ปรับ ESG Rating สนามลงทุนแห่งความยั่งยืน สปริงบอร์ดหุ้นไทยสู่โกลบอลดึงทุน 120 ลล.ดอลล์

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ , 26 ตุลาคม 2566

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับชื่อหุ้นยั่งยืนจาก THSI สู่ ESG Rating หวังเชื่อมเกณฑ์หุ้นยั่งยืนไทย สปริงบอร์ดพาหุ้นไทยสู่โกลบอล ดึงกองทุนยั่งยืนกว่า 120 ล้านล้านดอลลาร์ จับคู่ลงทุนหุ้นไทยมากกว่าจีดีพีไทย 240 เท่า ด้านบมจ.ไทยกวาดผู้นำหุ้นยั่งยืนในหลายเวที DJSI, S&P และ MSCI หวังกระตุ้นSMEsไทยเช็กลิสต์ยั่งยืนก่อนเข้าตลาด

 

 

เมื่อทิศทางการลงทุนจากนักลงทุน และกองทุนเปลี่ยนไป สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และมองเป็นเรื่องไกลตัว อย่างปัญหาสังคมและ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม กลับกลายเป็นประเด็นหลักที่ทุนทั่วโลกให้ความสำคัญ ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับไม่มีความเสี่ยง พร้อมเติบโตในโลกยุคใหม่ จึงต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ESG เทรนด์ที่ถูกภาคธุรกิจพูดถึงและยอมรับมาตรฐานในระดับสากล ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องปรับชื่อให้และข้อมูลการวัดความยั่งยืนให้สอดคล้องกับมุมมองการลงทุนในสายตาระดับโกลบอล

  

 

ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อการประเมินหุ้นยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดทำหลัเกณฑ์การประเมินรูปแบบหุ้นยั่งยืนในรูปแบบสมัครใจ เรียกว่า “หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings) ที่จะประกาศใช้ วันที่ 6 พ.ย. ปี 2566 เป็นครั้งแรก แทนชื่อเรียกเดิม THSI (Thailand Sustainability Investment) ที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางและความเข้าใจของกองทุนต่างประเทศ เพื่อให้เข้าใจในข้อมูลหลักเกณฑ์การประเมินหุ้นESG ของไทยเป็นชื่อที่ยอมรับในต่างประเทศ จะส่งผลทำให้สร้างโอกาสเชื่อมต่อกับกลุ่มทุน นักลงทุน และกองทุน ที่สนใจในหุ้นยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับแนวโน้มความสนใจนักลงทุนเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากปี 2012 (พ.ศ.2555 ) ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1,050 การซื้อขาย มูลค่ารวม 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2022 (พ.ศ. 2565) เพิ่มขึ้น 4,900 การซื้อขาย เป็นมูลค่า 120 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทย(จีดีพี) ที่มีมูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ ราว 240 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าโอกาสที่ขยายการลงทุน หากมีการเชื่อมโยงและสร้างมาตรฐานเดียวกันกับต่างประเทศ

 

 

 

“ปัจจุบันการลงทุนต่างประเทศ จะนำESG มาเป็นประเด็นในการตัดสินใจลงทุน สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในอดีต ทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม กลายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาคธุรกิจ เป็นการบริหารความเสี่ยง จึงทำให้ธุรกิจยั่งยืนในระยะยาว จึงเป็นหลักสำคัญที่นักลงทุนนำมามีส่วนในการตัดสินใจลงทุน ที่จะนำไปสู่การขยายโอกาส ในเศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) มากยิ่งขึ้นหุ้นที่นิยมของนักลงทุนจึงเป็นหุ้นยั่งยืน ในไทยนักลงทุนบุคคลกว่า 7 แสนราย (79% ของกลุ่มตัวอย่าง )ซื้อขายหุ้นอย่างน้อย 1 บริษัท และมีมูลค่าการซื้อขายถึง 14,245 ล้านบาท คิดเป็น 40% ของมูลค่าซื้อขายของนักลงทุนบุคคลทั้งหมด ”

  

 

หุ้นไทยติดอันดับยั่งยืนโลกในหลายสถาบัน

สำหรับบริษัทจดทะบเียนในประเทศไทย มีภาคธุรกิจที่ติดอันดับความยั่งยืนระดับโลกเพิ่มขึ้นและเป็นผู้นำของโลกในหลายการจัดอันดับ ในดัชนี THSI มีทั้งสิ้น 166 บริษัท ซึ่งมีมูลค่า 72% ของมูลค่าตลาด (Market cap.) โดยมี 26 บริษัทที่ติดอันดับ ในดัชนี.DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) ถือว่ามากที่สุด ในอาเซียน , และติดในดัชนี FTSE 4Good จำนวน 42 บริษัท มากที่สุดในอาเซียน, และดัชนี MSCI 41 บริษัท มากที่สุดในอาเซียน และ ติดอันดับ1 ของโลก ในระดับ Gold Class The Sustainability Yearbook 2023 จาก S&P Global

อีกทั้งแนวโน้มในการลงทุันหุ้นไทย พบว่า มีกองทุนด้านความยั่งยืนถึง 86 กองทุน ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ 6.2 หมื่นล้านบาท

สำหรับESG Rating ไม่ถือว่าเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้น แต่ถือว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อมต่อกับหลักเกณฑ์การพิจารณาหุ้นยั่งยืนระดับสากล ที่มีเกณฑ์การประเมิน คำถามแนวทางเดียวกัน จึงทำให้ผู้ลงทุนนำไปใช้ในการตัดสินใจ พิจารณาข้อมูลทางการเงินและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีการแบ่ง 4 ระดับ ประกอบด้วย BBB, A, AA, AAA

  

 

ทั้งนี้ ภายหลังจากมีการจัดการประเมิน คาดหวังว่าจะมีผู้ประกอบการไทย จะยึดเป็นแนวทางในการยกระดับหุ้นยั่งยืน ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ และประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่กำลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ ล้วนเข้ามาอยู่ในการปรึกษาการประเมินในดัชนีจำนวนมาก คาดหวังว่า ESG Rating จะเป็นจุดเชื่อมพาบริษัทในหุ้นไทยไปสู่ระดับสากล และยังสามารถเปรียบเทียบขีดความสามารถการแข่งขันด้านความยั่งยืน ในระยะยาว โดยจะมีการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืนในปีแรก วันที่ 6 พ.ย. 2566 นี้