โคคา โคล่า สูตรน้ำดำ ทำESG บนเป้าหมายท้าทาย ปรับคนเปลี่ยนโลกนี้ไม่มีขยะ

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ บรรณาธิการESGuniverse , 19 ตุลาคม 2566

โคคา โคล่า แบรนด์กำเนิดขึ้นจากใบโคคา สูตรน้ำดำช่วยเลิกอาการติดยามอร์ฟีนผลข้างเคียงจากการมีแผลและต้องใช้มอร์ฟีนบรรเทาอาการปวด ผลิตทำตลาดเสิร์ฟ ให้กับลูกค้าวันแรก 8 พฤษภาคม ค.ศ.1886 (พ.ศ.2429) ที่จาค็อปส์ ฟาร์มาซี ในแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ขยายมาสู่การจนอายุยืนยาวถึงวันนี้ 138 ปี

ปัจจุบันเครื่องดื่มน้ำดำ แบรนด์ โคคา โคล่า มีกระจายไปกว่า 200 ประเทศทั่วโลก จำหน่ายไม่ต่ำกว่า 2,100 ล้านแก้ว มีพนักงานกว่า 700,000 คน มีพันธมิตรผู้ผลิตและจัดจำหน่ายในห่วงโซ่การผลิต (ซัพพลายเชน) กว่า 225 ราย ทั่วโลก จุดยืนแบรนด์ในปัจจุบัน คือการส่งมอบความสดชื่นและสร้างความแตกต่างให้กับโลก

การเดินทางของโคโคา โคล่าในวันที่อายุ 138 ปี มีเรื่องราวการส่งมอบคุณค่าที่ไม่ใช่เพียงขายน้ำดำ ต้นกำเนิดที่มีส่วนผสมของสารเสพติด แต่มีวิวัฒนาการที่แปรเปลี่ยนปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของสังคม จนมาถึงวันที่โลกตื่นตัวด้านการสร้างความยั่่งยืนตามคัมภีร์ ESG (3 เสา) ห่วงโซ่สมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

 

 

ปฏิบัติการ กำจัดขยะไม่ให้เลือกตกค้างในโลก

โคคา โคล่า จับ 4 ประเด็นหลักที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยปัญหาหลักที่โลกกำลังเผชิญในปัจจุบัน คือ ขยะพลาสติกในท้องทะเล หนึ่งในต้นเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) จนเข้าสู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) เป็นที่มาของจากเป้าหมายใหญ่ของโคคา โคลา บริษัท แม่ ประกาศจะเดินหน้าพันธกิจ World Without Waste โลกนี้ไม่มีขยะหลงเหลืออยู่ แคมเปญในประเทศไทย ”โค้ก” คิดเพื่อโลก ประกาศ เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100% อย่างเป็นทางการ

เดินตามแผนเดียวกันกับโคคา โคลากว่า 40 ประเทศทั่วโลก โคคา-โคล่า มีผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 แบรนด์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก PET รีไซเคิล 100% ไม่รวมฉลากและฝาขวดในกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ ในอินโดนีเซีย เมียนมา เวียดนาม

 

นายศรุต วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึง แผนการลดขยะในประเทศไทยให้สอดคล้องกับ โคคา โคล่า ทั่วโลกว่า บรรจุภัณฑ์ของ “โค้ก” จะต้องสามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2568 พร้อมกับลดการใช้พลาสติกที่ผลิตขึ้นมาใหม่ โดยนำแหล่งพลาสติกที่หมุนเวียนที่สะสมมาใช้ราว 3 ล้านเมตริกตัน และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จะต้องผลิตจากวัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 50% โดยมีเครื่องดื่มอย่างน้อย 25% ทั่วโลก จำหน่ายในขวดแก้วหรือขวดพลาสติกแบบรีฟิล/ส่งคืนได้ หรือในตู้จ่ายน้ำพุพร้อมบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ภายในปี 2573 ดังนั้น จึงมุ่งไปที่การเก็บขวดและรีไซเคิล ง่ายกว่าการทิ้งขวด เป้าหมายรวบรวมและรีไซเคิลขวดหรือกระป๋องสำหรับขวดหรือกระป๋องแต่ละขวดที่ขายภายในปี 2573

ล่าสุดได้เปิดตัวขวด “โค้ก” ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100%ไม่รวมฉลากและฝาขวด นำร่องในขวดปริมาณ 1 ลิตร ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เพราะใช้เทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ผู้เชี่ยวขาญด้านการผลิตเม็ดพลาสติก ที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ของไทย ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากพลาสติกรีไซเคิลจะเพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการแยกขยะไม่เพิ่มปริมาณขยะ

“โคคา-โคล่า ตระหนักดีว่าปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยมีความเร่งด่วน และซับซ้อน จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน จึงหาวิธีการผลักดันให้เกิดการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างครบวงจรในไทย โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100% ไม่รวมฉลากและฝาขวด”

3 กลยุทธ์เป้าหมาย

หมุนเวียนขวดโค้กออกแล้วคืนกลับโรงงาน

กลยุทธ์ในการลดขยะไม่ให้มีหลงเหลือตามเป้าหมาย มี 3 ด้านคือ

1.ออกแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย ปราศจากสิ่งเจือปน สีอื่นๆ 2.รวบรวมและคัดแยกพลาสติกต่างชนิด บรรจุภัณฑ์ คัดแยกขยะ และ3.หาพันธมิตรเข้ามาช่วยจัดการ ตั้งแต่ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คือ บริษัท เอ็นวิคโค (บริษัทในกลุ่มGC) ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกให้กับโรงงาน รับซื้อขวดพลาสติกPETจากกลุ่มผู้รวบรวม (Polyethylene terephthalate) นำมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกส่งมอบให้กับโคคา โคล่านำไปขึ้นรูป และกลุ่มเดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นพันธมิตรในการรวบรวมขวดพลาสติก รวมถึงมีจุดรับเพิ่มที่เป็นพันธมิตร 64 แห่งในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าหมายการรับขวดคืนสู่การผลิตไม่ต่ำกว่า 1 ล้านขวด ในสิ้นปี

 

นายณัฐนันท์ ศิริรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด กล่าวว่า เอ็นวิคโคถือเป็นรายแรกที่ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยมีกระบวนการการรับมอขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว (Post-Consumer Recycled PET) ซึ่งถูกรวบรวมมาจากกลุ่มพันธมิตร และนำเข้าสู่กระบวนการจัดการแปรรูปสู่เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ทัดเทียมเม็ดพลาสติกใหม่ ภายใต้แบรนด์ อินโนอีโค (InnoEco) โดยใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลจากยุโรป จึงทำให้ตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของพลาสติกใช้แล้วได้ 100% เพราะคุณสมบัติของการนำพลาสติกรีไซเคิลอาหารจะต้องมาจากเกรดพลาสติกทำอาหาร

โดยคุณสมบัติของเม็ดพลาสติก ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ทั้ง US-FDA ในสหรัฐ และ EFSA ใช้ในยุโรป และ อย. เป็นรายแรกของไทย ให้สามารถผลิตภาชนะบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารด้วยพลาสติกใช้แล้วได้

“มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะในไทย ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวบรวมพลาสติกที่ใช้แล้วคืนสู่เม็ดพลาสติก”


ลุ้นโชค ปลุกคนไทยปรับพฤติกรรมแยกขยะ


ขณะที่นายณัฐภัค อติชาตการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด สตาร์ทอัพ ผู้รับจัดการขยะ มีแนวคิดในการกระตุ้นให้คนไทยหันมาแยกขยะ ผ่านการจูงใจลุ้นรางวัล การสื่อสารและกระตุ้นให้กับเกิดการแยกขยะ นั้นยังใหม่ในสังคมไทย จึงต้องมีการให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งจัดการขยะหลังจากแยกขยะ 

“การสร้างการตระหนักรู้ถือเป็นเรือ่งใหม่ในสังคมไทยถือเป็นสิ่งท้าทายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้แยกขยะและรีไซเคิล หากเทียบกับสหภาพยุโรป ได้ทำมานานกว่า 40 ปีจนถือเป็นนิสั้ย ขณะที่คนไทยคนไทยไม่ชอบแยกขยะ แต่ชอบลุ้นโชค จึงต้องเริ่มต้นจากการจัดแคมเปญเพื่อส่งเสริมให้คนแยกขยะ จึงต้องมีกุศโลบาย การสร้างเงินรางวัล และสิทธิพิเศษมาจูงใจคนไทย แล้วจึงสอดแทรกความรู้ พร้อมกับอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค”

 

ทั้งนี้ แทรชลัคกี้ ได้ร่วมมือรวบรวมขวดนำไปรีไซเคิลได้ออกจากขยะทั่วไป กว่า 3 ปีที่ผ่านมาจากการจัดแคมเปญต่างๆ สามารถเก็บคืนขวดพลาสติก PET ได้มากกว่า 700,000 ขวด และมีเป้าหมายจะไปให้ถึงหลักล้านขวดภายในสิ้นปี 2566 โดยมีแคมแปญลุ้นโชค รับของรางวัลสนับสนุนมูลค่ารวมกว่า 2 ล้านบาท โดยจัดจุดรับส่งวัสดุรีไซเคิลจากผู้บริโภค แบบไม่กำจัดแบรนด์ผ่าน จุดรับวัสดุรีไซเคิล 64 จุดทั่วกรุงเทพฯ และภูเก็ตอีก 5 จุด ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 พร้อมกับเพิ่มแคมเปญ ตอกย้ำ โค้ก คิดเพื่อโลก กระตุ้นผ่านกิจกรรมการร่วมคืนขวด อีเว้นต์ของ โคคา-โคล่า ได้ร่วมลุ้นของรางวัลและบัตร VIP สำหรับเข้าชมคอนเสิร์ต COKE Studio

โคคา โคล่า นำขวดกลับสู่โรงงาน ตอบโจทย์ SDGs3ข้อ

สำหรับแนวทางการแยกขยะของ โคคา โคล่า ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ใน 3 ข้อ คือ

SDGข้อ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ

Coca‑Cola จึงมีบทบาททำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในปี พ.ศ. 2565 ระบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ลง 7% ที่จะทำให้ลดการปล่อยก๊ษซ 25% ภายในปี 2573 และมุ่งที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยที่เป็นต้นแบบในเวที Global Lighthouse Network ของ World Economic Forum ยกย่องโรงงานผลิตของบริษัท Coca-Cola ในเมือง Ballina ประเทศไอร์แลนด์ ได้เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ปรับปรุงขั้นตอนทางการเงิน การผลิตเพื่อความยั่งยืน

 

SDG ข้อ12 รับประกันรูปแบบการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

ในปี 2561 บริษัท Coca‑Cola ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการช่วยแก้ปัญหาความท้าทายด้านขยะพลาสติกที่โลกและสังคมต้องเผชิญ จึงเปิดตัวแพลตฟอร์มบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โลกที่ไม่มีขยะ “ World Without Waste” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ตั้งเป้าหมายนำบรรจุภัณฑ์หลักกลับมารีไซเคิลได้ 100% ทั่วโลกภายในปี 2568 และใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 50% ในบรรจุภัณฑ์หลักภายในปี 2573 การรวบรวมและรีไซเคิลขวดหรือกระป๋องจากการขายแต่ละขวดภายในปี 2573 รวบรวมผู้คนมารวมตัวกันเพื่อสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพและปราศจากขยะ

SDG ข้อ17: เสริมสร้างแนวทางการดำเนินงานและฟื้นฟูความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความร่วมมือข้ามองค์กร เช่น World Wildlife Fund (WWF), CEO Water Mandate และการทำงานเพื่อสนับสนุน UN Plastics Treaty ระบบ Coca Cola กำลังสร้างความแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเติมน้ำ และบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

ในเดือนกรกฎาคม บริษัทและพันธมิตรด้านการบรรจุขวด 8 รายได้ประกาศกองทุนร่วมลงทุนมูลค่า 137.7 ล้านดอลลาร์ (ราว 4,900 ล้านบาท) ที่มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อความยั่งยืน Greycroft ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนที่เติบโตตั้งแต่เริ่มต้น จะบริหารจัดการกองทุน Coca‑Cola System Sustainability Fund โดยมุ่งเน้นไปที่ห้าประเด็นหลัก ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ การทำความร้อนและการทำความเย็น การลดคาร์บอนของโรงงาน การจัดจำหน่าย และห่วงโซ่อุปทาน กองทุนจะลงทุนในบริษัทที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์.