คุยแบบ ‘สามัญชน’ อ่านความคิด ‘เลิศศักดิ์’ ชูนโยบายลดความเลื่อมล้ำทุกด้าน!

by ThaiQuote, 18 กุมภาพันธ์ 2562

แต่น้อยนักที่นโยบายเหล่านั้น จะพูดถึงการแก้ไขปัญหาความเลื่อมล้ำอย่างแท้จริง  แน่นอน เงินทอง เศรษฐกิจ ปากท้องสำคัญกว่า ไม่ผิดที่คิดเช่นนั้น แต่ก็อาจจะไม่ถูกทั้งหมด

สนามเลือกตั้งใหญ่ ปี 2562 พรรคการเมืองทั้งใหญ กลาง และเล็ก ต่างออกตัวสู้ศึกกันอย่างแข็งขัน ในท่ามกลางฝุ่นตลบทางการเมืองนี้ พรรคสามัญชน คือหนึ่งในวงล้อการเมืองที่เคลื่อนไหว ในการสนับสนุนรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ลดความเลื่อมล้ำ และเข้าใจที่จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างตรงประเด็น

 

บ่ายแก่ๆค่อนเย็นในวันแห่งความรักที่ผ่านมา ผมพาตัวเองไปพบกับ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์  หัวหน้าพรรคการเมืองนี้   ด้วยการพูดคุยอย่างสบายและเป็นกันเอง ทว่าหนักแน่น มั่นคงต่อความเชื่อ อุดมการณ์

‘ความเลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่คนส่วนใหญ่ ในที่นี้ก็คือตัวนโยบาย ส่วนราชการมักจะไม่พูดถึงมัน ‘ หัวหน้าพรรคสามัญชนเริ่มประเด็นสนทนาหลังผมยิงคำถามเกี่ยวกับนโยบายของพรรค และพูดต่อไปว่า ด้านหนึ่งมีการพุดถึงด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเลื่อมล้ำไม่ถูกพูดถึง และหากมีการ อิน กับการพัฒนาเศรษฐกิจ คนก็จะเอาตัว จีดีพี (ดัชนีมวลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) วัดตัวเลขเศรษฐกิจ

‘แต่ปัญหาสำคัญของจีดีพี มันไม่ใช่ค่าเฉลี่ยหรือทั๋วเฉลี่ย ทีจะทำให้เห็นว่า เงินนที่มาจากการพัฒนาเศราฐกิจ ตกถึงมือประชาชนโดยเฉลี่ยอย่างไร เงินอาจจะไปตกอยู่ที่มือคนกลุ่มหนึ่ง  แต่มันไม่กระจายไปสู่คนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง การพัฒนาเศราฐกิจที่ดี ต้องวัดให้ได้ว่า ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนมากน้อยแค่ไหน แต่ปัญหาสำคัยของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบจีดีพี คือ จีดีพีเองไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดความเลื่อมล้ำได้’

 

วางแนวทางลดความเลื่อมล้ำ

ด้วยคำว่า มีความเลื่อมล้ำในสังคม จึงเป็นต้นธารของนโยบายพรรคสามัญชน เลิศศักดิ์ อธิบายว่า ความเลื่อมล้ำแรก คือ ความเลื่อมล้ำทางการเมือง คือ การไม่กระจายอำนาจ จึงทำให้เกิดภาพที่กำลังคน กำลังงบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ กระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางเป็นหลัก ฉายภาพให้ชัด ตัวอย่างถ้าได้ภาษีมา 100 บาท ต้องให้ส่วนกลางไม่น้อยกว่า 60-70 บาท บางเรื่องอาจจะสูงถึง 80-90 บาทเลยทีเดียว ตกถึงท้องถิ่นแค่ 10 บาท  ทำให้เป็นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เท่าเทียม  ดังนั้นจึงทำให้มีแนวคิดว่า การลดความเลื่อมล้ำที่ดี ต้องมีการกระจายอำนาจออกไป ทำให้รัฐศูนย์กลางมีขนาดที่เล็กลง ทั้งกำลังคน งบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ แล้วกระจายออกไปสู่ท้องถิ่นเท่าที่จะเป็นไปได้

‘ที่ผ่านมาเราอาจจะเข้าใจว่าการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นคือการกระจายอำนาจออกไปแล้ว จริงๆแล้วไม่ใช่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เหล่านี้คือแขนขาส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย และศูนย์กลางทั้งหมด เราชัดเจนว่าต้องการตัดหรือยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคออก ให้เหลือเพียงการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตรงนี้คือการกระจายอำนาจที่แท้จริง แล้วรับงบประมาณตรงทั้งหมด มาพัฒนาพื้นที่แทน’

ถัดมา เป็นเรื่องความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและแรงงาน ด้วยความที่มีรายละเอียดปลีกย่อย เลิศศักดิ์จึงได้สรุปสาระใหญ่ใจความหลักให้กับผมว่า ด้วยคำขวัญของพรรค คือ กระจายอำนาจการผลิต หลักประกันทางเศรษฐกิจ และปกป้องพื้นที่ทำกิน  อีกทั้งการที่นำเรื่องแรงงานมาร่วมในประเด็นนี้ เป็นเพราะว่าเราต้องการให้รื้อฟื้นสหภาพแรงงาน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองให้กับผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันสหภาพแรงงานอ่อนแอมาก จากเสรีนิยมใหม่ ทุนนิยมที่เข้มข้น

‘การหายไปของสหภาพแรงงานเพราะบริษัทต่างๆไม่ต้องการให้สหภาพฯแข็งแรง เพราะจะทำให้มีการต่อรอเยอะ ทั้งค่าแรงขั้นต่ำ สวัสดิการโบนัส ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อทุนนิยม แต่เรารู้สึกว่าการลงทุนที่ดีต้องคำนึงถึงชีวิตคนที่สร้างความมั่งคั่งให้กับนายทุน ดังนั้นต้องสมควรได้รับส่วนแงของความมั่งคั่งนั้นให้มากขึ้น  ไม่ใช่ว่าคำนึงถึงพื้นฐานขั้นต่ำของชีวิตใหเขาอยู่ได้ด้วยเงินเดือน แค่นั้นไม่พอ ต้องมีการแก้ไขปัญหา’

 

นอกจากการต้องการให้ฟื้นฟูสหภาพแรงงานแล้วนั้น ยังมีแนวคิดให้ตั้งกองทุนคนว่างงานในทุกกรณี การจัดตั้งธนาคารแรงงาน  รวมทั้งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ จาก 300 บาท ขยับขึ้นไปที่ 500 บาท

เปลี่ยนรัฐเผด็จการ เป็นรัฐสวัสดิการ เป็นคำขวัญสำหรับประเดนแก้ไขปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม วัฒนธรรมและความรู้ เลิศศักดิ์ อธิบายว่า เราคำนึงถึงเรื่องตั้งแต่เด็กแล้วครอบครัว  ผลักดันหลักประกัสุขภาพให้เป็นมาตฐานเดียวกันทั้งหมด ข้าราชการที่ได้สวัสดิกรที่ดีกว่าประชาชน เอามาให้เป็นมาตฐานเดียวกันทั้งหมด

ผมยิงคำถามกับหัวหน้าพรรคสามัญชนว่า อะไรที่ทำให้ข้าราชการมีสวัสดิการที่ดีกว่าประชาชนผู้เสียภาษี เลิศศักดิ์ตอบว่า มันเป็นระบบชนชั้นอะไรบางอย่าง คำนึงถึงอัตราเงินเดือน มองอัตราเงินเดือน และมันเป็นความฝังหัวในความคิดสังคม สอนลูกสอนหลาน เรียนเก่งๆเรียนสูงจะได้เป็นข้าราชการ เป็นเจ้าคนนายคน มันจะได้มีความมั่นคงในชีวิต

‘แต่รากความคิดแบบนี้  สมควรถูกกำจัดออกไป เพราะประชาชนอีกจำนวนมากที่มีคุณภาพชิตที่ต่ำ มากกว่าคนที่ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านั้น เรารู้สึกว่าการที่จะต้องพูดถึงประธิปไตย เราพูดถึงความเท่าเทียมกัน สิ่งหนึ่งคือการที่เราต้องการขจัดอคติ เวลาคนมันคิดให้เป็นระบบ แล้วคนเราคิดไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง ชาวบ้านที่เป็นมวลชนให้กับการเมืองเสื้อสี  จะมีความคิดอีกแบบ ฉะนั้นเราจะต้องเปลี่ยนความคิดให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ‘

อย่างต่อเนื่องในประเด็นรัฐสวัสดิการ ผมถามต่อไปว่า จากการที่พรรคให้การสนับสนุนรัฐสวัสดิการ แล้วอะไรคือแนวทางเด่นๆที่ควรดึงมาใช้แบบเร่งด่วนทันที เขาตอบผมว่า หลักประกันสุขภาพ บัตร30บาทรักษาทุกโรคคือแนวทางรัฐสวัสดิการที่โดดเด่นทีสุด เวลาคนยากคนจนไปโรงพยาบาล สิง่ที่เขกังวลมากที่สุดคือการหาเงินในการรักษา จึงทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ถ้าเรามีรัฐสวัสดิการที่เหมาะสมให้ประชาชน เขาก็จะหมดห่วงกังวลและเอาเวลาปพัฒนาคุณภาพชีวิตัวเองได้

ในเรื่องสิ่งแวดล้อม พรรคสมัญชน มองถึงความเลื่อมล้ำเช่นกัน เลิศศักดิ์กล่าวว่า อากาศที่เราหายใจ อาหารที่เรากิน น้ำที่เราดื่ม คือคำขวัญสำหรับประเด็นนี้ และยกตัวอย่างสถานการร์การฝุ่นละออง PM2.5 สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีมาก รวมทั้งยังสะท้อนกลไกระบบราชการ รวมทั้งกลไกของทุนที่เข้ามากำกับควบคุมสังคม มากเสียจนฝุ่นละอองเกิดขึ้นจำนวนมากกระทบต่อประชาชนในสังคม

‘ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องกลายเป็นผู้แบกรับปัญหาตรงนี้แทนรัฐและทุน เพราะว่ามีความต้องการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากจนเกินไป จึงให้มาตการให้การแก้ไขปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมันต่ำตามไปด้วย เรารู้สึกว่าการจะทำให้บ้านเมืองเจริญเติบโต ก็ทำไป แต่ต้องทำให้คุณภพชีวิตประชาชนดีขึ้นด้วย เราคิดว่าเรื่องการเมืองเท่ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ต้องอยู่ในเมืองที่มีความเจริญคู่กับประชาชนที่มีสุขภาพดี เราจึงเห็นควรให้มีเครื่องมือในการควบคุมว่าบ้านเมืองควรพัฒนาไปได้แค่ไหน ไม่มีมลพิษมากจนเกินไป ตอนนี้อยู่ในจุดที่ต้องหาจุดสมดุลของการพัฒนาให้มากขึ้น’

 

อีกเรื่องที่เลิศศักดิ์ มองคือรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า 4-5 ปีในการเข้ามาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)และมีคำสั่งจำนวนมาก โดยเฉพาะคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เกิดเยอะมาก เช่น การมีคำสั่งให้ยกเลิกกฏหมายผังเมือง จึงทำให้โรงไฟฟ้าขยะ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆผุดขึ้นเต็มไปหมด ทั้งที่เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการตั้งโรงงาน หรือพื้นที่อนุรักษ์ รวมทั้งควรอนุรักษ์เพื่อชนบท เกษตกรรม กลับให้โรงงานไปตั้งอยู่บนพื้นที่นั้นได้  ทำให้กฏหมายโรงงานอ่อนแอลงเพื่อดึงดูดนักลงทุน  ทำโรงงานไม่ต้องเป็นโรงงาน ใบอนุญาตเป็นโรงงานหมดอายุก็ไม่ต้องต่อใบอนุญาต  มันจึงเกิดการปล่อยปะละเลของโรงงานประเภทนี้ รวมถึงกลไกควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆของประเทสอ่อนลงไปมาก  อีกทั้งการไปแก้ไขกฏหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อไปเอื้อประโยชน์ให้ โครงการหลายประเภท ดดยไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบอีไอเอ โดยให้หาผู้ประมูลได้ทันที แล้วค่อยอนุมัติตามหลัง

‘เขาพยายามพิสูจน์ว่าแม้ไม่ได้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถทำให้ประเทศสามารถพัฒนาเศรษฐกิจเจริญเติบโตได้ วิธีการคือการไปยกเว้นให้เครื่องมือกลไกที่ควบคุมอ่อนแอลง เพื่อเชื้อเชิญการลงทุนให้เข้ามาให้เต็มที่ เช่นการประเมินรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตรงนี้สำคัญ ในขณะที่รัฐบาลประชุมคณะรัฐมนตรี ผุดโครงการต่างๆทุกวันอังคาร เช่น โครงการสร้างเขื่อน สร้างเหมือง  โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตัวเองเป็น ครม. นำเสนอนโยบายทุกวันอังคาร แล้วตัวเองในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ไปเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะกรรมการดังกล่าวก็มีสัดส่วนจากข้าราชการเต็มไปหมด มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักวิชาการ 2-3 คน คุณเป็นคนชง และเป็นประธานกรรมการสิ่งแวดล้อม และเป็นคนตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการเพื่อพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แล้วไปพิจารณารายงานที่ครม.เป็นคนเสนอ แล้วจะมีโครงการไหนไม่ผ่านบ้าง’

ถึงจุดนี้ หัวหน้าพรรคสามัญชน บอกกับผมว่า เราต้องตัดวงจรอุบาทว์นี้ทิ้ง  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จต้องไม่มีตำแหน่งทางการเมืองที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือจะใช้รูปแบบสหรัฐอเมริกาคือเลือกตั้งเข้ามา แล้วก็มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเชี่ยวชาญเข้าร่วม  แยกเป็นองค์กรอิสระ เมื่อเป็นรูปแบบนี้ ก็จะสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการที่มีความเชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ คำนึงถึงชีวิตคน อยู่ในหลักการวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

เมื่อถามเรื่องนโยบายหอมปากหอมคอแล้ว ผมจึงเอ่ยถึงเรื่องการเลือกตั้งว่าได้ส่งผู้สมัครไปมากน้อยแค่ไหน เลิศศักดิ์ก็ตอบว่า ได้ส่งไปทั้งหมด 16 เขตทั่วประเทศ 6 ปาร์ตี้ลิสต์ รวมทั้งสิ้น 22 คน โดยแบ่งเป็นที่ จ.เลย 2 เขต  จ.หนองบัวลำภู 1 เขต จ.ลำปาง 1 เขต  จ.เชียงราย 2 เขต จ.สกลนคร 2 เขต จ.กาฬสินธ์ 3 เขต  จ.ขอนแก่น 1 เขต และจ.สุรินทร์ 1 เขต รวมทั้งกรุงเทพมหานครอีก 3 เขต ได้แก่ เขต 2 ปทุมวัน บางรัก สาธร เขต 11  สายไหม และเขต 22 บางกอกใหญ่ คลองสาน ธนบุรี

ทันทีที่บอกพื้นที่ลงรับสมัครส.ส. ผมยิงคำถามว่า ทำไมต้องมุ่งเน้นอีสาน หัวหน้าพรรคยิ้มนิดหนึ่งก่อนจะตอบว่า ไม่ได้เฉพาะเจาะจงลงไปเป็นพิเศษ แต่เพราะอีสานเป็นพื้นที่ใหญ่และนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของภาคอีสานทำงานกับชาวบ้านมาอย่างยาวนาน และที่สำคัญอีสานมีปัญหามาต่อเนื่อง ทำให้เรามีมวลชนในพื้นที่พอสมควร ไม่ว่าจะเหมืองหิน เหมืองทอง เหมืองโปรแตช จึงทำให้ภาพมันใหญ่

ในตอนท้าย ผมได้ถามว่า หวังไว้บ้างไหมว่าพรรคสามัญชนจะได้ส.ส. กี่ที่นั่ง เลิศศักดิ์ยิ้มเล็กๆ ก่อนจะตอบว่า หวังให้จำนวนผู้สมัครที่ส่งไปทั้งหมด ให้ได้ปาร์ตี้ลิสต์สัก 1 ที่ แค่นี้ก็พอแล้ว

 

‘เราคงไม่ชนะการเลือกตั้งในส.ส.เขตสักเขตเดียว แต่เราอยากจะรวมคะแนนจากเขตนั้นๆ ให้ได้ 1 ปาร์ตี้ลิสต์สัก 1 คน เข้าไปปั่นป่วนในสภา เราอยากจะตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิจากโครงการพัฒนา จากนโยบาย จากความไม่เป็นธรรมต่างๆ เช่น โครงการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง โครงการโรงงานอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในภาคอีสาน  ที่กำลังเป็นนยบายแย่งยึดที่ดินชาวบ้าน หรือไปตั้งกระทู้เกี่ยวกับอีอีซี  แม้จะรู้ว่าการตั้งกระทู้ถามไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีระเบียบของสภา แต่เราจะตั้งทั้งกระทู้สดและกระทู้แห้ง อาจจะได้รับวาระถามสัก 3-4 เรื่อง ที่เหลือเราจะตั้งกระทู้แห้ง ไลฟ์กันบริเวณหน้าสภา จะเอากระทู้ทุกกระทู้เผยแพร่สู่สาธารณะทั้งหมด’ หัวหน้าพรรคสามัญชนทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจ.

สัมภาษณ์โดย วรกร  เข็มทองวงศ์  ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว thaiquote