TCMA ขับเคลื่อนซีเมนต์จาก Local สู่Global นั่งทีมบอร์ดGCCAร่วมกอบกู้วิกฤติโลกเดือด

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ บรรณาธิการESGuniverse , 29 ตุลาคม 2566

TCMA โชว์ผลงาน เปลี่ยนตลาดปูนสู่ไฮดรอลิก จนถึง “เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ” สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ สมาคมปูนโลก GCCA ยอมรับกลยุทธ์การทำงานบูรณาการเชื่อมรัฐเอกชน ดึงไทยร่วมเป็นบอร์ดขับเคลื่อนโมเดลหยุดโลกเดือด

 

ผลงานการขับเคลื่อนการยกระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ ของทีมผู้ผลิตปูนซีเมนต์ไทยแลนด์ โดดเด่นระดับโลก นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) จึงได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในกรรมการชุดใหม่ (บอร์ด) ในสมาคมผู้ผลิตซีเมนต์และคอนกรีตโลก (GCCA -Global Cement and Concrete Association) ในวาระปี 2566-2568 นับเป็นบทบาทครั้งใหญ่ของไทยจะนำกลยุทธ์ความสำเร็จการขับเคลื่อนในไทย ไปเชื่อมต่อกับ GCCAขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงตลาดโลก สู่การบรรลุการลดคาร์บอนในซีเมนต์และคอนกรีตเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

แนวทางการขับเคลื่อนการสร้างการเปลี่ยนแปลงในตลาดซีเมนต์และคอนกรีต เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไม่สามารถดำเนินการเฉพาะผู้ผลิตได้ แรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพลิกโฉมให้ทั้งตลาดหันมาใช้ปุูนซีเมนต์ปล่อยคาร์บอนต่ำ คือ ภาครัฐ ผู้ออกกฎหมายและระเบียบในการใช้ปูนซีเมนต์ ซึ่งการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) ของสมาคมผู้ผลิตซีเมนต์และคอนกรีตโลก (GCCA -Global Cement and Concrete Association) ได้แต่งตั้ง นาย เฟอร์นันโด กอนลาเลซ (Fernando Gonzalez) ประธานกรรมการบริหารผู้ผลิตซีเมนต์ Cemex จากเม็กซิโก ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนใหม่ GCCA ในวาระ 2 ปี ตั้งแต่ ปี 2566-2568 ทดแทนชุดที่หมดวาระลงในปีนี้

โดยGCCA (มีสมาชิกผู้ผลิตซีเมนต์สัดส่วน 80%ของผู้ผลิตทั้งโลก ยกเว้นจีน) มีพันธกิจขับเคลื่อนสร้างความร่วมมือกับภาครัฐทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายให้ดำเนินมาตรการเชิงรุก สานต่อโรดแม็ปGCCAเริ่มต้นปี 2021 (ปี พ.ศ.2564) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) เพื่อแก้วิกฤติโลกเดือด โดยหมุดหมายแรกคือลดอุณหภูมิของโลกลง 1.5 องศา ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)


นาย เฟอร์นันโด กอนลาเลซ (Fernando Gonzalez) นายกสมาคม GCCA ได้กล่าวถึงภารกิจในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ( ปี 2566-2568)ว่า เป้าหมายแรกของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในปี 2030 (พ.ศ.2573) จะเร่งการทำงานประสานงานภาครัฐจากทั่วโลกสนับสนุนด้านนโยบาย ออกฎหมาย และกฎระเบียบภายในประเทศให้อำนวยความสะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงตลาดปูนซีเมนต์ลดโลกร้อน ซึ่งทาง GCCA จะดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกในทุกประเทศ ในการร่วมมือเชื่อมต่อกับรัฐบาล และอุตสาหกรรมเพื่อประสานงาน ให้เกิดผลการดำเนินงานในทางปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ลดการปล่อยคาร์บอนในทุกรูปแบบ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลกทุกคน ตลอดจนทำให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



ด้านนายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยถึง ความสำเร็จจากความร่วมมือการเปลี่ยนแปลงการใช้ปูนซีเมนต์ ทีมผู้ผลิตซีเมนต์จากไทย (TCMA) เป็นต้นแบบของการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และคอนกรีต เกิดการลดอุณหภูมิโลกได้อย่างรูปธรรม จึงได้รับการยอมรับแนวทางการทำงานระดับโลก ทำให้ถูกเลือกให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในบอร์ด GCCA ขับเคลื่อนวงการซีเมนต์ระดับโลก ทำหน้าที่ประสานรัฐ ผนึก GCCA ขับเคลื่อนตลาดซีเมนต์ทั้งองคาพยพทั่วโลก

ทั้งนี้ สาเหตุมาจากความสำเร็จที่โดดเด่นที่ทำให้ตัวแทนTCMA ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในบอร์ดในGCCA เพราะมีการทำงานบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม “สร้างความร่วมมือและลงมือทำ” จึงทำให้เกิดการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงนักวิชาการ ผู้ใช้งาน นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ทางTCMA มีวางแผนการทำงานที่ชัดเจนเป็นประเทศแรกของโลก (Road Map) จึงทำให้เกิดรูปแบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีผู้เข้าร่วมสนับสนุนขยายวงกว้าง ที่เิข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำผ่านอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีต มีการคิดค้นนวัตกรรม และการสร้างความยั่งยืนจากอุตสาหกรรมสู่ชุมชน โดยมีผลงานความสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรม คือ การนำปูนลดโลกร้อน (ไฮดรอลิก) มาใช้ในตลาด

นอกจากนี้จยังขยายความร่วมมือไปสู่ระดับจังหวัด จนทำให้เกิดเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ แห่งแรกในไทย “สระบุรี แซนด์บ็อกซ์” โครงการแรกที่ร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชน ( PPP-Saraburi Sandbox) ที่ร่วมมือกันดำเนินการในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม ปรับกฎระเบียบ และสร้างความเข้าใจมีการคิดค้นกระบวนการทำงานใหม่ จนทำให้มีผลงานได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เพราะเข้าไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่รอบโรงาน มีการสร้างร่วมมือกัน ทั้งจังหวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของอุตสาหกรรมสีเขียวคู่กับชุมชน จึงถือได้ว่าเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน สร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีต เส้นทางสู่ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

“ถือเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงการผู้ผลิตและผู้ใช้ซีเมนต์ ที่เริ่มต้นยุคใหม่ ในปี 2567 เป็นจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทยทั้งตลาด มีการก้าวเข้าสู่ยุคการใช้ปูนซีเมนต์ลดโลกร้อน หรือ ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ทดแทนปูนปอร์ตแลนด์แบบเดิมทั้งตลาด ตั้งแต่ภาคผู้ผลิต ภาคผู้ใช้ ประชาชนร่วมมือกัน ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึง ภาครัฐ ก็มีการร่วมมือกำหนดนโยบาย และมาตฐานยอมรับผลิตภัณฑ์ปูนไฮดรอลิก นำร่องให้หน่วยงานในสังกัดในการเริ่มใช้งานผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม”

การขับเคลื่อนการทำงานมีความก้าวหน้า การทำงานของTCMA ไม่หยุดยั้งแค่ในประเทศ แต่ยังมีเป้าหมายขยายการทำงานในวงกว้างเชื่อมต่อจากภายในสู่ต่างประเทศ โดยเชื่อมโยงกับ GCCA ทำให้เกิดการยกระดับการทำงาน ขับเคลื่อนสอดคล้องกับทิศทางระดับโลก ผ่านเวทีต่างๆ เช่น การขับเคลื่อน Cop 27 และ World Economic Forum

นับว่าเป็นการเป็นการแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนของไทย ในการมั่งมั่นเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำชัดเจน จึงมีโอกาส ขยายขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ในรูปแบบกองทุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Fund) ผลงานก้าวสำคัญในความสำเร็จของประเทศไทยนั้นมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ทำให้TCMA และยังยกระดับการทำงานของไทยไปสู่ระดับสากล ที่มีพันธมิตรทั้ง GCCA และมีโอกาสแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ จากทั่วโลก เข้ามาสนับสนุนการทำงานตาม Roadmap ของไทย และสอดคล้องแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ Thailand NDC Roadmap (Nationally Determined Contribution)

ส่วนผลลัพธ์ที่สะท้อนแนวทางการสร้างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความคืบหน้า คือสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 3 แสนตันในปี พ.ศ. 2564 ถือว่าเร็วกว่าเป้าหมายเดิมกำหนดไว้ในปี พ.ศ.2565 นำไปสู่การเพิ่มเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ก่อนสิ้นปี 2566 เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 110 ล้านต้น

“ผลตอบรับการขับเคลื่อนดีเกินคาด เพราะเกิดจากทางสมาคม TCMA ทำงานเชิงรุกอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน ไปหารือประสานงานกับ 16 หน่วยงาน 5 กระทรวง ให้เข้ามาร่วมมือกันตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้อำนวยการ และผู้เกี่ยวข้อง ให้หันมาสร้างความร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงตลาด กำหนดให้ใช้ปูนไฮดรอลิกในหน่วยงานภาครัฐนำร่อง จนเพิ่มมากกว่า 30 หน่วยงาน จาก 7 กระทรวง ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 1 แซงหน้าประเทศอินเดีย รวมถึงระดับโลก ในด้านการสร้างกลไกความร่วมมือเปลี่ยนแปลงตลาด สามารถขับเคลื่อนให้ภาครัฐกำหนดมาตรฐาน สร้างกระบวนการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนขึ้น


ถอดบทเรียนความสำเร็จปูนลดโลกร้อนTCMA

เบื้องหลังความสำเร็จเกิดจากการวางแผนชัดเจนร่วมกันในผู้ผลิตในสมาคม TCMA ในการลงทุนพัฒนานวัตกรรมปูนลดโลกร้อน พร้อมกันกับแสวงหาร่วมมือและลงมือทำอย่างจริงจัง มีการหารือกับภาคภาครัฐ เป็นผู้กำหนดนโยบาย และมาตฐานยอมรับผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นผู้กำหนดการใช้ปูนลดโลกร้อน จึงเกิดการนำร่องให้หน่วยงานในสังกัดในภาครัฐ เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีการดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมมือกันผลักดัน ประกอบด้วย ภาควิชาชีพ สนับสนุนการรับรองมาตรฐาน ด้านภาคการศึกษาสนับสนุนงานวิจัยรองรับการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมรองรับองค์ความรู้ทางวิชาการ ในการช่วยลดโลกร้อน ส่วนภาคประชาชนร่วมมือกันใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ถือเป็นการทำงานอย่างบูรณาการ ของ TCMA โดยการขับเคลื่อนทั้งภายในประเทศจากระดับชุมชน สมาคม จนถึงระดับประเทศ เชื่อมกับภาพรวมระดับโลก ที่จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน

“จุดเริ่มต้นของความร่วมมือในอุตสาหกรรมซีเมนต์ ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนตลาดให้คนในอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมลดโลกร้อน แต่ยังปลูกจิตสำนึกคนในประเทศในทุกภาคส่วน เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุด”


โมเดลปุนลดโลกร้อน สู่สระบุรี แซนด์บ็อกซ์

เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกในไทย

TCMA ยังริเริ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) จนทำให้เกิดต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกในไทย ที่จังหวัดสระบุรี เรียกว่า “PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City” โดยร่วมมือกันดำเนินงาน ทั้งในด้านพลังงาน (Energy) ด้านกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use : IPPU) ด้านการจัดการของเสีย (Waste)ด้านการเกษตร (Agriculture) และด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use, Land-Use Change and Forestry : LULUCF)

สอดคล้องตาม Thailand NDC Roadmap โดยครอบคลุมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม ปรับปรุงกฎระเบียบ และสร้างความเข้าใจ มีการคิดค้นกระบวนการทำงานใหม่ ได้ผลลัพธ์แบบ win-win-win จนทำให้มีความก้าวหน้าดำเนินงานได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย การสร้างความร่วมมือกันทั้งจังหวัดในการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ พัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวคู่กับชุมชน จึงนับได้ว่าเป็นเป็นการทำงานอย่างบูรณาการของ TCMA ซึ่งเป็นสมาคมความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทย

โดยการขับเคลื่อนทั้งภายในประเทศ จากระดับชุมชน อุตสาหกรรม จนถึงระดับประเทศ เชื่อมกับภาพรวมระดับโลก โดย GCCA เพื่อเชื่อมต่อไปยัง COP หรือ World Economic Forum ในการเชื่อมโยงแหล่งทุนสนับสนุนต่างๆ (Green Fund) เข้ามาสู่ประเทศไทย ขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำต่อไป


เปิดพันธกิจกู้โลกร้อน
TCMA ผนึกGCCA

สำหรับกรอบความร่วมมือที่ทางGCCA กำหนดพันธกิจในการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 โดยมีทาง TCMA จะเข้าไปสนับสนุนการดำเนินงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงตลาดในหลากหลายแนวทาง ประกอบด้วย

-การเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด หรือ พลังงานหมุนเวียนในอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย BCG (Bio Economy-Circular Economy -Green Economy) ของประเทศไทย

-ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่ชุมชน สังคม มีการจัดการเศษวัสดุซีเมนต์เก่าให้ถูกวิธี ด้วยเตาเผาเพื่อลดโลกร้อน แทนการผังกลบ ถือเป็นการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน สนับสนุนระบบนิเวศในการจัดการของเสียอย่างปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-กระตุุ้นให้ตลาดเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเลือกใช้สินค้าที่ผลิตจากคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขยายตัวไปสู่ผู้บริโภคในวงกว้าง

-ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือการจัดการเกณฑ์ราคาคาร์บอนเครดิตในโลกให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม จึงจะสร้างแรงจูงใจให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้รับประโยชน์จากตลาดการขายคาร์บอนเครดิต ถือเป็นรางวัลต่อการช่วยลดโลกร้อน พร้อมกันกับช่วยกระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เพิ่มขึ้นในตลาด

-ร่วมมือกับกองทุนสีเขียว ขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนสนับสนุน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิต ทำให้เกิดการเร่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การใช้งาน และการจัดเก็บได้ขยายวงกว้างในอุตสาหกรรม