ปฏิวัติซัพพลายเชนก่อสร้างไทย นวัตกรรมปิดรอยเท้าปล่อยก๊าซเรือนกระจก

by ESGuniverse, 16 มกราคม 2567

วงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง แลกเปลี่ยนความเห็นเผชิญกับรับมือความท้าทายเทรนด์โลกร้อน ขับเคลื่อนซัพพลายเชนก่อสร้างยั่งยืน คิดค้นนวัตกรรม สร้างตึกเพิ่มแต่ปล่อยคาร์บอนต่ำ

 

 

 

  

พันธสัญญาการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 28 (COP28) ที่ดูไบ ต้องการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้การขับเคลื่อนโลกให้ลดการปล่อยคาร์บอนเพื่อจำกัดอุณหภูมิไม่สูงเกิน 1.5 องศาภายในปี 2030 และสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์(Net Zero Emission) ภายในปี2050 ทุกวงการจึงต้องมีการปรับตัวด้านการผลิต การทำธุรกิจ และอุตสาหกรรมใหม่ ที่ไม่ปล่อยคาร์บอน รวมถึงวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 1 โดย รายงานจาก RISC อ้างอิงข้อมูลจาก World Green Building Council ระบุถึง อัตราการปล่อยคาร์บอนในอุตฯก่อสร้างสัดส่วนมากถึง 39 % ของการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยแบ่งเป็น คาร์บอนที่เกิดจากการใช้พลังงานในอาคาร เช่น น้ำ ไฟฟ้า 28% และมาจากวัสดุก่อสร้างและช่วงการก่อสร้าง 11%

เป็นที่มาของการจัดสัมมนาหัวข้อ “ยกระดับความท้าทายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนส่งเสริมการเปลี่ยแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย (Elevate ambitions for a Sustainable Future, fostering positive change in Thailand’s construction industry” ซึ่งจัดโดยแซง-โกแบ็ง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างให้สอดคล้องกับทิศทางความยั่งยืนของโลก

 

 

 

แพลตฟอร์มซัพพลายเชนก่อสร้าง
วัดอัตราปล่อยคาร์บอน

นายปาทรีซ บาร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บวิค-ไทย จำกัด กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้าง กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างสูงในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการผลิตเพื่อยั่งยืน โดยเฉพาะคอนกรีต ต้องพัฒนาวัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างอาคารที่มีประสิทธิภาพ คิดค้นนวัตกรรมการผลิตมาใช้ในวงการก่อสร้าง โดยที่ไม่ปล่อยคาร์บอนหรือลดการปล่อยคาร์บอนให้มากที่สุดระหว่างการก่อสร้าง

แนวทางที่ดีที่สุด คือการร่วมมือกับพันธมิตรซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง บริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำไม่ให้เกิดการปล่อยคาร์บอนระหว่างการผลิต อาทิ การใช้รถบรรทุก ที่ต้องเลือกใช้พลังงานที่สะอาด ลดคาร์บอน หรือ ชนิดของน้ำมันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงมีการพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลการใช้พลังงาน เพื่อนำไปประเมินอัตราการปล่อยคาร์บอน โดยมีการประเมิน 3-6 เดือน และ 1 ปี เพื่อสามารถนำมาวิเคราะห์ช่วงเวลาการปล่อยคาร์บอน หาส่วนที่ปล่อยคาร์บอน จึงจะสามารถนำข้อมูลมาบริหารจัดการลดคาร์บอนให้เหมาะสม และประเมินซัพพลายเออร์ที่มีการปล่อยคาร์บอนได้ชัดเจน

“ผู้ที่จะขับเคลื่อนที่ชัดเจนคือ ผู้กำกับดูแล มีความสำคัญเข้าไปตรวจสอบ อาคารที่เกิดขึ้นหลายปี จะต้องสร้างมีการปรับปรุง และพัฒนาอาคารที่ก่อสร้างแบบประหยัดพลังงาน ปล่อยคาร์บอนได้น้อยลง โดยเฉพาะอาคารเก่า ที่สร้างมานาน มีการปล่อยคาร์บอนสูง ต้องเข้าไปบริหารจัดการ กำกับดูแลให้มีการปรับปรุงอาคารที่เก่าแก่ ที่มีจำนวนมากถึงเทียบเท่ากับอาคารสูงถึง 300 ชั้น “ นายปาทรีซ กล่าว

 

 

 

ฉลากสีเขียวการันสีวัสดุก่อสร้างรักษ์โลก

ด้านนายเฑียร จึงวิรุฬโชตินันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท คอรัล ไลฟ์ จำกัด ให้ความเห็นว่า การช่วยลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แนวทางหนึ่งที่จะทำได้คือการเข้าไปดูวัตถุดิบที่ได้รับมาตรฐานการรับรองฉลากสีเขียว ( Green Label) ที่จะต้องเป็นสิ่งชี้วัดถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกันกับทิศทางเทรนด์โลก ที่มีการตระหนักถึงถึงแหล่งที่มาของการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ เพื่อไปสู่เป้าหมายการจำกัดให้อุณหภูมิไม่สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จึงนำไปสู่การขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ในหลายประเทศ และ ภาคธุรกิจต้องปรับตัว

 แชง-โกแบ็ง ขับเคลื่อนโมเดลเศรษกิจหมุนเวียน

ชูคุณค่า ทำบ้านให้น่าอยู่กว่าเดิม


ทางด้าน นายเบอร์นัว บาร์แซง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม แซง-โกแบ็ง กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยต้องพัฒนาควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้เพื่อร่วมกันสร้างและพัฒนาธุรกิจยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาหาทางออกการก่อสร้างยั่งยืน “light and sustainable construction” มุ่งมั่นพัฒนาวงการก่อสร้าง ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และมุ่งเน้นในด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนสู่องค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593

ทั้งนี้ เป้าหมายของบริษัทต้องการทำให้ “โลกเป็นบ้านที่น่าอยู่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม” ( Making the world a better home) ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ กระบวนการผลิต ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

"ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกฏบัตรด้านสิ่งแวดล้อม EHS ดังนั้นบริษัทจึงได้ส่งเสริมบทบาทในการป้องกัน และบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน นักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย ลูกค้า ซัพพลายเออร์ องค์กรภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย"

สำหรับ ภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2567 กลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็งมองว่าเป็นปีที่ท้าทาย ทั้งเรื่องของต้นทุนสินค้า, งบประมาณการก่อสร้าง, ค่าแรงที่สูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการแข่งขันด้านราคาที่สูงมาก แต่ถือเป็นโอกาสในพัฒนานวัตกรรมที่มีความชำนาญมาสร้างความแตกต่างเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า ด้วยการมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบก่อสร้าง นำไปใช้งานได้จริงในที่อยู่อาศัย เช่น การลดการใช้พลังงาน การลดต้นทุนการซ่อมแซมในระยะยาว รวมถึงการให้คำปรึกษาจากทีมเทคนิคที่เชี่ยวชาญทำให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพชองการก่อสร้างที่ดียิ่งขึ้น จึงสร้างความพึงพอใจให้กับ ให้กับผู้ใช้ และผู้อยู่อาศัย

“การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการก่อสร้าง จะต้องช่วยทำให้การอยู่อาศัยดีขึ้น แก้ไขปัญหาที่ลูกบ้านเผชิญ หลังจากวิจัยพัฒนานวัตกรรมแล้วจึงต้องต่อยอดธุรกิจขายปลีก และขายส่ง รวมถึงทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก และยอมรับในคุณภาพมากขึ้น จึงเกิดมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain) เพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ผู้อยู่อาศัย และประโยชน์สูงสุดกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด”

 

 

 

"ดาว" คิดค้นแพคเกจจิ้ง ปลอดขยะ

ด้านนายเอกสิทธิ์ ลุคนานิธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจและพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว(ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า ดาวฯเป็นบริษัทฯที่ดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบ โดยผลิตวัตถุดิบและสนับสนุนด้านความครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านธุรกิจดูแลสุขภาพ (เฮลท์แคร์) และความงาม อย่างแรกคือ ต้องการนำของกลับมาใช้ ซึ่งทำให้เกิดเป็นกระบวนการ ให้ขยะพลาสติกเป็นขยะที่มีคุณภาพด้วยการสร้างเป็นห่วงโซ่ที่มีคุณภาพ

“เชื่อมั่นว่าจะเป็นการเดินทางไปสู่ความยั่งยืนของเรา ไม่ว่าจะเป็นการลดขยะ หรือรีไซเคิลขยะ เพื่อทำความยั่งยืนให้เป็นในเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการสนับสนุนความยั่งยืนในหลายๆด้านด้วยกัน” นายเอกสิทธิ์ กล่าว

 

 

 

จุฬาฯ ชี้ เศรษฐกิจหมุนเวียน
คือ ทางออก ขยะก่อสร้าง

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถาบันดังกล่าวเป็นหน่วยงานใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่กี่ปี ที่วิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการจัดการขยะที่เป็นของแข็ง และการเชื่อมโยงเศรษฐกิจหมุนเวียน หากพูดในไทยก็จะรวมไปถึงการประหยัดพลังงานด้วย และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นความยั่งยืน ซึ่งทางจุฬาฯได้มีการริเริ่มให้ขยะเป็นศูนย์ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำขยะมาใช้ประโยชน์ ซึ่งได้ทำงานกับบีเอ็นเอ ประเทศไทย และทำเป็นโครงการนำร่องในระดับประเทศ และได้เห็นเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งผลในเชิงบวก ได้เห็นว่าระบบนิเวศในเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้น มีหลายองค์กรที่ให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก

 สถาบันการเงิน เปลี่ยนโฟกัสบริบทการเงิน

ครอบคลุมลงทุน คู่ขนานสิ่งแวดล้อม


นายเสถียร เลี้ยววาริณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCBX กล่าวว่า วิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ก็ต้องมีเงินทุน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย ความเป็นศูนย์กลางทางคาร์บอนในในปี 2050 ขณะเดียวกัน และปีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้สร้างศูนย์กลางความเป็นแทค(ความเป็นเขียว) ตามสนธิสัญญาปารีสโดยมุ่งเน้นด้านพลังงาน

ส่วนการเงินมุ่งเป้าด้านจัดทำ Playbook ปี 2030 เพื่อเป็นเข็มทิศให้เข้าใจวิถีการทำธุรกิจบริบทใหม่ ไม่ใช่ธนาคารเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึงการลงทุน สภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) จึงมีการทำวิจัยปัญหาด้านภูมิอากาศในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า รวมไปถึงภาคการเกษตรเพื่อเป็นข้อมูลให้องค์กรต่างๆ หาวิธีลดการปล่อยคาร์บอน

“ธนาคารได้โฟกัสว่าอะไรคือผลกำไร ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายของบอร์ด ว่าจะทำอย่างไรให้โลกน่าอยู่มากขึ้น ซึ่งชื่นชอบนโยบายของ แซง-โกแบ็ง เป็นอย่างมาก คิดว่าอีก 20 กว่าปีข้างหน้า ไม่ใช่เรื่องที่นานเลย จึงคิดว่าทุกคนต้องร่วมกับรับผิดชอบ ซึ่งธนาคารได้ผลักดันธุรกิจทางด้านการเงินของเรา ให้ตรงตามมาตรฐาน รวมไปถึงผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนด้วย” นายเสถียร กล่าว