ปอนด์ต่อปอนด์ ! เปรียบผู้สมัครชิงส.ส.กทม.เขต 8

by ThaiQuote, 28 กุมภาพันธ์ 2562

เขตการเลือกตั้งที่ 8 ประกอบด้วยเขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงพลับพลา)


กษิดิ์เดช ชุติมันต์ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 2
อดีตส.ก.เขตลาดพร้าว พรรคประชาธิปัตย์ ย้ายข้ามห้วยมาร่วมงานกับพลังประชารัฐ จบการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สาขาครุศาสตร์บัณฑิต เอกภาษาอังกฤษ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง หลักสูตร นักบริหารระดับสูง สำหรับสมาชิกสภากรุงเทพฯ (สถาบันพระปกเกล้า) 2550 หลักสูตร เสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาเขตรุ่นที่ 4 (สถาบันพระปกเกล้า) 2543

ประวัติการทำงาน เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัทเกษตร ยูคา จำกัด (แปรรูปไม้ยูคาลิปตัสเพื่อการส่งออก) เจ้าหน้าที่ประสานงานราชการและการตลาด บริษัท เอส.ซี.จี. จำกัด (รับสร้างปั๊มน้ำมัน, ปั๊มแก๊ส, โรงบรรจุแก๊ส ประมูลงานจาก ป.ต.ท. และเอกชน) กรรมการบริหาร บริษัท โอทีที เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด (รับออกแบบสร้างคลังน้ำมัน, ระบบดับเพลิง, โรงบรรจุก๊าซ ประมูลงาน จาก ป.ต.ท. การบินไทย และเอกชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โอทีกรุ๊ป จำกัด (รับออกแบบและสร้างบ้าน)


ร.ท.หญิง สุณิสา ทิวากรดำรง พรรคเพื่อไทย หมายเลข 6
จบปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท จากคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผ่านการฝึกอบรมจากสำนักข่าวเอพีทีเอ็น (ประเทศไทย) ได้รับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นฝึกงานกับสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของญี่ปุ่น 3 เดือน

สำหรับการทำงาน เคยรับราชการเป็นนายทหารแปลข่าวต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2543 สังกัดกรมสรรพาวุธ ต่อมาปี พ.ศ. 2545 ย้ายมาสังกัดศูนย์วิทยุกองทัพบก จัดรายการวิทยุโดยใช้ชื่อว่า "หมวดเจี๊ยบ" กระทั่งย้ายมาเป็นผู้สื่อข่าวสายทหาร ททบ.5 และผู้ประกาศข่าวพยากรณ์อากาศ ปี พ.ศ. 2550 เธอได้ลาออกจากราชการ และเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 30 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับอรอนงค์ คล้ายนก จากพรรคประชาธิปัตย์

เลือกตั้งปี 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 113


สรรเสริญ สมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 16
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงสู้ศึกนี้ด้วยตนเองในเขตนี้ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบัญชีต้นทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินการคลัง มหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจเอเซีย จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์[3]

สำหรับการทำงานเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเศรษฐกิจของ ธนาคารโลก (WORLD BANK) ประจำกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2541-2543) ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 จึงมาเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตรปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วราไพรินทร์ ธนวริสพร พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข10
มีผลงานที่คุ้นตาจากเป็นดารานักแสดง สงครามนางงาม แม้จะเป็นสาวสวยชัยภูมิ แต่อยากเปลี่ยนแปลงลาดพร้าวให้น่าอยู่

ร.ท. ธนเดช เพ็ง พรรคอนาคตใหม่ หมายเลข 12
จบการชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยฯ รุ่นที่41 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมทหาร (นตท.52) ระดับปริญญาตรี สาขาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (นนอ.59)

สำหรับผู้สมัครจากพรรคอื่นๆมีดังนี้
วีรินทร์ ตันเสรีสกุล พรรคเพื่อชาติ หมายเลข 1
จิณณา สืบสายไทย พรรคภูมิใจไทย หมายเลข3
ศิรธันย์ แสงสินธุศร พรรคประชาชาติ หมายเลข 4
สิทธา แจ้งสุข พรรคประชาภิวัฒน์ หมายเลข 5
ปิณญาดา ตันติมนตรี พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 7
กรกฤษณ์ วงศ์คุณหยก พรรคชาติพัฒนา หมายเลข 8
ผนึก ธัญรส พรรคพลังธรรมใหม่ หมายเลข 9
เจษฎา ศรีสุข พรรครวมพลังประชาชาติไทย หมายเลข 11
ปราช จันทองจีน พรรคประชาชนปฏิรูป หมายเลข 13
ทนงศักดิ์ รักอารมณ์ พรรคไทยศรีวิไลย์ หมายเลข 14
วันสว่าง เต็มชำนาญ พรรคพลังท้องถิ่นไท หมายเลข 15
ณัฐภรณ์ ชมตระกูล พรรคประชานิยม หมายเลข 17
รัชพล เกิดศิลป์ พรรคภราดรภาพ หมายเลข 18
ธนพรรณ ศุณะมาลัย พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย หมายเลข 19
สนั่น พานทอง พรรคกลาง หมายเลข 20