รัฐบาลเร่งพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ 7 แสนคน รองรับอีอีซี

by ThaiQuote, 17 พฤษภาคม 2562

รัฐบาลดึงสถาบันการศึกษาร่วมผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รองรับอีอีซี 745,000 คน เร่งนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งในด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายและการเกษตร นำ Big Data และ AI เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากร


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประชุมหารือ “การสร้างบัณฑิตพันธ์ใหม่ เพื่อพัฒนากำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” เน้นย้ำว่า ไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้าง รัฐบาลจึงผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง การผลิตต่อหน่วยต้นทุนลดลง ความแม่นการผลิต ระบบ Big Data ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ทุกหน่วยงานต้องเก็บข้อมูล ทั้งลูกค้า นักเรียน การสอน การผลิตบุคคลากร การศึกษาวิจัย นโยบายของรัฐออกมาจะผลิตบุคคลรองรับอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์ ขณะที่หน่วยงานไทยกุมข้อมูลเอาไว้เพื่อกุมอำนาจ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จึงต้องปรับพฤติกรรมดังกล่าว


ปัจจุบันใช้ AI จัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ยอมรับว่าเทคโนโลยีกระทบไปในทุกวงการ ขณะที่วงการศึกษา ต้องเร่งปรับตัวรองรับความต้องการแรงงานคุณภาพยุคใหม่ สำหรับในภาคชนบทหากสอนให้ชุมชน เรื่องจัดทำเว็บไซต์ ขายสินค้าผ่านออนไลน์ การผลักดันท่องเที่ยวเมืองรองในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านนำเงินมาใช้จ่าย จึงต้องผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มเติมจาก 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เร่งพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาด้านเกษตร และการท่องเที่ยว เมื่อสินค้าเกษตรดีขึ้น การท่องเที่ยวจะตามมา หนุนให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ การพัฒนาท้องถิ่นเน้นด้านเกษตร ท่องเที่ยว ถึงเวลาแล้วสถาบันการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงการศึกษา รัฐบาลพร้อมสนับสนุนให้สำนักงบประมาณ ให้ความสำคัญพัฒนาด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยต้องการพาร์ทเนอร์มาร่วมพัฒนาบุคคลากร

โมเดลใหม่คือ บุคคลากรต้องมีทักษะ ส่งเสริมให้เอกชนต้องสถาบันขึ้นมาฝึกอบรม ร่วมกับสถาบันการศึกษา เพราะจะรับรู้ความต้องการแรงงาน ภาคเอกชนออกมาร่วมมือและสอน เติมความรู้ในโรงงาน นับว่าเป็นความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน เพื่อให้ภาคเอกชนฝึก เนื่องจากเขต EEC จะเป็นศูนย์สำคัญในการสร้างแรงงานคุณภาพ ส่งเสริมให้สถาบันศึกษาต่างประเทศเข้าขยายการผลิตบุคคลากร ร่วมมือกับไทย


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ชี้แจงว่า เขตอีอีซีต้องการแรงงานในช่วง 5 ปี ข้างหน้า ผ่าน 7 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและ 3 โครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 475,000 คน ผ่านการพัฒนาหลักสูตร 200 หลักสูตร โดยสาขาดิจิตอลต้องการแรงงาน 1 แสนคน และด้านโลจิสติกส์ต้องการนับแสนคน การประชุมในเวทีครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะรัฐบาลตั้งงบประมาณ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมดำเนินการรองรับนโยบายพัฒนาแรงงานแล้ว รัฐบาลเห็นความสำคัญในการพัฒนาด้านอาชีวะ จึงทดลองใช้สัตหีบโมเดล เริ่มพัฒนาเด็กอาชีวะ จ่ายเบี้ยเลี้ยง 4,000 บาทต่อเดือน เมื่อเรียนจบให้ค่าฝึกงาน 300 บาทต่อวัน หากเรียนจบรับเข้าทำงานเงินเดือนขั้นต่ำ 20,000 บาทต่อเดือน จากเดิมผลิตได้ 200 คน ขยายเพิ่มเป็น 6,000 คน ในปีนี้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะพ้นจากปัญหาผลิตบุคคลากรมาแล้วตกงาน เพราะได้มีเอกชนสนใจจำนวนมากมาร่วมโครงการ

นพ.อุดม คชินทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รายงานที่ประชุม ว่า การผลิตบุคคลากรของไทยยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานคุณภาพ รองรับเศรษฐกิจดิจอตอล วันนี้ทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันตอบโจทย์ยุทศาสตร์ชาติ และความต้องการแรงงาน ต้องเพิ่มรายได้ประชากร 37,000 ดอลาร์สหรัฐต่อปี จากปัจจุบันมีเพียง 15,000 ดอลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวขบวน เน้นการวิจัยและนวัตกรรม เป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจอตอล การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ต้องร่วมมือกับทั้งภาครัฐ เอกชน ต้องคิดใหญ่ สร้างคนไทย 4.0 มีความสามารถสูง ดิจิตอลไทยอยู่ในทุกเวทีโลก มีส่วนพัฒนาโลกให้ดีขึ้น

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีแผนสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มุ่งจัดการด้วยข้อมูล Big Data ยกระดับการวิจัย เน้นสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ยกระดับการพัฒนาคนให้มีสมรรถนะสูง รองรับ ภาคอุตสาหกรรมและไทยแลนด์ 4.0 ต้องเรียนรู้มุมมองใหม่ ผลักดันการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มทักษะ นวัตกรรม ต้องสร้างแพลทฟอร์มเพื่อพัฒนาการเรียน การสอนยุคใหม่ ให้คนทำงานมาเรียนเพิ่มเติม 8 เดือนถึง 1 ปี มาพัฒนาคุณภาพ ต่อยอดผ่านการเรียน การสอนใหม่ เพื่อร่วมดีไซด์หลักร่วมกับภาคเอกชน โดยเน้นกลุ่มอาชีวะ ช่างฝีมือในสัดส่วนร้อยละ 70 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใน 1 ปี รองรับเอกชนที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก ขณะที่ระดับปริญญาตรี โท เอก ต้องการประมาณร้อยละ 30 เพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ

ขณะนี้ สหภาพยุโรป ได้ปรับตัวรองรับเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ ได้เริ่มปรับตัวเน้นการวิจัย นวัตกรรม การส่งเสริมการเรียนจากประสบการณ์ทำงานจริง ความรู้เดิมจะหายไป การดึงดูดการลงทุน การเรียนรู้ร่วมกัน และเน้นใช้เทคโนโลยีร่วมกับวิทยาศาสตร์ สหรัฐทุกองค์กรปรับตัวหมดแล้ว ผ่านการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีถึงร้อยละ 75 ขณะที่จีนประกาศการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดโลก Made In china เป็นสินค้าคุณภาพอย่างภาพภูมิใจไม่มีลอกเลียนแบบ เมื่อทั่วโลกได้ปรับตัวแล้ว ประเทศไทยจึงต้องเร่งปรับตัวรองรับกระแสโลกยุคดิจิตอล.

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
รัฐบาลเร่งผลักดัน “ไซเบอร์พอร์ตไทยแลนด์” สร้างสตาร์ทอัพ