สมอ. เร่งปรับปรุงน้ำปลาไทยตามมาตรฐานสากล

by ThaiQuote, 28 ตุลาคม 2561

นายวันชัย พนมชัย รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า มาตรฐานน้ำปลาเป็นมาตรฐานทั่วไป หรือมาตรฐานสมัครใจ ผู้ผลิตจะยื่นขอการรับรองหรือไม่ก็ได้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตน้ำปลาได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. จำนวน 14 ราย ซึ่งขณะนี้ สมอ. อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานน้ำปลาพื้นเมือง มอก. 3-2526 ให้สอดคล้องตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission - CAC) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานน้ำปลาที่ สมอ. จะกำหนดใหม่นี้ จะควบคุมสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ทั้งโลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท รวมถึงสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเกิดในกระบวนการหมักน้ำปลา ถือเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายในอาหาร หากบริโภคเข้าไปจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รวมทั้งควบคุมในเรื่องของปริมาณสารอาหารในน้ำปลา เช่น ไนโตรเจน โซเดียม ให้เป็นไปตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2562 นอกจากมาตรฐานน้ำปลาแล้ว สมอ. ยังดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานเครื่องปรุงรสอีก 2 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานน้ำส้มสายชู และน้ำซอสปรุงรส โดยมาตรฐานน้ำส้มสายชูดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานแล้วเสร็จ โดยปรับแก้ใน 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมปริมาณสารปนเปื้อนต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย และภาชนะที่ใช้บรรจุจากเดิมให้ใช้เฉพาะขวดแก้ว แก้ไขเป็นสามารถบรรจุในขวดพลาสติกได้ แต่ต้องเป็นขวดที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. เท่านั้น ในส่วนมาตรฐานน้ำซอสปรุงรสจะดำเนินการหลังจากปรับแก้มาตรฐานน้ำปลาแล้วเสร็จ ซึ่งหลักการของ สมอ. ในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารนั้น จะกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานอาหารในระดับสากล และให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคภายใน