ภูเขาน้ำแข็งใหญ่ที่สุดในโลกเคลื่อนตัว จุดกำเนิดจากขั้วน้ำแข็งถึงระบบนิเวศ

by วันทนา อรรถสถาวร, ประกายดาว แบ่งสันเทียะ, 11 ธันวาคม 2566

ปรากฎการณ์เคลื่อนตัวของภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “A23a” แยกตัวออกจาก ขั้วโลกแอนตาร์กติกา เวที COP28 เฝ้าติดตามและหวั่นไหว นี่คือการ “ปิดเกม” ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศข้้วโลก ทว่า อีกด้านของ นักสำรวจแล่นเรือไปเก็บตัวอย่างน้ำแข็งใต้ภูเขามหึมา ศึกษาความหวังแห่งมนุษยชาติ ไขปริศนาน้ำแข็งทับถมพันปีหล่อเลี้ยงชีวิต ความลับการกักเก็บคาร์บอน แหล่งอาหารโลกมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล

 

 

ในขณะที่เวที COP28 ดูไบ กำลังวางพันธสัญญาระดมสมอง เงินทุน ฟื้นฟูโลก อีกซีกโลกของ ทวีป แอนตาร์กติกา กลับค้นพบ A23a “ภูเขาน้ำแข็ง” มหึมาที่สุดในโลก ขนาดใหญ่กว่าเมืองนิวยอร์ก 3 เท่า กำลังลอยแยกตัวจากแอนตาร์กติกา นี่ไม่ใช่ความโชคดี แห่งการค้นพบ นักวิทยาศาสตร์มองว่า ชี้ชัด ผลกระทบยุคโลกเดือด ชี้ชัดถึงจุดเสี่ยงระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

เดอะ ไอซ์เบิร์ก (The iceberg) รายงาน ถึงก้อนภูเขา A23a ซึ่งมีน้ำหนักเกือบ 1 ล้านตันเมตตริก มีพื้นที่ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) ขนาดใหญ่เป็นสามเท่าของเมืองนิวยอร์ก ได้ลอยอย่างอิสระแยกตัวออกจากแอนตาร์กติกาไปทางทะเลตอนใต้ ปลายทางจะไปจรดแถบเกาะใต้จอร์เจีย นี่คือปรากฎการณ์ธรรมชาติที่บ่งชี้ได้ว่า เป็นผลกระทบจากวิกฤติสภาพอากาศ ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

ปรากฎการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาของการรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศขององค์การสหประชาชาติ ( the U.N.’s annual climate conference) ระบุใน COP28 ถึงความเสี่ยงอันดับแรก เมื่อโลกร้อนขึ้นจาก ปัจจุบันเพิ่มขึ้น 1.1 องศา ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ปี2011-2020 ) และถ้าหากทุกประเทศที่ร่วมทำพันธสัญญาปารีส (Paris Agreement) ไม่มีการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนำไปสู่การปฏิบัติอย่างชัดเจน มีความเสี่ยงที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอีก 2.5-2.9 องศาเซลเซียส (4.5-5.2 ฟาเรนไฮต์) เกินกว่า 2 เท่าที่ตกลงกันไว้ว่าจะรักษาอุณหภูมิให้เพิ่มขึ้นได้ไม่เกนิ 1.5 องศา

 

 

 

  

 

เกล ไวท์แมน ศาสตราจารย์ด้านความยั่งยืนที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ( Gail Whiteman PROFESSOR OF SUSTAINABILITY AT THE UNIVERSITY OF EXETER) ให้ความเห็นใน เวที COP28 ถึงปรากฎการณ์เคลื่อนตัวของก้อนภูเขาน้ำแข็งมหึมามีความชัดเจนว่าน้ำแข็งบนขั้วโลกกำลังละลาย น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

“เป็นการเตือนภัยทางกายภาพ ทุกคนกำลังกังวลและจับตาดูทิศทางการเคลื่อนตัวของภูเขาน้ำแข็ง ถือเป็นการ “ปิดเกม” ภูเขาน้ำแข็ง ยักษ์ใหญ่ที่นอนหลับใหลมายาวนาน ความชัดเจนที่เกิดขึ้นคือ โลกอยู่บนความไม่มั่นคง”

การศึกษาสำคัญที่เผยแพร่ใน Science ค้นพบความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 16 จุด เมื่อโลกร้อนขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือการพังทลายของแผ่นน้ำแข็ง

ทางด้าน เพเตรรี ตาลาส, เลขานุการสำนักงานมาตรฐานโลก ( Petteri Taalas, secretary-general of the the World Meteorological Organization -WMO) กล่าวว่า นี่คือการเคลื่อนตัวของภูเขาน้ำแข็งของแอนตาร์กติกา การเคลื่อนไหวของภูเขาน้ำแข็ง บนขั้วโลก แรงสั่นสะเทือนแรก ทำให้เข้าใจและเห็นภาพผลกระทบที่กำลังจะเชื่อมโยงเกี่ยวกันกับผลกระทบมหาศาล ของระบบนิเวศทั่วโลก

 

 

นักสำรวจชาวอังกฤษ เข้าพิสูจน์
ปริศนา คาร์บอน-แร่ธาตุหล่อเลี้ยงโลกใต้มหาสมุทร

ก่อนหน้านี้ ทาง เดอะการ์เดียน ( theguardian) ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับ ผลการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา จากนักสำรวจแอนตาร์กติกาชาวบริติช ได้แล่นเรือสำรวจจนพบภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุด หรือ A23a อยู่ตรงหน้า กำลังลอยไปทางตอนใต้ของจอร์เจีย ซึ่งได้มีการแยกตัวออกจาก แอนตาร์กติกา ตั้งแต่ปี 1986 (พ.ศ.2529) โดยปักหลักติดอยู่บนพื้นที่ในทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea) มายาวนาน โดยลอร่า เทเลอร์ (Laura Taylor) นักวิทยาศาสตร์เคมีชีวภาพชาวอังกฤษบนเรือวิจัยน้ำแข็ง ระบุถึงการค้นพบ ภูเขาน้ำแข็งที่ใหญมหึมานี้ เป็นโอกาสในการทำวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศขั้วโลกแอนตาร์กติกา ที่สะท้อนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในกลุ่มภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่มากกว่าเมืองนิวยอร์ก ถึง 3 เท่านี้ มีกระบวนการทำงาน และมีอิทธิพล สร้างผลลัพธ์ของวงจรการผลิตสารอาหาร รวมถึงกระบวนการกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทร มีการทำงานอย่างไร

  

 

“ได้เก็บตัวอย่างน้ำทะเลรอบๆ ธารน้ำแข็ง เพื่อเป็นความหวังในการหาคำตอบอิทธิพลของคาร์บอนต่อระดับน้ำ ในภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่นี้ สามารถหล่อเลี้ยงสารอาหารให้กับแหล่งน้ำที่ไหลผ่านและสร้างระบบนิเวศ แต่สิ่งที่ต้องค้นหาให้ชัดเจน คือจำนวนและขนาดต้นกำเนิดที่สร้างกระบวนการเหล่านี้”

ระบบนิเวศที่ขั้วโลก ถือเป็นต้นกำเนิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการกำกับความสมดุลของคาร์บอนและสารอาหาร ในมหาสมุทร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการระดับน้ำ

ศาสตราจารย์เจเรนต์ ทาร์ลิง หัวหน้าทีมวิทยาศาสตร์ระบบนิเวศ (Prof Geraint Tarling) กล่าวว่า การหลุดของภูเขาน้ำแข็งจากชั้นน้ำแข็ง เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของธารน้ำแข็ง

“ระบบนิเวศของขั้วโลกถือว่ามีความสำคัญในการควบคุมความสมดุลของคาร์บอน และสารอาหารในมหาสมุทรของโลก จึงได้รับผลกระทบน้ำแข็งละลายเมื่อโลกเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง จากการละลายของภูเขาน้ำแข็งในรูปแบบต่างๆ มากมาย” ทาร์ลิงอธิบาย

นักวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นเข้าไปศึกษาและทำความเข้าใจ กับ ธรรมชาติของ “ ภูเขาน้ำแข็ง” มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศในมหาสมุทรที่ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ สามารถสร้างการลำเลียงสารอาหารจากพื้นดินได้ ในพื้นที่ขนาดใหญ่เท่ากับรัฐและบางเมือง เป็นความสามารถมีการสร้างการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลต่อวัฏจักรการกักเก็บคาร์บอน มีกระบวนการผลิตอาหาร ที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่อันลึกลับและใหญ่โตที่พวกเขาสร้างขึ้นนั้นเป็นอาณาจักร

 

 

 

กระบวนการทำงานของระบบนิเวศของภูเขาน้ำแข็ง เริ่่มต้นจากก้อนน้ำแข็งเล็กๆ หรือ หิมะตกในทะเล รวมตัวเกาะกันหนาแน่นเป็นเวลานับพันปีจนกระทั่งใหญ่โตขึ้น ที่ลำเลียงแร่ธาตุและอาหารจากผืนดินมารวมไว้ จนทำให้สะสมแร่ธาตุ สารอาหารมากมายให้กับชีวิตใต้ท้องทะเล เมื่อกระกระแสน้ำทะเลผ่านก็ค่อยๆ ละลาย ปล่อยแร่ธาตุอาหารต่างๆ สู่มหาสมุทร ซึ่งเกิดขึ้นจาการมีกระบวนการกักเก็บคาร์บอน แพลงก์ตอนที่เก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงแดด สามารถนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศมาใช้ในกระบวนสังเคราะห์อาหาร ให้กับแพลงก์ตอนและสัตว์ที่ดูดคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายไปก็จะขับของเสียออกไป คาร์บอนก็จะจับตัวกันเป็นก้อนและจมลงสู่ใต้มหาสมุทร

  

ที่มา: https://www.theguardian.com/world/2023/dec/05/incredibly-lucky-antarctic-scientists-examine-worlds-largest-iceberg-three-times-the-size-of-nyc
https://knowablemagazine.org/article/living-world/2018/base-iceberg-its-big-and-teeming-life
https://www.cnbc.com/2023/12/06/worlds-largest-iceberg-a23a-is-on-the-move-stoking-climate-concerns.html#:~:text=The%20iceberg%2C%20known%20as%20A23a,size%20of%20New%20York%20City.