F1 เหยียบคันเร่งสู่เส้นชัยความยั่งยืน ประลองความเร็ว ลดคาร์บอนเป็นศูนย์

by ESGuniverse, 29 เมษายน 2567

Formula 1 หรือ F1 นำทัพเป็นผู้นำกีฬาแข่งรถคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างยั่งยืนเจ้าแรกของโลก ล้างภาพจำ หลังครหาหนัก แข่งรถปล่อยมลพิษ 256,551 ตัน จาก 10 ทีม รถ 20 คัน 28 รายการ

สนามประลองความเร็ว Formula 1 (F1) ศึกชิงแชมป์เปี้ยนเจ้ายุทธจักร ครองเวทีอันดับหนึ่งของโลก (F1 World Championship) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2499) ได้เป็นสนามแข่งรถแห่งประวัติศาสตร์ จนกลายเป็นมรดกสร้างมูลค่า ดึงดูดให้สายตาคนนับล้านจากทั่วทุกมุมโลก อยากเข้าร่วมชมรายการขับเคี่ยว แข่งขัน ที่ทรงอิทธิพลกระจายไปเปิดเวทีแข่งขันในหลายทวีป ยุโรป อเมริกัน เอเชีย และตะวันออกลาง เปิดการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 23 รายการต่อปี ใน 21 ประเทศ

 

ทำไมคนทั่วโลกหลงใหลในF1


เสน่ห์เย้ายวนของสนามแข่งขันเต็มไปด้วยอารมณ์และความฝัน ในการต่อสู้ ขับเคลื่อนควบคุมความเร็ว ได้สร้างปรากฎการณ์ที่ทำให้การแข่งรถ F1เป็นมากกว่าการกีฬา แต่เป็นความบันเทิง ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ อรรถรสจากการเฝ้าดู จากนักขับอัจฉริยะ ที่ต้องใช้ทักษะในการควบคุมความเร็วระดับสูงถึง 230 ไมล์ต่อชั่วโมง (mph) ระดับความเร็วที่ถือว่ายากและท้าทายสูงที่สุดในโลก

ผสานกับการอวดโฉมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการขับเคลื่อน สีสัน ที่เกิดขึ้นจากสนามแข่ง เสียงจากการเร่งเครื่องแข่งขันกันอย่างดุดัน เพื่อช่วงชิงชัย กลิ่นยางไหม้เสียดสีบนท้องถนน เสียงจากกองเชียร์และภาพโบกไม้โบกมือกับการคว้าชัยชนะ และเสียใจไปกับผู้แพ้ คือประสบการณ์ที่ไม่อาจลืมเลือนที่หาได้ใน F1 เท่านั้น ที่สร้างเวทีการแข่งขัน ดึงอารมณ์ร่วมการแข่งขันอันตื่นเต้น เร้าใจ กับความเสี่ยงและความปลอดภัยระหว่างความเร็วสูงต้องอาศัยระหว่างสภาพจิตใจและเทคโนโลยีที่สุดล้ำ

นี่คือ หัวใจสำคัญของ F1 ที่กระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดพลังขับเคลื่อนชีวิตให้ต้องต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด (Drive to Survie) จากเกมส์การแข่งขันทั้งผู้จัดและนักขับ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นสารคดีซีรีส์ F1 ทางเน็ทฟลิกซ์ (Netflix) ที่สร้างปรากฎการณ์เรตติ้งผู้ชมมากกว่า 360,000 คน ที่ไม่ได้เข้าชมการแข่งขันในช่วงหลังปี 2021 และดึงดูดให้คนมาชมในปี 2022 จนได้รับความนิยมถึง 33 ประเทศ

นี่คือ ส่วนผสมการแข่งขันอันลงตัวระหว่าง การประลองความเร็ว ทักษะการควบคุมจิตใจของนักขับขี่มืออาชีพ เทคโนโลยีทางยานยนต์ การวางกลยุทธ์การชิงไหวชิงพริบในแต่ละรอบ ที่ทำให้เกมกีฬามีความกลมกล่อ มหาชนเฝ้าติดตามไปทั่วทุกมุมโลก

บริบทใหม่ F1
ความบันเทิงที่มาพร้อมเงื่อนไขลดคาร์บอน

แม้จะเป็นกีฬา และความบันเทิงแข่งรถในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมา จะได้รับความนิยมอย่างสุดขีด จนทำให้ F1 ครองความเป็นพี่ใหญ่เจ้าสนามเบอร์ 1 ของโลก แต่ก็ตามมาพร้อมกันกับ การปล่อยคาร์บอนจำนวนกว่า 256,551 ตัน เพราะเป็นการแข่งขันกีฬา และความบันเทิงที่มาพร้อมกับ การใช้พลังงานสูง การรวบรวม รถแข่งหรูหราหลากหลายแบรนด์ ที่เป็นรถแข่งแบบรถที่นั่งเดี่ยว (Single-Seater Motorsports) มีการปล่อยพลังงานจาก ทั้งจากเครื่องยนต์ นักแข่ง และผู้เข้าชมในแต่ละทัวร์นาเมนต์

จนกระทั่งเริ่มเกิดการหารือเกี่ยวกับวิกฤติปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น F1 ก็ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับกีฬาประลองความเร็ว เพื่อความสะใจ จะครองความนิยมต่อไป พร้อมกันกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมการแข่งรถได้อย่างไร


จึงมีการวางกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเพื่อลดคาร์บอนในกิจกรรม ด้วยการใช้รถพลังงานไฮบริด มีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ ใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน ใช้พลังงานหมุนเวียนและตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนเข้ามาช่วยให้บรรลุผล


70 ปี กำเนิดนวัตกรรมขับเคลื่อนลดคาร์บอน 4 ปี คาร์บอนลด 13% ตั้งเป้าลด 50% ในปี 2030

โดยทาง F1 อ้างว่า บริษัทฯได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 13% ระหว่างปี 2018-2022 และยังคงดําเนินการต่อไปเรื่อยๆ ในการขับเคลื่อนเพื่อลดการปล่อยมลพิษลง 50% ภายในปี 2030


นายเชส แครีย์ ประธาน Formula 1 ได้เล่าย้อนการแข่งรถที่เป็นตำนานของ F1 ถือกำเนิดขึ้นมาและสร้างประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 70 ปี ในฐานะผู้บุกเบิกเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากมาย สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและช่วยต่อสู้กับการปล่อยคาร์บอน ที่ใช้ หลักการเคลื่อนที่ทางอากาศ เรียกว่า อากาศพลศาสตร์ (Aero Dynamic) หรือ เรียกว่านวัตกรรมการขับเคลื่อนบนอากาศ จนถึงการออกแบบเบรกที่ได้รับการปรับปรุง ความก้าวหน้าที่นําโดยทีม F1 ได้เป็นประโยชน์ต่อรถยนต์หลายล้านคันบนท้องถนนในปัจจุบัน


น้อยคนที่จะรู้ว่าพลังงานไฮบริดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดยให้พลังงานมากขึ้น ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่ารถยนต์บนท้องถนนคันอื่นๆ

 

โดยนายเชสเชื่อว่า F1 สามารถเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไปได้ โดยทํางานร่วมกับภาคพลังงานและยานยนต์เพื่อส่งมอบหน่วยพลังงานคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์หน่วยแรกของโลก และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก

 

ในการเปิดตัวกลยุทธ์ความยั่งยืนครั้งแรกของ F1 นี้ มีเป้าหมายที่จะเป็นกีฬาคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2030 ซึ่งตระหนักถึงบทบาทสําคัญที่ทุกองค์กรต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหาระดับโลกนี้ ใช้ประโยชน์จากความสามารถ ความหลงใหล และแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่สําหรับนวัตกรรมที่จัดขึ้นโดยสมาชิกทุกคนในกลุ่ม F1 หวังว่าจะสร้างผลกระทบเชิงบวกที่สร้างต่อโลกที่ยั่งยืนสร้างกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการแข่งขันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

F1 แข่งรถปลดปล่อยคาร์บอน เพิ่มภาวะโลกร้อนมากแค่ไหน?

 

เมื่อพิจารณาจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Footprint) ของรถยนต์ในแต่ละปี ไม่น่าแปลกใจที่ F1 ได้รับการตรวจสอบอย่างหนักโดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตามรายงานความยั่งยืนปี 2019 ของ F1 เมื่อประกาศเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2030 เป็นครั้งแรก บริษัทได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 256,551 ตัน โดยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เหล่านี้ถูกปล่อยออกมาจาก 10 ทีม รถยนต์ 20 คัน ในการแข่งขัน 23 รายการ


ที่น่าสนใจคือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดจํานวนเล็กน้อยซึ่งน้อยกว่า 1% มาจากการใช้รถยนต์ F1 ซึ่งหมายถึงการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการใช้เชื้อเพลิงของหน่วยพลังงานของ F1 (รถแข่ง)


สัดส่วนการปล่อยคาร์บอนกว่า 45% เกิดจากการปล่อยมลพิษจากการขนส่งทางอากาศ ทะเล และทางถนน เช่นเดียวกับกีฬายอดนิยมอื่นๆ ที่มลพิษส่วนใหญ่มาจากผู้เล่นและแฟนๆ ที่เดินทางไปรับชม


อีกส่วนที่สำคัญในการปล่อยมลพิษของ F1 คือกิจกรรมในเวลากลางคืน การผลิตรถยนต์และการบํารุงรักษาสนามแข่ง (Track) มีการปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา


เนื่องจากเครื่องยนต์ของรถแข่ง F1 เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจํานวนมาก บริษัทจึงกระตือรือร้นที่จะลดการปล่อยมลพิษเพื่อจัดการกับคาร์บอนฟุตพริ้นขนาดใหญ่ Formula 1 ให้คํามั่นว่าจะบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ 50% ภายในปี 2030 บริษัทยังตั้งเป้าที่จะทําให้แต่ละการแข่งขันยั่งยืนภายในปี 2568


F1 ทําจะอย่างไรให้ถึงปลายทาง Net Zero?

เช่นเดียวกับ Formula 1 สหพันธ์รถยนต์นานาชาติ (FIA) ยังตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์สุทธิภายในปี 2030 ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเทียบกับ F1 แล้ว การปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 18,910 ตันในปี 2019 นั้นน้อยกว่ามาก


อย่างไรก็ตาม การแข่งรถมอเตอร์ไซค์ก็ไม่เป็นสิ่งที่ดีสําหรับโลกใบนี้ และบริษัทกีฬาก็รู้เรื่องนี้อย่างชัดเจน เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ F1 มองหาวิธีลดการปล่อยคาร์บอนโดยใช้วิธีการต่างๆ
โดยนายรอสส์ บราวน์ กรรมการผู้จัดการของ Motorsports และผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ Formula 1 กล่าวว่าเป็นเรื่องยากในการที่จะแก้ไขปัญหาและสร้างการเปลี่ยนแปลงกับกิจกรรมหลักที่เคยทำมา จึงต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนวิธีการมากมาย


“ ไม่มีวิธีง่ายๆที่จะแก้ปัญหายากๆได้ จึงต้งอเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงมากมายหลากหลายด้าน ตั้งแต่การติดตามไปตลอดจนการทํางาน ซึ่งบริษัทสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลงได้ 17% ในช่วง 2 ปีแรก นับตั้งแต่ปี 2019 การลดดังกล่าวทําได้โดยการรวมความคิดริเริ่มต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน”

สำหรับกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนF1 ในเวอร์ชั่นใหม่ ทำให้การแข่งขันความเร็ว ลดคาร์บอนมีดังนี้คือ

1. การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน


F1 ประสบความสําเร็จในการใช้เชื้อเพลิง E10 ซึ่งประกอบด้วยเอทานอล 10% ให้กับหน่วยพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ บริษัทกีฬาจึงตั้งใจที่จะใช้รถยนต์ของตนด้วยเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน 100% โดยร่วมมือกับ Saudi Arabian Aramco และบริษัทเชื้อเพลิงรายใหญ่อื่นๆ ในการผลิตสูตรเครื่องยนต์ใหม่จะพร้อมใช้งานภายในปี 2026


ซึ่งเป็นเชื้อเพลิง Drop-In เนื่องจากพร้อมใช้งานในสูตรเดียวกันในเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE)

 

นอกจากนี้ ทาง F1 วางแผนที่จะร่วมมือกับ F2 และ F3 เพื่อทดสอบเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า โดยเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนจะใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนหรือของเสียเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไป ซึ่งเชื้อเพลิงทางเลือกเหล่านี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 96%


2. การใช้พลังงานหมุนเวียน

F1 ได้รับการรับรองการจัดการความยั่งยืนระดับแนวหน้าจาก FIA หน่วยงานกํากับดูแลมอเตอร์สปอร์ตสําหรับการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในสํานักงาน


ภายใต้วิธีการนี้ บริษัทฯยังหันมาใช้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อจ่ายไฟให้กับสถานที่บางแห่ง วงจรอื่นๆ เพื่อให้ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% เช่นกัน

 

3. การตัวชี้วัดผลด้านความยั่งยืนอื่นๆประกอบด้วย

 

-มาตรฐานรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ V6 เนื่องจากเครื่องยนต์ V6 มีขนาดเล็กกว่ามาก ออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและส่งเสริมการแข่งรถที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


-ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single Use Plastic) เพิ่มแรงจูงใจให้แฟนๆ เข้ามาชม ช่วยกันใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการเดินทางการบริโภคในสนามแข่ง โดยนำกลยุทธ์ 3Rs (Reduce -Reuse-Recycle) ทั้งการลดการใช้พลังงงาน นํากลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลในกิจกรรมต่างๆ เช่น การรีไซเคิลยางที่หมดอายุเป็นเชื้อเพลิงส่งมอบให้กับโรงงานผลิตปูนซีเมนต์

 

ซุูเปอร์สตาร์ นักแข่ง
แชมป์โลกไอดอลยั่งยืน

การแข่งขันเพื่อความยั่งยืนกําลังเริ่มขึ้นแล้ว นักแข่งรถ F1 บางคนยังมีส่วนร่วมในความยั่งยืน และการดําเนินการด้านสภาพอากาศของบริษัทเป็นรายบุคคล ตัวอย่าง เช่น เซบาสเตียน เวทเทล แชมป์โลกได้เลือกไม่เดินทางทางอากาศไปงานแข่ง แต่เขาขับรถแข่งไปเพื่อลดการปล่อยมลพิษในการเดินทางของเขา


และบริษัทมอเตอร์สปอร์ตมืออาชีพยังสนับสนุนโครงการคาร์บอนที่สร้างคาร์บอนเครดิต รวมถึง Rimba Raya Biodiversity Reserve ในอินโดนีเซียและโครงการผลิตพลังงานหมุนเวียนในแซมเบียและอินเดีย อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้เปิดเผยจํานวนเครดิตที่ซื้อจากโครงการเพื่อชดเชยการปล่อยมลพิษบางส่วน

 

สำหรับในอนาคต Formula 1 กําลังวางแผนที่จะปรับปรุงการขนส่งไปยัง Grand Prix เพิ่มเติมเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกีฬา ในขณะที่ Las Vegas Grand Prix ใกล้เข้ามาแล้ว แฟนๆและนักวิจารณ์ ก็กําลังเคลื่อนไหวเพื่อเป็นสักขีพยานในสิ่งที่ดีที่สุดของ F1
ความพยายามด้านความยั่งยืนของกีฬามีแนวโน้มที่ดี แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน อีก 7 ปีก็จะถึงปี 2030 แล้ว F1 เองก็กําลังพุ่งทะยานไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ด้วยเช่นกัน

 


Source: https://carboncredits.com/the-race-to-sustainability-formula-1s-carbon-footprint-and-net-zero-pledge/
F1 publishes sustainability gains amid 2030 | Motorinsiders
https://www.primecarsrentalthailand.com/f1-motorsport/

 

Tag :