ปตท.สผ.คิดค้นวิธีการอัดคาร์บอนลงหลุมก๊าซ พร้อมลงทุนหมื่นล้าน หลังเผยเกณฑ์คาร์บอนเครดิตชัดเจน

by วันเพ็ญ แก้วสกุล , 9 ตุลาคม 2566

ปตท.สผ.ดันเทคโนโลยี CCS (Carbon Capture & Storage) ประสิทธิภาพสูงในการกักเก็บคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย พาประเทศไทยสู่เป้าหมาย NET ZERO วางเป้าหมายกักเก็บคาร์บอน 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2027 พร้อมทุ่มงบลงทุนประมาณ 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รอความพร้อม ภาครัฐประกาศความชัดเจนภาษีคาร์บอน และ กฎระเบียบ เพื่อตามรอยการปล่อยคาร์บอนที่กักเก็บเป็นรูปธรรม

 

เมื่อสาเหตุหลักของโลกร้อน70% มาจากภาคพลังงาน ผลที่เกิดจากการพัฒนาล้ำยุคที่มนุษย์คิดค้นหาวิธีการนำซากฟอสซิล มาพัฒนาเป็นพลังงานปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ เรียนการผูกแล้ว จึงต้องเรียนการแก้ ปตท.สผ. ผู้สำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานของไทย ในยุคที่มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตในยุคโชติช่วงชัชวาลแต่ในยุคที่ต้องสร้างความยั่งยืนคืนสมดุลให้โลก จึงคิดค้นวิธีการนำคาร์บอนที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ กลับคืนสู่หลุมก๊าซในอ่าวไทย เพื่อดับองศาโลกร้อน จนถึงจุดเดือดในปัจจุบัน จุดเปลี่ยนโลก ดับวิกฤติสภาพภูมิอากาศโลก เดินเข้าสู่สภาวะความเป็นกลางทางคาร์บอน”

 

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวในงานสัมมนาของการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023)
ในส่วนของประเทศไทย หากจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ตามเป้าหมายจะต้องลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนให้ได้ถึง 40 ล้านปี ซึ่งถือว่าเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะถ้าเทียบกับการปลูกป่า 1 ล้านไร่ จะสามารถลดปริมาณคาร์บอนได้เพียง 1-2 ล้านตันต่อปี

 

ขณะที่ปัจจุบันเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture & Storage: CCS) ถือว่าพิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นไปได้และมีโครงการ CCS เกิดขึ้นมากกว่า 300 โครงการทั่วโลก ดังนั้น ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานที่ปราศจากคาร์บอน ปตท.สผ.จึงมีโครงการทดลองกักเก็บคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย โดยมีเป้าหมายกักเก็บคาร์บอน 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2027 ด้วยเงินลงทุนประมาณ 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว

 

ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานที่ปราศจากคาร์บอนนี้ ปตท.สผ.จึงมีโครงการทดลองกักเก็บคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย โดยมีเป้าหมายกักเก็บคาร์บอน 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2027 ด้วยเงินลงทุนประมาณ 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(มากกว่า 1หมื่นล้านบาท)
ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมีผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ จึงอยากให้ภาครัฐมีการกำหนดกลไกทางด้านคาร์บอนเครดิต หรือภาษีคาร์บอน รวมถึงกฎระเบียบที่ชัดเจนในการติดตาม ตรวจสอบคาร์บอนที่กักเก็บ และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่จะเอื้อให้โครงการนี้สามารถเกิดขึ้นได้