รมว.วิทยาศาสตร์ฯดันโครงการ “Promoting I with I” เคลื่อน Start-up ชีววิทย์และสุขภาพตอบรับไทยแลนด์ 4.0

by ThaiQuote, 14 มีนาคม 2560

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าประเทศไทย 4.0 เป็นนโยบายที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมหรือที่เรียกว่า “Value–Based Economy” มีการปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าพร้อมบริโภคไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” ซึ่งอีกนัยหนึ่งเป็นการเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม โดยการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จาก Traditional SMEs หรือ SMEs ดั้งเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และบริษัท Startups ภาครัฐมีการสนับสนุนบริษัท Startup ซึ่งมี 3 ด้านหลัก คือ 1.ด้านกำลังคน : โครงการ Talent Mobility /โครงการ WIL การฝึกอบรม Adv.Tec. 2. ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม : คูปองนวัตกรรม  Start-up Venture, iTAP การอนุญาตให้ใช้สิทธิ IP เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การบริการตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการรับรองคุณภาพและ 3.ด้านภาษี : การยกเว้นภาษีเงินได้ และการยกเว้นภาษีเครื่องมือ การยกเว้นภาษี 300% ส าหรับการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนเป็นต้น” ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่าอย่างไรก็ดีถึงแม้ภาครัฐจะมีโครงการสนับสนุนให้เพิ่มบริษัท Startup จำนวนมากแต่นักวิจัยของประเทศไทยที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ตลอดจนแหล่งทุนต่าง ๆ ยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการจัดตั้งโครงการส่งเสริมนวัตกรรมด้วยการลงทุน (Promoting innovation with investment : Promoting I with I) จึงมีประโยชน์สามารถก่อให้เกิดการตกลงทำสัญญาใช้สิทธิ (Licensing agreement) หรือการจัดตั้งบริษัท Startup  ขึ้นจากผลงานวิจัยและ innovation ของนักวิจัยไทยได้ในอนาคตอันใกล้โดยคาดหวังว่าโครงการนี้ ซึ่งเกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของทั้ง  5 หน่วยงาน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด ข้อตกลงหรือบริษัท Startup company ขึ้นจากนวัตกรรมซึ่งเป็นผลงานวิจัยของประเทศไทย ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กล่าวว่า “เนื่องจากมีผลงานวิจัยก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆโดยนักวิจัยไทย ซึ่งบางส่วนสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรม (innovation) และผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ตามมาในที่สุด นักวิจัยของประเทศไทยมีความสามารถในการวิจัยสูงมาก แต่ละปีได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ในรูปแบบของการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดีองค์ความรู้จากผลงานวิจัยยังไม่ได้ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากนัก ทั้งที่มีผลงานวิจัยที่มีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) สามารถนำไปสู่การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Technology licensing)หรือการจัดตั้งบริษัทเริ่มใหม่ (Start-up company) ในขณะที่อีกด้านหนึ่งบริษัทเอกชนไทยจำนวนหนึ่งก็เริ่มเสาะแสวงหาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆหรือยกระดับความสามารถของผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนให้เกิดธุรกิจชีวภาพจากนวัตกรรมได้เล็งเห็นความสำคัญของการจับคู่ระหว่างผลงานวิจัยกับภาคธุรกิจและนักลงทุนจึงได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (Thai Bio) ซึ่งมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสมาชิกอยู่ 15 บริษัท สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้ร่วมมือกันผลักดันให้งานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ที่คัดสรรแล้วจำนวนหนึ่งมากนำเสนอเป็นต้นแบบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และพร้อมเข้าสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์โดยภาคเอกชนต่อไป โดยในวันนี้นอกจากเป็นการลงนามความร่วมมือแล้ว ยังมีกิจกรรมเสวนาและแถลงข่าวเรื่อง โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุนปี 2560 ซึ่งจะจัดกิจกรรมให้นักวิจัยเจ้าของผลงานต้นแบบได้พบนักลงทุน และกลุ่มธุรกิจภาคเอกชนจำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม 2560 โดยจะให้โอกาสนักวิจัยได้ฝึกฝน pitching ล่วงหน้าผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้วย”
Tag :