ส่องขั้นตอนส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความเป็นไปได้ส่งตัว ‘ยิ่งลักษณ์’

by ThaiQuote, 1 สิงหาคม 2561

ทำให้เกิดการพิพากษ์วิจารณ์กันอีกครั้งว่า จะสำเร็จหรือไม่ เพราะอย่างกรณีล่าสุด เรื่องอดีตพระพรหมเมธี ยื่นขอลี้ภัยกับประเทศเยอรมนี หลังหนีคดีโกงเงินวัด  ซึ่งได้รับการคุ้มครองไปแล้วทันทีหลังยื่นขอลี้ภัย อย่างไรก็ตาม   ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้แก่ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 และได้มีการปรับปรุงและออกเป็นกฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศไทยต้องยึดตามกฎหมายของไทยนั่นเอง เช่นเดียวกันกับการที่ประเทศไทยร้องขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนจากต่างประเทศ ก็ต้องยึดตามกฎหมายของประเทศเจ้าของดินแดน โดยศาลยุติธรรมของประเทศนั้นๆจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะมีการส่งตัวให้หรือไม่  ทั้งนี้ศาลยุติธรรมของประเทศเจ้าของดินแดนจะไม่พิจารณาเรื่องความผิด แต่จะพิจารณาว่าเห็นควรส่งตัวให้หรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปหากไม่ใช่คดีความที่เป็นความผิดทางการเมือง หรือ ศาสนา ก็มักจะส่งตัวให้ตามคำร้อง ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับ 14 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิจิ เบลเยียม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ และกัมพูชา และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องทางอาญา   กับประเทศต่างๆ 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และอินเดีย และเสร็จสิ้นการเจรจาทำความตกลงในเรื่องนี้กับจีน เกาหลี โปแลนด์ ศรีลังกา ออสเตรเลีย และเบลเยียม   สำหรับขั้นตอนในการร้องขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนของไทยนั้น จะเริ่มต้นที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะมีการทำเอกสารร้องขอให้มีการส่งตัวบุคคลกลับมาดำเนินคดีความในประเทศไทย โดยแนบเอกสารหลักฐานระบุการกระทำความผิด หรือคำพิพากษาความผิดของบุคคลนั้นๆ แล้วส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของประเทศที่ต้องการร้องขอตามขั้นตอนกฎหมายของประเทศนั้นๆต่อไป เช่นเดียวกันกับการที่ต่างประเทศร้องขอให้ประเทศไทยส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศไทย กระบวนการทุกอย่างก็จะเริ่มที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยเช่นกัน   อย่างไรก็ตาม  แม้จะมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่อำนาจในการส่งหรือไม่ส่งตัวก็เป็นสิทธิขาดของประเทศเจ้าของดินแดน ซึ่งแม้การร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายจะเป็นการใช้วิธีการแบบต่างตอบแทนทางการทูต แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของกฎหมายของประเทศเจ้าของแดน เช่น หากเป็นคดีการเมือง ศาสนา จะไม่มีการส่งตัวให้ หรือ หากความผิดที่มีการร้องขอไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายของประเทศเจ้าของดินแดน ทางผู้ต้องหาก็สามารถที่จะต่อสู้ในชั้นศาลเพื่อขอให้ศาลของประเทศนั้นๆไม่ส่งตัวได้ หรือ ในหลายกรณีผู้ต้องหาก็มีการร้องขอต่อศาลมิให้ส่งตัวตามคำร้องเนื่องจากเหตุผลทางด้านความยุติธรรมเช่น อ้างว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศที่ร้องขอไม่ได้มาตรฐานและตนเองจะไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือได้รับอันตราย  จึงเห็นได้ว่าถึงแม้จะมีการร้องขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่ก็ใช่ว่าจะได้รับความร่วมมือทุกครั้งไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กฎหมาย ข้อกล่าวหา คดีความ และสถานภาพของประเทศด้วยนั่นเอง