กองทุนเปลี่ยนผ่าน มุ่งสู่ ดาวเหนือ จาก COP28

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ /บรรณาธิการ, 26 ธันวาคม 2566

เปิดเส้นทางกองทุนเปลี่ยนเข็มทิศโลก In ACtion จากข้อตกลง COP 28 กลไกแผนระดมทุน 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมุ่งสู่ดาวเหนือ (North Star) ในปี 2030 เป้าหมายรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่สูงเกิน 1.5C พร้อมกันกับ เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน 3 เท่า เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 2 เท่า

 

 

ในการประชุม COP28 (Conference of the Parties ครั้งที่ 28) ณ ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นเวทีช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง โดยข้ออสรุป ถือเป็นเป็นคำสัญญาที่วางไว้เดิมภายใต้ข้อตกลงปารีส(Paris Agreement ) พันธสัญญาจากกว่า 200 ประเทศ ทั่วโลก ที่วางเป้าหมายให้ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2030 และลดการใช้ฟอสซิล เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน 3 เท่า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2 เท่า รวมถึงวางแผนระดมทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านให้กับประเทศกำลังพัฒนา มูลค่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี

COP28 ครั้งนี้ จึงเสนอแผน แผนการปฏิบัติงาน (Framework In Action) ของการระดมทุน ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยดร. สุลต่าน บิน อาห์เหม็ด อัล จาเบอร์ ประธานการประชุม COP28 ได้กล่าวในวันปิดว่า

“โลกต้องการหาทางใหม่ โดยการตามดาวเหนือของเรา เราได้ค้นพบเส้นทางนั้น โดยการทำงานอย่างหนักเพื่อความมั่นคงในอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับประชาชนและดาวเคราะห์ของเรา เราควรภูมิใจในความสำเร็จที่มีประวัติ"

 

 

 

เปิดกองทุน ข้อตกลง COP28(Conference of the Parties ครั้งที่ 28)จากพันธสัญญา 200 ประเทศ ทั่วโลก วางเป้าหมายเส้นทางสู่ดาวเหนือ (North Star) รักษาระดับอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2030 และจัดหาแหล่งเงินทุนกว่า 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน 3 เท่า เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 2 เท่า

-เงินกองทุนเพื่อความสูญเสียและความเสียหาย ( Loss and Damage) 726 ล้านเหรียญสหรัฐ Loss and Damage:

-กองทุนสีเขียวเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Green Climate Fund) 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ, ครั้งที่2 เป็น 12,800 ล้านเหรียญสหรัฐ)

-กองทุนการปรับตัว(Adaptation Fund) 133.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา(Least Developed Countries Fund) 129.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนเพื่อการปรับตัวรับกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Special Climate Change Fund) 31 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนด้านพลังงานทดแทน (Renewable Energy) 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนเพิ่มความเย็น (Cooling) 25.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนการผลิตอาหารสะอาด(Clean Cooking) 30 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนพัฒนาเทคโนโลยี (Technology) 568 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนด้านก๊าซมีเทน (Methane) 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนการเงินด้านภูมิอากาศ (Climate Finance) 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 200 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุพาคี (Multilateral Development Banks -MDBs)

-กองทุนด้านอาหาร(Food) 3,100 ล้านหรียญสหรัฐ

-กองทุนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Nature) 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนด้านสุขภาพ (Health) 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนน้ำ (Water) 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนด้านความเท่าเทียมทางเพศ (Gender) 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ฟื้นฟูเพื่อสันติภาพ(Relief,Recovery and peace) 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

-กองทุนรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในท้องถิ่น (Local Climate Action) 467 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: Innovators Magazine,COP28