รู้มั้ย! สมณศักดิ์พระมี 65 ชั้นพัดยศ

by ThaiQuote, 31 พฤษภาคม 2561

สมณศักดิ์ หมายความถึง ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระภิกษุรูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย   ทำเนียบสมณศักดิ์ไทยในปัจจุบัน
  1. สมเด็จพระสังฆราช 1 พระองค์
  2. สมเด็จพระราชาคณะ 8 รูป
  3. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 23 รูป
  4. พระราชาคณะชั้นธรรม 50 รูป
  5. พระราชาคณะชั้นเทพ 100 รูป
  6. พระราชาคณะชั้นราช 210 รูป
  7. พระราชาคณะชั้นสามัญ 510 รูป
  8. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ(ไม่จำกัดจำนวน)
  9. พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
  10. พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)(ไม่จำกัดจำนวน)
  11. พระเปรียญ ป.ธ.9 - ป.ธ.8 - ป.ธ.7 - ป.ธ.6 - ป.ธ.5 - ป.ธ.4 - ป.ธ.3
สำหรับลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี มีรายละเอียด ๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ๒. สมเด็จพระสังฆราช ๓. สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ (ตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์) พระราชาคณะ ๔. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ ๕. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร ๖. พระราชาคณะ ชั้นธรรม ๗. พระราชาคณะ ชั้นเทพ ๘. พระราชาคณะ ชั้นราช ๙. พระราชาคณะ ชั้นสามัญ - พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-กลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระปลัดกลาง รูปแรก) - พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค - พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด - พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด - พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ - พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.๙-๘-๗-๖-๕-๔-๓ - พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ - พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ - พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ - พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก พระครูสัญญาบัตร ๑๐. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.) ๑๑. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.) ๑๒. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.) ๑๓. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.) ๑๔. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.) ๑๕. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ ๑๖. พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค ๑๗. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.) ๑๘. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.) ๑๙. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.) ๒๐. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.) ๒๑. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.) ๒๒. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.) ๒๓. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.) ๒๔. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.) ๒๕. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือ ทผจล.ชพ.) ๒๖. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.) ๒๗. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือ ทผจล.ชอ.) ๒๘. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ๒๙. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร ๓๐. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช ๓๑. พระเปรียญธรรม ๘ ประโยค ๓๒. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือ ทผจล.ชท.) ๓๓. พระเปรียญธรรม ๗ ประโยค ๓๔. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม ๓๕. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต) ๓๖. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.) ๓๗. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.) ๓๘. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.) ๓๙. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.) ๔๐. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.) ๔๑. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.) ๔๒. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.) ๔๓. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.) ๔๔. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.) ๔๕. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.) ๔๖. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.) ๔๗. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.) ๔๘. พระเปรียญธรรม ๖ ประโยค ๔๙. พระเปรียญธรรม ๕ ประโยค ๕๐. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ ๕๑. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช ๕๒. พระครูวินัยธร ๕๓. พระครูธรรมธร ๕๔. พระครูคู่สวด ๕๕. พระเปรียญธรรม ๔ ประโยค ๕๖. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ๕๗. พระเปรียญธรรม ๓ ประโยค ๕๘. พระครูรองคู่สวด ๕๙. พระครูสังฆรักษ์ ๖๐. พระครูสมุห์ ๖๑. พระครูใบฎีกา ๖๒. พระสมุห์ ๖๓. พระใบฎีกา ๖๔. พระพิธีธรรม (เฉพาะพิธีรับผ้าพระกฐินพระราชทาน เจ้าอาวาสนั่งหน้าพระภิกษุรูปอื่น ซึ่งแม้จะมีสมณศักดิ์สูงกว่า) วิธีพิจารณาสมณศักดิ์ มีการปรับเปลี่ยนวิธีพิจารณาสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์มาหลายครั้งนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ทางคณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไป แต่ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว   สำหรับในราชกิจจานุเบกษา เคยมีการเผยแพร่รายชื่อพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ และต่อมากระทำความผิดและถูกถอดสมณศักดิ์ทั้งสิ้น 16 รูป ซึ่งรูปแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2449 และรูปล่าสุดมี 7 รูปคือ 1.พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 2.พระพรหมเมธี (จำนง เอี่ยมอินทรา) วัดสัมพันธวงศาราม 3.พระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) วัดสามพระยา 4.พระราชอุปเสณาภรณ์ (สมณศักดิ์เดิมคือพระเมธีสุทธิกร) (สังคม สังฆะพัฒน์) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 5.พระราชกิจจาภรณ์ (สมณศักดิ์เดิมคือพระวิจิตรธรรมาภรณ์) (เทิด วงศ์ชอุ่ม) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 6.พระอรรถกิจโสภณ (สมทรง อรรถกฤษณ์) วัดสามพระยา และ 7พระศรีคุณาภรณ์ (บุญทวี คำมา)วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร   ข้อมูลจากวิกิพิเดีย
Tag :