ไต้หวัน ปฎิรูปการจัดเก็บ ‘ภาษีกรีน’

by ESGuniverse, 16 พฤศจิกายน 2566

ไต้หวัน เตรียมผลักดันกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างสภาพภูมิอากาศใหม่ทั้งหมด พร้อมเสนอค่าธรรมเนียมคาร์บอนในปีหน้า

 

 

สภาพอากาศโลกร้อนระอุ เดือนกรกฎาคมนีทุบสถติที่สุดเป็นประวัติการณ์อย่างน้อย 100,000 ปีที่ผ่านมา นี่คือ ความท้าทายครั้งใหญ่ที่ทุกประเทศต่างหาหนทางลดอุณหภูมิโลกผ่านมาตรการควบคุมการดำเนินธุรกิจ บังคับให้มีการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

รายงานข่าวจากการสัมภาษณ์พิเศษของนิเคอิ เอเชีย ระบุว่า ชิ่ว ฟุง เส็ง (Shieu Fuh-sheng) รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม กระทรวงที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ออกนโยบายให้บริษัทในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเกิน 25,000 ตันต่อปี ชำระค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป คาดว่าจะมีบริษัท 512 แห่งที่เข้าเกณฑ์นี้

การปฏิรูปดังกล่าวจะมีกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญซึ่งกำหนดเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 และระบบค่าธรรมเนียมคาร์บอน

"เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้านี้ได้" ชิ่ว ย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นความท้าทาย

บริษัททั้ง 512 แห่ง หากลดคาร์บอนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในนโยบาย สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้ที่ Taiwan Carbon Solution Exchange ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว

"การเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้ทางการเงิน แต่เป็นหนทางสำหรับบริษัทต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน"

รายได้จากค่าธรรมเนียมคาร์บอนจะถูกจัดสรรให้กับกองทุนการจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีการลดคาร์บอน และส่งต่อไปยังรัฐบาลท้องถิ่นสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสภาพภูมิอากาศ

“ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไต้หวันได้กลายเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคสำหรับบริษัทพลังงานลม และได้ตั้งเป้าหมายผลิตพลังงานหมุนเวียน 60-70% ภายในปี 2593 จากการเพิ่มสัดส่วนพลังสะอาด โดยส่วนใหญ่เป็นพลังงานลม และโฟโตอิเล็กทริก หรือพลังงานแสงอาทิตย์” ชิ่ว กล่าว

อย่างไรก็ตาม ไต้หวันเผชิญกับความท้าทายใหญ่หลายประการที่เป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ที่จะต้องวางแผนการบริหารจัดการการลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล เพราะยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ ไต้หวันในปัจจุบัน ยังมีสัดส่วนพลังงานจากฟอสซิลเป็นสัดส่วนสูง มาจากถ่านหิน สัดส่วน 43.6% ของพลังงานผสม และก๊าซธรรมชาติผลิต สัดส่วน 38.9% ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน สัดส่วนเพียง 8.7% และนิวเคลียร์มีสัดส่วนเพียง 6.4%

 

วันทนา อรรถสถาวร แปล

ประกายดาว แบ่งสันเทียะ, วันเพ็ญ แก้วสกุล เรียบเรียง

 

ที่มา: https://asia.nikkei.com/Editor-s-Picks/Interview/Taiwan-steps-up-climate-leadership-with-ambitious-reforms