แก้พ.ร.บ.ยา หรือเอื้อทุนค้าปลีกชิงเค้ก 40,000 ล้าน

by ThaiQuote, 29 สิงหาคม 2561

การขับเคลื่อนการแก้พ.ร.บ.ยา โดย สำนักงานอาหารและยา (อย.)  โดยการเพิ่มวิชาชีพที่มีอำนาจจ่ายยา จากเดิมที่มีหมอกับเภสัชกร โดยเพิ่ม ‘พยาบาล’  เข้ามาด้วย ถูกมองว่า เป็นการแก้กฎหมายเพื่อเอื้ประโยชน์ให้กับ ทุนค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่กำลังเพิ่มเชคชั่นยา นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการอย. แถลงโดยอ้างคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 77/2559 เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ แต่ได้พ่วงวิชาชีพในการจ่ายยาเข้าไปอย่างเนียนๆ โดยระบุว่า ทุกวิชาชีพจะต้องทำงานร่วมกัน อย.ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถึงประสิทธิภาพในการทำงาน  กรณีมีการจับกุม อาหารเสริม ยี่ห้อดัง ที่ได้แอบอ้าง เลขทะเบียนอย.  คำถามที่มีคือ อย.มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ยาและอาหารเสริม ได้แค่ไหนอย่างไร แต่กรณี การขอแก้กฎหมายยา ถูกมองว่า มีเป้าหมายเพื่อเอื้อให้กับ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกหรือไม่ มูลค่าการใช้ยาในประเทศไทย ไม่มีการรวบรวมไว้ชัดเจนนัก แต่มีประมาณการว่า ในแต่ละปีคนไทยบริโภคยา ตัวเลขในปี 2560 มูลค่าการใช้ยาของคนไทย  1.4 แสนล้านบาท เป็นตลาดโรงพยาบาลและคลีนิก 100,000 ล้านบาท และตลาดร้านขายมูลค่า 40,000 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีจำนวน 98,000 ล้านบาท และ 68,000 ล้านบาท ในปี 2543 เพิ่มขึ้นปีละหลายพันล้านบาท ในจำนวนนี้ มีคนใช้ยาเกินจำเป็น 3,700 ล้านบาท อำนาจในการจ่ายยา ตามกฎหมายกำหนดให้หมอ และเภสัชกร จะเห็นว่า ตามโรงพยาบาลหมอจะเป็นคน เขียนคำสั่งจ่าย และเภสัชกร จะเป็นคนจัดยา ในร้านยา ‘เภสัชกร’ จะเป็นคนวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยและจ่ายยาตามอาการ ส่วนในตามตำบล-หมู่บ้านที่มีอนามัย ที่ระยะหลังได้ปรับเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลชุมชน มีหมอสาธารณสุข เป็นคนจ่ายยา โดยมีข้อจำกัด สามารถจ่ายยาสามัญ ไม่สามารถ ‘จ่ายยาอันตราย’ได้ ยาอันตรายนี่แหละ เป็นประเด็นที่นำไปสู่การแก้กฎหมาย ให้พยาบาล มีอำนาจในการจ่ายยาได้ ความหมายของ ‘ ยาอันตราย’ ไม่ได้หมายถึงยา ที่เป็นอันตราย แต่หมายถึงยา ที่จะต้องจ่ายให้ ผู้ป่วย ที่เป็นโรครุนแรง ซึ่งบางโรคเภสัชกรเอง ก็จ่ายยาเองไม่ได้ ต้องจ่ายตามคำสั่งแพทย์ อาทิ ยาที่เกี่ยวกับจิตเวช  หรือยานอนหลับ เป็นต้น เภสัชกร’ เป็นอาชีพที่ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ใช้เวลาเรียน 5 ปี เกี่ยวกับโรคและการใช้ยา มีความสามารถในการจ่ายยาตามโรคและปรุงยาได้ จึงมีอำนาจตามกฎหมาย ในทัศนะของเภสัชกร เห็นว่า พยาบาล ไม่ได้เรียนด้านยา มาเป็นการเฉพาะ มีความรู้เรื่องยาน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้พยาบาล เป็นคนจ่ายยา ‘เภสัชกรส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายให้พยาบาลจ่ายยาได้ เพราะเห็นว่า พยาบาลมีความรู้เรื่องยาไม่เพียงพอ และกำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อคัดการการแก้ไขกฎหมายในประเด็นดังกล่าว’ เภสัชกร รายหนึ่ง กล่าว ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ ขณะนี้ มีร้านสะดวกซื้อ ได้เปิดแผนกยาขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันได้ขายเฉพาะยาสมัญทั่วไป ซึ่งสามารถขายได้ไม่ต้องมีเภสัชกร ยังไม่มียาอันตรายขาย หากมีการแก้กฎหมายให้ ให้นอกจากเภสัชกร จ่ายยาได้ ก็เข้าทางรายใหญ่ เหมือนเปิดทางให้รายใหญ่เข้ามาแย่งเค้ก ยา 40,000 ล้านบาท การใช้เภสัชกรมาประจำร้านยาสะดวกซื้อ มีต้นสูง หากเปิด 24 ชม.จะต้องใช้ 3 คน หากเปิดให้อาชีพอื่นสามารถจ่ายยาได้ ร้านสะดวกซื้อก็สามารถเปิดแผนกยาได้ เพียงแค่กฎหมาย ก็สามารถเปิดได้ทันที 10,000 สาขา การแก้พ.ร.บ.ยา ทางอย. จะต้องเคลียร์ให้กระจ่ายว่า เป็นการแก้ปัญหาให้ชาวบ้านเข้าถึงยามากขึ้น หรือ ต้องการเอื้อให้ทุนใหญ่เข้าสู่ธุรกิจยาเต็มรูปแบบ ซึ่งเท่ากับเป็นการ ‘ฆ่าร้านขายยา’  เหมือนที่เคย ‘ฆ่าร้านโชห่วย’ ให้ล้มตายมาแล้ว