โมเดลทรานส์ฟอร์มยูนิโคล่ ฉีกตลาดแฟชั่นสู่แบรนด์ยั่งยืน

by ThaiQuote, 11 กันยายน 2566

 

โลกแฟชั่นสวยงาม แต่หาความยั่งยืนไม่ได้ มาแล้วก็ไปเป็นเรื่องจริง
วันที่โลกของเรา ผู้บริโภค และภาคธุรกิจเริ่มถามหาความรับผิดชอบต่อวงการ “แฟชั่น” อุตสาหกรรมที่ได้ชื่อว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับ 2 รองจาก น้ำมัน และก๊าซ อุณหภูมิโลกเดือด วงการแฟชั่น สาเหตุของการเพิ่มมลพิษ ก๊าซเรือนกรจก และขยะ จึงต้อง เป็นนำเทรนด์ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ความคิด ไปสู่ ”แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” มากกว่า ความงาม หรูหรา

แบรนด์เสื้อผ้า ยูนิโคล่ (UNIQLO) เติบโตจากญี่ปุ่น มีสาขากระจายไปทั่วโลก จำนวน 2,394 ร้าน ในปี 2022 และมียอดขายขยายตัวต่อเนื่อง ภายใต้คอนเซ็ปต์ LifeWear สวมใส่ได้ยาวนาน จัดกลยุทธ์ธุรกิจให้กลับมามองด้านความยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2566 ทำให้เสื้อผ้าเป็นปัจจัย4 ที่ทุกคนต้องการสวมใส่ ส่งต่อผลกระทบไปสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม แม้จะมีสาขาจำหน่ายสินค้าในรูปแบบ ซื้อหาได้ง่ายและสะดวก (Fast Retailing)

เมื่อ Fast Retailing การนำระบบที่ยั่งยืนและการเติบโตทางธุรกิจผ่าน LifeWear ของธุรกิจเสื้อผ้าแบรนด์ที่กระจายสินค้าไปทั่วโลก ฟังดูมีความขัดแย้งระหว่างมีอายุ “ยืนยาว” กับ “ขายรวดเร็ว” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ธุรกิจของยูนิโคล่ บริษัทแม่ วางจุดยืนให้สินค้าเข้าถึงคนทุกกลุ่ม โดยการมีสาขากระจายอยู่จำนวนมากทั่วโลกปัจจุบันมีกว่า 2 พันสาขา จึงทำยอดขายเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2565 ปี ที่ผ่านมามีรายได้ถึง 2.3 ล้านล้านเยน (ประมาณ 15,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยอดขายฟื้นกลับมาเป็นบวกต่อเนื่องในทุกตลาด ทำให้ปี 2566มีการขยายร้านค้าไปในต่างประเทศครอบคลุมทั่วโลก หลังจากที่แบรนด์ได้รับการยอมรับในระดับโกลบอล



4กลยุทธ์ Fast Retailing โตเร็วพร้อมยั่งยืน
โดยกลยุทธ์ที่ ยูนิโคล่ใช้คือ กลยุทธ์การขยายธุรกิจพร้อมกันกับสร้างความยั่งยืน ผ่าน 4 การเติบโต คือ
1.สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน
2. เร่งขยายสาขา เปิดหน้าร้านไปทั่วโลก
3.สร้างประสบการณ์การซื้อของที่ผสมผสานร้านค้า และอีคอมเมิร์ซ
4.เป็นแบรนด์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมในทุกตลาดที่เข้าไป เป็นแบรนด์โกลบอล ที่เข้าถึงลูกค้าในประเทศที่เข้าไปลงทุน เสมือนเป็นประชากรในประเทศ (Citizen)

Life Wear อัตลักษณ์ เสื้อผ้าเหนือการเวลา

ด้วยความที่เติบโตมาจากหน้าร้านเสื้อผ้า Fast Retailing เป็นข้อครหาที่ไม่หลุดพ้นจากเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น แต่ขณะเดียวกัน ยูนิโคล่ ก็ปรับการรับรู้ที่มีต่อแบรนด์ ด้วยการทำให้เสื้อผ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องซื้อ และสามารถมีอายุการใช้งาน สวมใส่ได้คงทนยาวนาน (Life Wear)

 


ต้องยอมรับว่า แบรนด์เสื้อผ้า หลีกหนีไม่พ้นที่แบรนด์ในกลุ่มเสื้อผ้าเป็นส่วนหนึ่งที่ต้อง มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการช่วยลดอุณหภูมิโลก ในยุคที่โลกเดือด มีส่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามข้อตกลงปารีส ภายในปี พ.ศ.2568แบรนด์ยูนิโคล ก็ต้องวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs)ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในการให้ความสำคัญกับปัญหาทางสังคมในประเทศที่เข้าไปลงทุน มีการคำนึงถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งในธุรกิจ และห่วงโซ่อุปทาน มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักสากล


ก่อนหน้าที่ยูนิโคล่ อาจจะถูกจัดกลุ่มอยู่ใน แฟชั่นด่วน (Fast Fashion) แต่ในที่สุด ผู้บริหารก็วางกลยุทธ์ให้ลูกค้าเห็นความแตกต่าง เพราะยูนิโคล่ มาจาก Unique หมายถึง “เสื้อผ้าที่ไม่เหมือนใคร” บนความท้าทาย Fast Retailing แต่เสื้อผ้าเหนือกาลเวลา ไม่ตกยุค ตกเทรนด์ นำเสนออัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น มีความเรียบง่าย ศิลปะ ฝีมือคุณภาพ พร้อมกันกับมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ โปร่งใส
-ภาพรวม เป้าหมายระยะกลางของยูนิโคล่ ภายใน 7 ปี มุ่งสู่ “บริษัทร่วมทุนที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย” มีเป้าหมาย 3 ด้านจาก 17 ข้อ SDGs ที่ตอบโจทย์ปัญหาเชิงโครงสร้างในประเทศไทย ใน 3 เรื่องหลัก คือ Planet(สิ่งแวดล้อม), สังคม (Society) และ คน (People) เพื่อให้บริษัทมีความใกล้ชิดเสมือนเป็นประชากรในประเทศ

 


ยูนิโคล่ยึดหลักปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น พร้อมกันกับขายเส้อผ้าที่ใช้วัตถุดิบไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายลดกาปล่อยก๊าซเรือนกระจก 90% ในปี 2573 ขณะที่ในห่วงโซ่อุปทาน มั่งหวังให้ลดลง 20% ในปี 2573
ทางด้านสังคม จะต้องสร้างความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่จะทำให้สังคมน่าอยู่ และมีความสุข และสุดท้าย คน ผลิตเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น
นี่คือแผนรวมแบรนด์ยูนิโคล่ของทั้งโลก มาดูแผนเฉพาะการสร้างความยั่งยืนในประเทศไทย
สิ่งที่ยูนิโคล่สนใจเข้าไปแก้ไขปัญหาหลักของประเทศในปัจจุบัน สอดคล้องกับเป้าหมายSDGs 3 เรื่องดังนี้คือ
เป้าหมายที่ 3 – สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย รวบรวมเสื้อไปบริจาคให้เด็กพื้นที่ห่างไกล
เป้าหมายที่ 14 – อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
และ เป้าหมายที่ 15 - ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน รวมไปถึงหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ


นอกจากนี้ ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ยังได้กำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ของแผนของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นตัวชี้วัดในการทำตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่กำหนดภายในปี 2568 ผ่านกิจกรรมดังนี้คือ

· การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (IREC) ทั้งร้านสาขา และ สำนักงานใหญ่
· การช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น การบริจาคเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วม ที่จ.อุบล ในปี 2565 เหตุการณ์โกดังเก็บพลุระเบิดที่ อ. สุไหงโก-ลก จ. นราธิวาส และ การบริจาคหน้ากากอนามัยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา
· สนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันการเก็บขยะ SPOGOMI World Cup
· UNIQLO Recycling Clothes Donation ภายใต้โครงการ RE.UNIQLO
· แผนงานความร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดภาวะโลกร้อนกจากก๊าซเรือนกระจก
· มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิตสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืน เช่น เส้นใยจากธรรมชาติ และวัตถุดิบจากรีไซเคิล สัดส่วน 50%
นี่คือ จุดยืนแบรนด์เสื้อผ้าในยุคที่ต้องการความร่วมมือกันรับผิดชอบหยุดอุณหภูมิโลกร้อนแรงให้ได้ แบรนด์เสื้อผ้าจึงต้องเป็นมากกว่าการใส่เพื่อความสวยงาม แต่ใส่แล้ว แบรนด์แก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกเราอย่างไร

 



RE.UNIQLO เสื้อผ้ามีชีวิตไร้กาลเวลา

โครงการ RE.UNIQLO เป็นโครงการที่ทำให้เสื้อผ้าของยูนิโคล่ มีประโยชน์ใช้งานยาวนาน

โดยเริ่มต้นจาก โครงการ UNIQLO Recycling Clothes Donation รวบรวมเสื้อผ้ายูนิโคล่ ส่งต่อให้น้องๆ ที่ขาดแคลน ซึ่งเริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ได้ส่งต่อเสื้อผ้าที่ได้รวบรวมจากลูกค้าทั่วประเทศมากกว่า 194,273 ชิ้น ให้กับองค์กรพันธมิตรต่างๆ ในระดับท้องถิ่น ซึ่งปี 2566 วางเป้าหมายไว้ที่ 50,000 ตัวจะนำไปส่งมอบในท้องถิ่นต่างจังหวัด ที่เผชิญกับภัยหนาว

ยิ่งไปกว่านั้น ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) กำลังเตรียมเปิดตัว RE.UNIQLO STUDIO เป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซปต์ Repair/Remake/ Reuse/Recycle เพื่อเป็นการนำเสื้อผ้ากลับมาซ่อมแซมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ต่ออายุการใช้งาน และนำไอเทมโปรดกลับมาใช้หมุนเวียนอีกครั้ง โดย RE.UNIQLO STUDIO จะเปิดให้บริการที่ร้านยูนิโคล่ เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นสาขาแรกในประเทศไทย โดยนำเทคนิคการตัดเย็บด้วยมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น หรือ ที่เรียกว่า Sashiko มาให้บริการด้วยเช่นกัน