับวัยนี้ ความต้องการในการนอนอาจแตกต่างกันไป โดยทั่วไป ต้องการประมาณ  9-10 ชั่วโมง ของการนอนหลับตอนคืน  และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อโตขึ้น   วัยรุ่น วัยรุ่น โดยทั่วไปต้องการนอนประมาณ 9 ชั่วโมงในแต่ละคืน - แต่ พวกเขามักจะนอนไม่เพียงพอ  มันไม่ใช่เรื่องแปลก สำหรับวัยรุ่นที่ต้องการที่จะนอนดึกแล้วบ่นเกี่ยวกับการตื่นแต่เช้าเพื่อไปโรงเรียน  อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลทางชีววิทยาที่อาจอธิบายเรื่องนี้  รูปแบบการนอนหลับตามธรรมชาติเปลี่ยนไปในวัยรุ่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเชื่อว่า ช่วยให้เกิดความง่วง จะถูกสร้างขึ้นมาช้ากว่า ทำให้รู้สึกง่วงนอนตอนดึกมาก ๆ  เรียกว่า โรคนาฬิกาชีวภาพเดินช้า การพยายามให้วัยรุ่นนอนและตื่นเป็นเวลาเดิมทุกวันจะช่วยให้วัยรุ่นได้รับการนอนหลับที่พวกเขาต้องการ   วัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไปผู้ใหญ่ต้องการการนอนหลับ 7 – 8 ชั่วโมง แต่บางคน สามารถทำงานได้หลังจากนอนหลับเล็กน้อย  เราสามารถอดนอนได้เป็นครั้งคราว – ซึ่งทำให้เพียงแค่รู้สึกเหนื่อยล้าในวันถัดไป  การขาดการนอนหลับอย่างต่อเนื่อง ( นอนไม่หลับ ) อาจส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในบางกิจกรรม เช่น การขับรถอย่างปลอดภัย   ควรพบแพทย์หากมีปัญหาการนอนหลับและส่งผลต่อความสามารถในการทำงานในระหว่างวัน   ผู้สูงอายุ อายุที่มากขึ้นไม่ทำให้ความต้องการนอนหลับลดลง ผู้สูงอายุยังคงต้องการนอนหลับแปดชั่วโมง  อย่างไรก็ตาม การหลับสนิทจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ตื่นง่ายขึ้นหลังจากนอนไปได้3 – 4 ชั่วโมง  และหลับต่อได้ยากขึ้น หากนอนหลับไม่เพียงพอในเวลากลางคืนก็จะรู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน นอกจากนั้นผู้สูงอายุมักจะหลับเร็วขึ้นและตื่นเช้าขึ้นกว่าเดิม   การปรับเปลี่ยนรูปแบบการนอนหลับ เช่น หลังการเดินทางโดยเครื่องบิน ก็รู้สึกจะยากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น
Tag :