เอกชน เสนอเพิ่ม 2 แนว SEC บน-ล่าง

by ThaiQuote, 20 สิงหาคม 2561

กระทรวงอุตสาหกรรม จัดประชุมหารือหัวหน้าราชการและภาคเอกชนพื้นที่ภาคใต้ นำเสนอ ครม.สัญจร ชุมพร-ระนอง เมื่อวันที่ 20 ส.ค.61 โดยในระหว่างการประชุม ดร.ไพโรจน์ ชัยจิระธิกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการกิจการโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอถึงโครงการะเบียงเศรษฐกิจภาตใต้ หรือ SEC ว่า ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จะเชื่อมโยงการพัฒนาระหว่าง ภาคกลางและภาคใต้ เชื่อมทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ที่สำคัญพื้นที่ภาคใต้แบ่งเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน มีพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยยาวประมาณ 507 กม. ส่วนฝั่งอันดามันยาว 570 กม. ดังนั้นหากจะมีการบูรณาการภาคใต้ จำเป็นที่จะต้องแบ่งพื้นที่การพัฒนาเป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ตอนล่างและตอนบน เพื่อการเชื่อมต่อภายในภาค ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวจากการร่วมหารือกับภาคเอกชนต่างเห็นด้วย ซึ่งการมีระเบียงเศรษฐกิจทั้งตอนบน-ล่าง จะช่วยส่งผลดีต่อจังหวัดในภาคด้วย จะมีการพัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน   สำหรับโครงการจะแบ่งเป็น SEC ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี โดยมีโครงการดังนี้
  1. ชุมพร พัฒนาเป็นแอ่งผลไม้ การท่องเที่ยว Eco-tourism และจุดเชื่อมต่อรถไฟจากภาคกลาง
  2. ระนอง จะพัฒนาให้เป็นท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงท่าเรือทวายและกลุ่มประเทศ BIMSTEC
  3. สุราษฎร์ธานี จะพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมชีวภาพ Oil-Palm City การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ เมืองสมุนไพร และพัฒนาท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise)
ขณะที่โครงการะเบียงเศรษฐกิจภาตใต้ตอนล่าง อยู่ในพื้นที่ 2 จังหวัดคือ  สงขลา และสตูล โดยตั้งเป้าเป็นพื้ที่พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและโลจิสติกส์ คือ 1.สงขลา เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาสำคัญของภาคใต้คือ ม.สงขลานครินทร์(มอ.) จึงจะพัฒนาให้เป็นพื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนา (R&D) พัฒนานวัตกรรม อุตสาหกรรม บุคลากร ด้านการเกษตร ยางพารา อาหาร ประมง การแพทย์ครบวงจร สมุนไพร การค้า โลจิสติกส์ ดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ พลังงานทางเลือก และโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนามอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา, ท่าเรือสงขลา 2 และด่านชายแดน เชื่อมโยงภาคใต้ชายแดน, IMT-GT,ASEAN, BIMSTEC, การค้าโลก   2.สตูล จะพัฒนาอุทยานธรณีโลก พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับโลก แหล่งผลิตสินค้าฮาลาล รวมทั้งการท่องเที่ยวโดยเป็นสะพานเชื่อม ต.ปูยู(ไทย)-ปะลิส(มาเลเซีย)   นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการจัดตั้ง SECd พื้นที่ Digital Park ของ SEC โดยใช้พื้นที่ ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปสินค้าเกษตรต่างเช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมง พืชอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้ดิจิทัลกับการเกษตร การขยายผลการใช้งานแบบบูรณาการระหว่างระบบคัดแยกทะลายปาล์ม ด้วยแอพพลิเคชั่น“ปาล์มเวลา” เป็นต้น
Tag : SEC