ถึงเวลาปฏิรูปกฏหมายเยาวชน? มุมมองจากดคีที่พัทลุง (1)

by ThaiQuote, 3 กุมภาพันธ์ 2559

กรณีที่เกิดขึ้นนี้กลายเป็นกระแสเรียกร้องของคนในโลกโซเชียล ที่ได้รับข่าวสาร และรับกับสภาพของความทารุณโหดร้ายที่เกิดขึ้นได้ แม้คดีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถจับผู้ต้องหารได้แล้วทั้งหมด แต่ในกลุ่มผู้ต้องหาส่วนใหญ่เป็นเยาวชน และกลายเป็นความหวั่นวิตกถึงบทลงโทษทางด้านกฏหมาย จนมีแนวคิดเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปกฏหมายเกี่ยวกับเยาวชนใหม่

นายนัทธี จิตสว่าง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวผ่าน “THAI QUOTE”  ว่า “การกระทำผิดของเยาวชน มีกระแสอยู่สองกระแส คือกระแสสากล ภายนอกเน้นเรื่องของการแก้ไขเด็ก การให้โอกาสเด็กโดยมองว่า การกระทำของเด็กถ้าลงโทษรุนแรง ใช้ไม้แข็ง ทำให้เด็กมีความกร้าน นำไปสู่การกระทำความผิดมากขึ้น เป็นกระแสสากล ที่มองว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่สังคม ป้องกัน ตั้งแต่แรกไม่ใช่แก้ปลายเหตุ

ในขณะที่อีกแนวทางหนึ่ง หลายประเทศก็นำมาใช้เช่นกัน คือ ต้องลงโทษหนัก เพื่อให้ให้เด็กและเยาวขน เช็ดหลาบ แม้จะเป็นเยาวชน แต่การกระทำความผิดต้องถูกลงโทษหนัก   ตรงนี้เป็นกระแสภายใน เพราะมองว่า กระแสสากลเหมาะสำหรับประเทศที่มีสภาพแวดล้องที่เกิดปัญหาอาชญากรรมไม่รุนแรงนัก ซึ่งก็ไม่เหมาะกับบางประเทศ ที่มีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นเยอะและรุนแรง ก็เป็นเรื่องของบริบทในแต่ละประเทศ  สำหรับประเทศไทย คงต้องยืนทั้งสองด้าน ทั้งกระแสสากล และกระแสภายใน ต้องดูว่า เด็กที่กระทำความผดิรุรนแรง ถ้าเด็กมีอายุมากพอสมควร ก็ต้องได้รับการปฏิบัติที่สอดคล้องกับความผิด

ส่วนเรื่องของการปฏิรูปกฏหมายเยาวชนนั้น  ปัจจุบันกฏหมายที่มีอยู่ถือว่าใช้ได้แล้ว  เพียงแต่ว่ควรจะต้องมามองเรื่องของการบังคับใช้ให้เหมาะสม  และมีความเด็ดขาด และขณะเดียวกันต้องปฏิรูปสังคมควบคู่กันด้วย

สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นที่พัทลุง ทีมองเป็นเรื่องโหดร้ายรุนแรง และมีผู้ต้องหาเป็นเยาวชน คงถึงเวลาที่คงจะต้องมาทบทวนเรื่องนี้ใหม่ทั้งหมด กฏหมายที่มีอยู่นั้นดีอยู่แล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นต้องจัดการกันไปตามรูปคดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพอเกิดแล้ว จะต้องไปแก้กฏหมายอย่างเดียว แต่ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ตรงนี้ควรต้องทำควบคู่กันไป”

นายสรรพสิต คุมประพันธ์ อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ  เปิดเผยกับ “THAI QUOTE” ว่า “ กรณีที่เกิดขึ้นต้องถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรง ปกติแล้วการกระทำความผิดทางอาญา ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฏหมายเสมอไป แต่ควรจะต้องไปดูที่สาเหตุ ผู้ต้องหาเป็นเยาวชน อายุ 17-19 ปี พฤติกรรมเหล่านี้ต้องมองว่า อยู่ในสภาพการเลี้ยงดูแบบไหน มีผลต่อการบังคับควบคุมสมองเพียงใด พฤติกรรมการแสดงออกตามคดีที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่า ไม่ได้ใช้สมองส่วนหน้าในการควบคุมดูแลตัวเองเลย  จะใช้เป็นสมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลังที่เป็นสัญชาติญาณดิบของมนุษย์ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และการต่อสู้  เท่านั้น พฤติกรรมเช่นนี้ ถือว่า ยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นกับ สัตว์ เพราะแสดงให้เห็นถึงเรื่องของการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลมาก ตรงนี้คงไม่เกี่ยวกับกฏหมาย เพราะไม่ได้เกรงกลัวต่อกฏหมาย ดังนั้นการแก้ปัญหาที่การแก้กฏหมาย จึงเป็นเพียงปลายเหตุ

เรื่องนี้ คงจะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุอย่างลึกซึ้ง นำเอาประวัติชีวิตในวัยเด็ก จนถึงทำความผิด มาดูกัน เพื่อหาสาเหตุ ว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญ บำบัดฟื้นฟูและต้องควบคุมเสรีภาพระยะยาวพอสมควร เพราะคนเหล่านี้ถ้ามีปัญหาเรื่องเพศด้วยการแก้ปัญหาจะยาก ใช้เวลานาน อาจต้องนำเข้าไป โรงพยาบาลจิตเวช ถ้า ไม่มีที่ ก็ต้องไปอยู่ในเรือนจำ ให้การบำบัดระยะหนึ่งแล้วย้ายมาบำบัดในจุดที่อาจจะผ่อนคลายลง เพื่อทดสอบดูว่ากระบวนการบำบัดได้ผลหรือไม่ เพราะถ้าบำบัดในเรือนจำอย่างเดียวคงจะตรวจสอบยาก ว่าการบำบัดได้ผลหรือไม่ 

ส่วนกรณีที่ว่าผู้ต้องหาเป็นเยาวชนนั้น ถ้าอายุเกิน 15 ปี แล้ว ไม่เกิน 18 ปี กฏหมายให้บังคับเข้ารับการบำบัดได้ และควบคู่ไปกับการควบคุมเสรีภาพ ในบางกรณีการกระทำความผิดร้ายแรง ศาลก็อาจจะส่งไปเรือนจำได้ ตรงนี้ต้องมาดู ว่าควรจะลงโทษอย่างไรจึงจะเหมาะสม กรณีที่เกิดขึ้นนี้ ลงโทษรุนแรงได้อยู่แล้ว เพราะพฤติกรรมที่ออกมาค่อนข้างร้ายแรง  แต่โทษ ประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต นั้นคงทำไม่ได้ เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ  

ดังนั้นกระแสที่มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฏหมายเกี่ยวกับเยาวชนนั้น อาจเพิ่มโทษรุนแรงขึ้น และไม่ควรจะอยู่ในสถานดูแลปกติ ควรจะอยู่ ในสถานที่เฉพาะเนื่องจากฤติกรรมนี้ ไม่ใช่ร้ายแรงเฉพาะกับเยาวชนด้วยกัน แต่ร้ายแรงกับสังคมด้วย”

จากกระแสทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับคดีสะเทือนขวัญที่จังหวัดพัทลุง และสองมุมมองจาก อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ นักสิทธิสิทธิเด็ก  ในตอนต่อไป THAI QUOTE จะนำเสนอมุมมองของนักกฏหมาย และมุมมองที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคดีนี้ในด้านอื่นๆ ต่อไป ติดตามตอนหน้า